Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78699
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมานิตย์ จุมปา-
dc.contributor.authorธฤต ภูมิวัฒน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-06-02T03:08:19Z-
dc.date.available2022-06-02T03:08:19Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78699-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564en_US
dc.description.abstractเอกัตศึกษาเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอมาตรการและแนวทางในการกํากับดูแลการใช้อากาศ ยานไร้คนขับหรือโดรน เพื่อการศึกษาในแง่ของการพัฒนาระบบขนส่งในประเทศไทย พร้อมทั้งศึกษา แนวคิด ทฤษฎีและความหมายของอากาศยานไร้คนขับ โดยมีการวิเคราะห์ถึงประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น ในทางกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องกับใช้อากาศยานไร้คนขับเพื่อขนส่งสินค้าในประเทศไทย โดยมีการใช้ แนวทางการกํากับดูแล และกฎเกณฑ์รวมถึงข้อบังคับต่าง ๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป เข้ามาใช้ในการเปรียบเทียบและหาแนวทางให้มีการนําอากาศยานไร้คนขับไปใช้ในการขนส่งเพื่อพัฒนา ระบบโลจิสติกส์ในประเทศไทย จากการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์และสภาพปัญหาของการใช้อากาศยานไร้คนขับใน ประเทศไทยพบว่าการนําอากาศยานไร้คนขับไปใช้ในทางพาณิชย์ หรือเพื่อการขนส่งสินค้าในระดับ B2C ยังไม่สามารถทําได้เนื่องจากพบปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้โดรนที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ของบุคคลอื่นในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุที่ไม่สามารถควบคุมได้ อีกทั้งยังมีปัญหาที่เกี่ยวกับการกระทบต่อสิทธิ ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นประเด็นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปเองยังคงมีการศึกษาและพัฒนาอยู่ใน ขณะนี้ ปัจจุบันในประเทศไทยก็ยังไม่มีการกําหนดแนวทางและหลักเกณฑ์ในการใช้โดรนเพื่อการขนส่ง สินค้าเป็นการเฉพาะ จึงเป็นการยากในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาการใช้โดรนเพื่อการขนส่งในประเทศ ไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ดีจากการวิเคราะห์เกี่ยวกับการกํากับดูแลการใช้โดรนเพื่อขนส่งสินค้า ในประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปก็พบว่า ยังคงมีการใช้ระบบอนุญาตในการพิจารณาให้ทําการ บินโดรนในเชิงพาณิชย์เนื่องจากโดรนยังคงเป็นเทคโนโลยีใหม่และอาจเป็นอันตรายต่อบุคคลภายนอกหาก ต้องมีการบินผ่านเขตชุมชนหรือที่พักอาศัย จึงยังคงต้องรอให้มีการพัฒนาโดรนต่อไปเพื่อการกําหนด หลักเกณฑ์ที่ชัดเจนมากขึ้นในอนาคต ข้อเสนอแนะจึงควรเริ่มต้นให้มีการใช้โดรนขนส่งสินค้าขนาดเล็กภายในเขตประกอบการของ ผู้ประกอบการที่มีกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่ของตนเอง โดยในการขออนุญาตนั้นกฎหมายจะต้องกําหนดน้ําหนักและประเภทของสินค้าที่สามารถบรรทุกไปกับตัวโดรนได้โดยโดรนสามารถแนบวัตถุสิ่งของจาก ภายนอกได้ถ้ามีการแนบวัตถุไปอย่างรัดกุมโดยจะต้องไม่ทําให้ลักษณะของการบินเปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่ง หมายถึงการแนบสินค้าหรือวัตถุไปกับโดรนนั้นจะต้องไม่เป็นภาระซึ่งส่งผลกระทบในการบินของโดรน รวมไปถึงชนิดของสินค้าต้องไม่เป็นสินค้าอันตรายen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.177-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการขนส่งสินค้าen_US
dc.subjectอากาศยานไร้คนขับen_US
dc.titleแนวทางการกำกับดูแลการขนส่งสินค้าโดยอากาศยานไร้คนขับเพื่อพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในประเทศไทยen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisormanit_j@yahoo.com-
dc.subject.keywordโลจิสติกส์en_US
dc.subject.keywordโดรนขนส่งสินค้าen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2021.177-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380017834.pdf646.79 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.