Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78701
Title: แนวทางการกำหนดสถานะลูกจ้างสำหรับธุรกิจแพลตฟอร์ม
Authors: นันทินี วิโรจนะดารา
Advisors: ปานทิพย์ พฤกษาชลวิทย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: panthip.p@chula.ac.th
Subjects: กฎหมายแรงงาน
ธุรกิจ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันมีการใช้บริการผ่านธุรกิจแพลตฟอร์มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภคในการรับสินค้าหรือบริการในเวลาที่รวดเร็ว สำหรับประเทศไทยมีธุรกิจที่ให้บริการผ่านแพลตฟอร์มหลายประเภทด้วยกัน ได้แก่ บริการรับส่งอาหารหรือพัสดุ บริการรถสาธารณะ บริการที่พักอาศัยชั่วคราวหรือบริการทำความสะอาด โดยลักษณะสำคัญของธุรกิจแพลตฟอร์มนั้น คือ การจับคู่ความต้องการของผู้เสนอขายสินค้าและบริการกับผู้ต้องการเสนอซื้อสินค้าและบริการผ่านระบบโครงข่ายดิจิทัล แรงงานที่ทำงานบนแพลตฟอร์มถูกจัดว่ามิใช่ลูกจ้างของแพลตฟอร์มแต่เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระหรือหุ้นส่วน (partner) ของแพลตฟอร์ม เช่น กรณีแพลตฟอร์มบริการทำความสะอาด บนเว็บไซต์ได้มีการระบุไว้ว่า “BeNeat (บีนีท) แพลตฟอร์มเป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการเท่านั้น ผู้ให้บริการเป็นผู้รับจ้างอิสระ (ซึ่งไม่ใช่ในฐานะลูกจ้าง คนงาน ผู้ร่วมทุน หุ้นส่วน หรือผู้ได้รับสิทธิพิเศษในการให้บริการจากบีนีทอย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้น บีนีทไม่ได้เป็นผู้ให้บริการและจ้างผู้ใดให้บริการเช่นว่านั้น…” แพลตฟอร์มที่เข้ามาเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงความต้องการซื้อขายแรงงานทำให้เกิดความสัมพันธ์ในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น การที่จัดว่าแรงงานบนแพลตฟอร์มทุกกรณีว่าไม่ใช่ลูกจ้างของแพลตฟอร์มนั้น อาจไม่เหมาะสมกับรูปแบบการจ้างงานที่เปลี่ยนไป เนื่องจากบางกรณีใช้แพลตฟอร์มเป็นเพียงสื่อกลางในการจับคู่ระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างเพื่อให้เกิดการจ้างงานที่สำเร็จเป็นคราว ๆ ไป เช่น การจ้างทดสอบโปรแกรม ที่มีการใช้แพลตฟอร์มเป็นตัวกลางในการจับคู่ระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างเท่านั้น การจัดว่าไม่ได้สถานะเป็นลูกจ้างของแพลตฟอร์มนั้นเหมาะสมแล้ว แต่หากเจ้าของแพลตฟอร์มมีกำหนดบทลงโทษเพื่อการควบคุมพฤติกรรมและวิธีการทำงานของผู้รับจ้างรวมถึงข้อควรปฏิบัติที่มีลักษณะคล้ายกับข้อตกลงร่วมกัน เช่น การแต่งกายที่ไม่เหมาะสม การไม่แจ้งลูกค้าล่วงหน้าเมื่อใช้เวลาเดินทางนานเกินกว่ากำหนดหรือการรับงานอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งมีบทลงโทษตั้งแต่ตักเตือน ระงับการบริการชั่วคราวไปจนถึงระงับการบริการถาวร ความสัมพันธ์รูปแบบนี้ก็จะมีความใกล้เคียงกับการเป็นลูกจ้าง การที่แรงงานที่ทำงานบนแพลตฟอร์มบางกลุ่มถูกจัดว่าไม่ใช่ “ลูกจ้าง” ทั้งที่มีรูปแบบการทำงานใกล้เคียงกับการเป็นลูกจ้างของแพลตฟอร์ม ทำให้แรงงานกลุ่มนี้ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หรือ พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย หรือสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ทำให้ขาดการคุ้มครองเรื่องสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่น วันลา ค่าตอบแทนแรงงานที่เป็นธรรม การชดเชยการเลิกจ้าง ความปลอดภัยในการทำงานหรือสิทธิในการรวมตัวเพื่อเจรจาต่อรอง ฯลฯ จึงจำเป็นต้องหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในการกำหนดสถานะการเป็นลูกจ้างของแรงงานบนแพลตฟอร์มเพื่อทำให้แรงงานกลุ่มนี้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน
Description: เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78701
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.176
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2021.176
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380020634.pdf3.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.