Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78674
Title: แนวทางแก้ไขปรับปรุงวิธีการคำนวณฐานภาษีสำหรับคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561
Authors: ชาตรี มีจิตรไพศาล
Advisors: ทัชมัย ฤกษะสุต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Tashmai.R@chula.ac.th
Subjects: การคำนวณภาษีอากร
สินทรัพย์ดิจิทัล
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประเทศไทยได้มีการประกาศพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 และมีผลบังคับใช้แล้วในปัจจุบัน เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 40 และมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร โดยกำหนดเพิ่มเติมสำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) ให้ครอบคลุมถึงส่วนแบ่งกำไรหรือผลประโยชน์อื่นใดจากการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล และผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน ดังนั้น การถือครองหรือการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซีอาจก่อให้เกิดกำไรหรือผลประโยชน์ที่ได้รับ จึงถือได้ว่าเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษี การได้มาซึ่งจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระเกิดจากการคำนวณของเงินได้พึงประเมินกับอัตราภาษี แต่การคำนวณเงินได้พึงประเมินจากคริปโทเคอร์เรนซียังขาดความชัดเจนว่าจะต้องคำนวณอย่างไร เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่และการอ้างอิงตัวเลขเพื่อนำมาใช้ในการคำนวณหาราคาขายและต้นทุนเพื่อนำมาใช้ในการคำนวณเพื่อเสียภาษีอาจทำได้ไม่ง่ายนักไม่เหมือนกับการซื้อสินค้าทั่วไปที่มีใบเสร็จรับเงินหรือเอกสารที่แสดงราคาสินค้าไว้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ การได้มาซึ่งคริปโทเคอร์เรนซีมีได้หลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น ได้มาจากการซื้อ ได้มาจากการเสนอขายครั้งแรก (Initial Coin Offering, ICO) ได้มาจากการรับชำระเงิน ได้มาจากการขุดเหรียญดิจิทัล (Mining) ได้มาจากการรับมรดก ได้มาจากการถูกรางวัลหรือการพนันออนไลน์ ได้มาจากการแตกหน่วยใหม่ของคริปโทเคอร์เรนซี ได้มาจากการแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซีด้วยกันเอง ซึ่งแต่ละรูปแบบจะใช้ตัวเลขใดมาอ้างอิงเป็นต้นทุนของการได้มา อีกทั้งการบันทึกข้อมูลการทำธุรกรรมและการจัดเก็บข้อมูลของการทำธุรกรรมซื้อขายเป็น ภาระหน้าที่ของผู้มีเงินได้เพื่อให้เกิดความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลการทำธุรกรรม การจัดทำดังกล่าวอาจเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคในการคำนวณภาษีที่ต้องชำระ การที่ไม่มีหลักการคำนวณส่วนแบ่งกำไร หรือกำไรจากการขายหรือผลประโยชน์อื่นที่ได้รับจาก คริปโทเคอร์เรนซี อาจทำให้ผู้มีเงินได้พึงประเมินประเภทนี้ขาดความเข้าใจ ส่งผลให้ผู้มีเงินได้ใช้วิธีการคำนวณที่ไม่เหมือนกัน เมื่อใช้วิธีการคำนวณที่ไม่เหมือนกันแล้วก็จะส่งผลให้ฐานภาษีที่จะนำมาใช้ในการคำนวณภาษีอาจจะแตกต่างกันแม้ว่าข้อมูลในส่วนอื่นที่ใช้ในการคำนวณเช่น ลักษณะของการทำธุรกรรม วันที่ของการทำธุรกรรม จำนวนเงินของการทำธุรกรรมจะเหมือนกันก็ตาม โดยปกติแล้วหากมีปัจจัยแวดล้อมที่เหมือนกัน ผลลัพธ์ของการคำนวณฐานภาษีและจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระก็ควรที่จะได้เท่ากัน ดังนั้น การขาดการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณฐานภาษีในการจัดเก็บภาษีเงินดิจิทัลที่ชัดเจนแน่นอนอาจทำให้การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกรณีดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นที่มาในการจัดทำเอกัตศึกษาฉบับนี้ โดยศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยในการกำหนดแนวทางแก้ไขปรับปรุงวิธีการคำนวณฐานภาษีสำหรับคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล
Description: เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78674
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.160
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2021.160
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380010334.pdf29.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.