Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78700
Title: มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมที่ครอบครองและใช้สารเคมี หรือวัตถุอันตราย กรณีศึกษาสารสไตรีนในโรงงานหมิงตี้เคมีคอล
Authors: นวียา อโนรีย์
Advisors: พัฒนาพร โกวพัฒนกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: patanaporn.k@chula.ac.th
Subjects: สารเคมี -- การเก็บในคลัง
โรงงาน -- อัคคีภัยและการป้องกันอัคคีภัย
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากเหตุการณ์เพลิงไหม้โรงงานหมิงตี้เคมีคอลในจังหวัดสมุทรปราการ สาเหตุจากถังบรรจุ สารสไตรีน (Styrene Monomer) ในโรงงานระเบิด สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของ ประชาชนเป็นวงกว้าง อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สะท้อนถึงปัญหา มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมวัตถุอันตรายที่ใช้และจัดเก็บในโรงงานอุตสาหกรรมยังไม่ เหมาะสมเพียงพอ และไม่มีมาตรการทางกฎหมายกําหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงภัย ต้องทําประกันภัยความรับผิดในความเสียหายต่อบุคคลภายนอก เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงมีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษากฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมวัตถุอันตรายที่ใช้และจัดเก็บในโรงงาน อุตสาหกรรมและศึกษาเปรียบเทียบกับต่างประเทศ จากการศึกษาพบว่ามาตรการควบคุมดูแลวัตถุอันตรายของประเทศไทย เริ่มต้นตั้งแต่ กําหนดให้ผู้ผลิต นําเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายตามรายชื่อที่กรมโรงงาน อุตสาหกรรมกําหนดต้องแจ้งให้ทราบหรือได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน ตลอดจนการ ควบคุมติดตามโดยการรายงานปริมาณวัตถุอันตรายที่ใช้หรือจัดเก็บในแต่ละปี อย่างไรก็ตาม มาตรการควบคุมก็มีข้อจํากัดเนื่องจากรายชื่อวัตถุอันตรายที่ถูกควบคุมติดตามนั้น กรมโรงงาน อุตสาหกรรมกําหนดชื่อเป็นรายตัววัตถุอันตรายทําให้ไม่ครอบคลุมวัตถุอันตรายอื่น ๆ ที่มีความ อันตรายเช่นกันแต่ไม่อยู่ในรายชื่อวัตถุอันตรายที่ต้องควบคุมติดตาม เห็นได้ชัดจากกรณีสารสไตรีน ของโรงงานหมิงตี้เคมีคอลที่ถูกจัดเก็บไว้ในโรงงานจํานวนมาก โดยสารสไตรีนไม่ถูกกําหนดให้ต้อง รายงานปริมาณการใช้หรือจัดเก็บในแต่ละปีต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อเกิดอุบัติภัยขึ้นความ เสียหายจึงกระจายเป็นวงกว้าง โดยผู้เขียนได้ศึกษาเปรียบเทียบมาตรการควบคุมสารเคมีของประเทศ ที่ได้รับการยอมรับว่ามีความก้าวหน้าในระบบกฎหมายสารเคมีได้แก่ ประเทศอังกฤษ และประเทศ สหรัฐอเมริกา เพื่อนํามาเปรียบเทียบมาตรการควบคุมสารเคมีของประเทศไทยและพิจารณาถึง มาตรการควบคุมสารเคมีที่ยังไม่เหมาะสมของประเทศไทย บทสรุปจากการศึกษาในครั้งนี้ ผู้เขียนจึงเสนอแนะให้มีการทบทวนบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ให้ครอบคลุมวัตถุอันตรายได้กว้างขึ้น เพื่อให้สามารถควบคุมติดตามวัตถุอันตรายและลดโอกาสที่จะ เกิดอุบัติภัยจากวัตถุอันตราย และเสนอแนะให้มีมาตรการทางกฎหมายกําหนดให้โรงงานอุตสาหกรรม ต้องส่งรายงานปริมาณวัตถุอันตรายที่ใช้หรือจัดเก็บในแต่ละปีให้กับหน่วยงานท้องถิ่นและเปิดเผย ข้อมูลที่จําเป็นแก่ประชาชนด้วย เพื่อหน่วยงานท้องถิ่นจะสามารถวางแผนรองรับล่วงหน้าและเมื่อเกิด เหตุฉุกเฉินหน่วยงานท้องถิ่นจะมีข้อมูลที่เพียงพอในการประเมินสถานการณ์และกําหนดแนวทาง ระงับเหตุได้อย่างทันการณ์นอกจากนี้ ควรมีบทบัญญัติให้โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้และจัดเก็บวัตถุอันตราย ต้องจัดทําประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก เพื่อเป็นการประกันว่าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น ผู้เสียหายจะได้รับการชดเชยเยียวยาและเป็นการถ่ายโอนความเสี่ยงของผู้ประกอบกิจการโรงงานด้วย
Description: เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78700
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.175
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2021.175
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380019034.pdf874.03 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.