Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78672
Title: | แนวทางการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในธุรกิจแอนิเมชั่นของผู้ประกอบการจดทะเบียน ในประเทศไทย: กรณีที่มีการส่งแอนิเมชั่นนั้นย้อนกลับมาใช้บริการในประเทศไทย |
Authors: | เจนนิจ วิทยาศัย |
Advisors: | ทัชมัย ฤกษะสุต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Tashmai.R@chula.ac.th |
Subjects: | การจัดเก็บภาษี ภาษีมูลค่าเพิ่ม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับแอนิเมชั่นของ ผู้ประกอบการจดทะเบียนในประเทศไทยที่มีการส่งออกไปให้บริการในต่างประเทศ แล้วมีการส่งแอนิเมชั่นนั้น ย้อนกลับมาใช้บริการในประเทศไทย วิเคราะห์ปัญหาของการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ส่งผลต่อผู้ประกอบการจด ทะเบียนในประเทศไทย และศึกษาหลักกฎหมายการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าบริการของประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์ประกอบกับแนวทางการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากธุรกรรมระหว่างประเทศกรณีการให้บริการ ทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เพื่อให้ทราบ ถึงแนวคิดที่สำคัญและข้อดีของแนวทางดังกล่าว นำไปสู่การเสนอแนวทางปรับปรุงการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อ ประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร จากการศึกษาพบว่า การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับแอนิเมชั่นของผู้ประกอบการจดทะเบียนในประเทศ ไทยที่มีการส่งออกไปให้บริการในต่างประเทศ แล้วมีการส่งแอนิเมชั่นนั้นย้อนกลับมาใช้บริการในประเทศไทย ไม่ สอดคล้องกับหลักปลายทาง เจ้าหน้าที่สรรพากรใช้อำนาจในการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการที่ได้ แสดงรายการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มจากอัตราร้อยละ 0 เป็นอัตราร้อยละ 7 ทำให้ผู้ประกอบการต้องเป็นผู้แบก รับภาระภาษีการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มในลักษณะดังกล่าวจะนำไปสู่ปรากฏการณ์ต่อต้านการเพิ่มผลผลิต กล่าวคือ ผู้ประกอบการมีแนวโน้มที่จะเลือกทำธุรกิจที่ไม่ถูกจัดเก็บภาษีแทนกิจกรรมทางเศรษฐกิจเดิมที่ตนมี ความสามารถหรือความถนัด สำหรับการจัดเก็บภาษีสินค้าและบริการของประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์มีบทบัญญัติที่ชัดเจนในหลัก กฎหมายการจัดเก็บภาษีสินค้าและบริการจากการให้บริการระหว่างประเทศและหลักกฎหมายการจัดเก็บภาษี สินค้าและบริการจากการนำเข้าสินค้าเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถพิจารณากำหนดผู้รับบริการที่ได้รับ ผลประโยชน์โดยตรงจากสินค้าหรือการให้บริการ ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงถึงจุดสิ้นสุดของการบริโภคสินค้าและให้บริการ นั้นๆ ด้วยตนเองได้ ผู้เขียนจึงเสนอแนะว่า ให้บัญญัติหลักกฎหมายให้ชัดเจนเพื่อหลีกเลี่ยงการตีความและการใช้ดุลยพินิจส่วน บุคคลของเจ้าหน้าที่สรรพากรในการประเมิน นอกจากนี้ควรมีการกำหนดความหมายของการให้บริการระหว่าง ประเทศอย่างละเอียด เพื่อที่จะสามารถกำหนดสถานที่ของผู้รับบริการในต่างประเทศ ซึ่งเป็นหลักในการพิจารณา การได้รับสิทธิในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 เนื่องจากปัจจุบันมีโอกาสอย่างยิ่งที่บริการที่เคยให้บริการ ไปแล้วในอดีต จะกลับมามีผลใช้บริการในประเทศไทยอีก |
Description: | เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78672 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.161 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2021.161 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6380007534.pdf | 2.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.