Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78688
Title: | การกำหนดเขตสูบบุหรี่เพื่อคุ้มครองสุขภาพของผู้ได้รับควันบุหรี่มือสอง : ศึกษากรณีท่าอากาศยานนานาชาติของประเทศไทย |
Authors: | ฐิติกาญจน์ ชัยพินิจ |
Advisors: | ทัชมัย ฤกษะสุต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Tashmai.R@chula.ac.th |
Subjects: | เขตปลอดบุหรี่ บุหรี่ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีในกรอบอนุสัญญาองค์การอนามัยโลกว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (WHO Framework Convention on Tobacco Control: FCTC) และมีพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ที่ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบและคุ้มครองสุขภาพของประชาชนจากโรคภัยที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ยาสูบรวมถึงได้มีการกำหนดมาตรการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ รวมทั้งยกระดับการคุ้มครองสุขภาพอนามัย ของประชาชน และยังมีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดประเภทหรือชื่อของสถานที่สาธารณะ สถานที่ทำงาน และยานพาหนะให้ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของสถานที่และยานพาหนะเป็นเขตปลอดบุหรี่ หรือเขตสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ พ.ศ. 2561 ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ให้ไม่ต้องได้รับควันบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ สถานที่ทำงาน และยานพาหนะ โดยประเทศไทยแบ่งสถานที่สาธารณะที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ จำนวน 4 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 พื้นที่และบริเวณทั้งหมด ซึ่งใช้ประกอบภารกิจของสถานที่นั้นรวมทั้งระยะทาง 5 เมตร จากทางเข้า–ออกของสถานที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ ประเภทที่ 2 พื้นที่และบริเวณทั้งหมดซึ่งใช้ประกอบภารกิจของสถานที่นั้นเป็นเขตปลอดบุหรี่ ประเภทที่ 3 พื้นที่และบริเวณทั้งหมดที่ใช้ประกอบภารกิจของสถานที่นั้น เป็นเขตปลอดบุหรี่แต่สามารถจัดเขตสูบบุหรี่ นอกอาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างได้ และประเภทที่ 4 พื้นที่เฉพาะส่วนที่ระบุ รวมถึงระยะ 5 เมตรจากพื้นที่ ที่ระบุ หรือจากประตู หน้าต่าง ทางเข้า ทางออก ท่อ หรือช่องระบายอากาศ จากการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดประเภทหรือชื่อของสถานที่สาธารณะ สถานที่ทำงาน และยานพาหนะให้ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของสถานที่และยานพาหนะเป็นเขตปลอดบุหรี่ หรือเขตสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ พ.ศ. 2561 ที่มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ได้กำหนดให้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ รวมถึงท่าอากาศยานให้เป็นสถานที่สาธารณะที่ให้ มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ โดยกำหนดให้พื้นที่และบริเวณทั้งหมดทั้งภายในและภายนอกอาคารเป็นเขตปลอดบุหรี่แต่สามารถจัดให้มีเขตสูบบุหรี่เป็นการเฉพาะได้ จึงเป็นที่มาของการยกเลิกห้องสูบบุหรี่ ในท่าอากาศยาน จำนวน 6 แห่ง ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) โดยมียกเว้นว่าจะสามารถ สูบบุหรี่ได้เฉพาะในบริเวณที่จัดให้เป็นเขตสูบบุหรี่โดยเฉพาะเท่านั้น แต่การให้สูบบุหรี่ในเขตสูบบุหรี่ ที่จัดเป็นการเฉพาะไว้ แต่อยู่ภายนอกอาคารลักษณะดังกล่าวไม่สามารถควบคุมควันบุหรี่ได้ เนื่องจากควันบุหรี่ หากอยู่ภายนอกอาคาร โรงเรือน หรือ สิ่งปลูกสร้างสามารถลอยฟุ้งกระจายได้อย่างไร้ทิศทาง โดยไม่สามารถควบคุมทิศทางการฟุ้งกระจายของควันบุหรี่ได้ และควันบุหรี่นี้เดินทางได้ไกลกว่าที่จะคาดหมายได้ การระบุ เขตปลอดบุหรี่ว่าต้องห่างออกมาในระยะทางไกลเพียงใดที่จะไม่ทำให้ควันบุหรี่ฟุ้งกระจายมาถึง จึงไม่อาจเพียงพอ ผู้ไม่สูบบุหรี่ยังสามารถได้รับควันบุหรี่มือสองที่ฟุ้งกระจายได้ ไม่สามารถคุ้มครองสุขภาพ ของผู้ไม่สูบบุหรี่ได้อย่างสมบูรณ์ ผู้ไม่สูบบุหรี่ยังสามารถได้รับควันบุหรี่มือสองที่ฟุ้งกระจายได้และเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ประเทศไทยจึงสมควรมีการผลักดันให้มีการออกมาตรการควบคุมยาสูบในเรื่อง การกำหนดเขตสูบบุหรี่ใหม่เพื่อให้สามารถคุ้มครองสุขภาพของผู้ได้รับควันบุหรี่มือสองได้อย่างสมบูรณ์ |
Description: | เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายเศรษฐกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78688 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.162 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2021.162 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6380013234.pdf | 14.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.