Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7870
Title: Rheology and suspending properties of modified tapioca starches
Other Titles: วิทยากระแสและคุณสมบัติการแขวนตะกอนของแป้งมันสำปะหลังดัดแปร
Authors: Parinya Tharnbupphar
Advisors: Poj Kulvanich
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Advisor's Email: Poj.K@Chula.ac.th
Subjects: Tapioca starch -- Rheology
Suspended sediments
Issue Date: 2005
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Five modified tapioca starches, sodium carboxymethyl tapioca starch (SCMS), cross-linked sodium carboxymethyl tapioca starch (CSCMS), pregelatinized tapioca starch (PGTS), hydroxypropyl tapioca starch (HPTS) and cross-linked hydroxypropyl tapioca starch (CHPTS) were investigated for their properties as suspending agent comparing with commercial suspending agent such as Ultrasperse®2000 (UT), xanthan gum (XG) and tragacanth (TG). SCMS with DS of 0.11, 0.22 and 0.37 were prepared by Filbert’s method and CSCMS with % phosphate content of 0.17, 0.23 and 0.32 were obtained from Kerr and Cleveland’s method. Those materials were studied for their viscosity and rheological behavior. The pseudoplastic flow was observed in all suspending agents. The effect of ionic strength, pH and type of buffer (phosphate and citrate buffer) on the viscosity and rheological behavior of those materials was evaluated. CSCMS was excluded from the study because it was very sensitive to ionic strength, buffer and pH. SCMS, PGTS, HPTS, CHPTS, UT, XG and TG at three level concentrations were used as suspending agents in ibuprofen formulation. Their physical appearance, pH, viscosity, sedimentation volume and redispersibility were evaluated to find the proper concentration of those suspending agents after keeping in room temperature for 1 month. The ibuprofen preparations containing 3 % w/v SCMS, 4 % w/v PGTS, 6 % w/v HPTS, 3 and 4 % w/v CHPTS provided the preferable suspension comparing with 4 % w/v UT, 0.4 and 0.6 % w/v XG and 1 % and 1.5 % w/v TG. The evaluation parameters including physical appearance, sedimentation volume, pH, viscosity, rheological behavior, redispersibility and % drug content were investigated during storage at room temperature and heating-cooling condition. All preparations provided the acceptable chemical stability after standing 3 months at room temperature and 8 cycles of heating-cooling condition. SCMS, PGTS and HPTS were not suitable as suspending agent because they obviously decreased the viscosity after storage. Moreover, the difficult redispersibility of compact sediment was occurred in their preparations. CHPTS was a promising suspending agent in the preparation due to its good physical appearance, redispersibility, no caking, suitable rheological behavior and comparable to those of UT, XG and TG. CHPTS was a good modified starch candidate for the development as suspending agent in the pharmaceutical industry.
Other Abstract: การศึกษาแป้งมันสำปะหลังดัดแปรทางกายภาพหรือเคมีจำนวน 5 ชนิด ได้แก่ แป้งมันสำปะหลังดัดแปรโซเดียมคาร์บอกซีเมทิล แป้งมันสำปะหลังดัดแปรโซเดียมคาร์บอกซีเมทิลร่วมกับปฏิกิริยาเชื่อมขวางด้วยฟอสเฟต แป้งมันสำปะหลังดัดแปรพรีเจลาติไนซ์ แป้งมันสำปะหลังดัดแปรไฮดรอกซีโพรพิล และ แป้งมันสำปะหลังดัดแปรไฮดรอกซีโพรพิลร่วมกับปฏิกิริยาเชื่อมขวางด้วยฟอสเฟต เพื่อเป็นสารช่วยแขวนตะกอนเปรียบเทียบกับสารแขวนตะกอนที่มีจำหน่ายในท้องตลาด เช่น อัลตร้าสเปริส์ แซนแทนกัม และทรากาแคนท์ การเตรียมแป้งมันสำปะหลังดัดแปรโซเดียมคาร์บอกซีเมทิลที่มีระดับการแทนที่ต่างกัน 3 ระดับ คือ 0.11 0.22 และ 0.37 โดยวิธีของฟิลเบิรต์ ส่วนแป้งมันสำปะหลังดัดแปรโซเดียมคาร์บอกซีเมทิลร่วมกับปฏิกิริยาเชื่อมขวางด้วยฟอสเฟตมีปริมาณฟอสเฟตแทนที่ต่างกัน 3 ระดับคือ 0.7, 0.23 และ 0.32 ซึ่งเตรียมด้วยวิธีของเคลอร์และเคลฟแลนด์ เพื่อศึกษาความหนืด และลักษณะการไหล พบว่าสารแขวนตะกอนทุกชนิดมีการไหลแบบซูโดพลาสติก เมื่อศึกษาผลกระทบของความแรงของอิออน ความเป็นกรด-ด่าง ชนิดของบัฟเฟอร์ (ฟอสเฟตและซิเตรตบัฟเฟอร์) ต่อความหนืดและลักษณะการไหลของสารแขวนตะกอนพบว่า แป้งมันสำปะหลังดัดแปรโซเดียมคาร์บอกซีเมทิลร่วมกับปฏิกิริยาเชื่อมขวางด้วยฟอสเฟตมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมในการเป็นสารช่วยแขวนตะกอน เนื่องจากสูญเสียความหนืดเมื่อมีความแรงของ อิออน บัฟเฟอร์และความเป็นกรด-ด่าง จึงคัดเลือกเฉพาะแป้งมันสำปะหลังดัดแปรโซเดียมคาร์บอกซีเมทิล แป้งมันสำปะหลังดัดแปรพรีเจลาติไนซ์ แป้งมันสำปะหลังดัดแปรไฮดรอกซีโพรพิล แป้งมันสำปะหลังดัดแปรไฮดรอกซีโพรพิลร่วมกับปฏิกิริยาเชื่อมขวางด้วยฟอสเฟต เพื่อศึกษาคุณสมบัติการใช้เป็นสารช่วยแขวนตะกอนที่ความเข้มข้นต่างกัน 3 ระดับในตำรับยาน้ำแขวนตะกอนไอบูโพรเฟน และทำการประเมินผลโดยดูลักษณะทางกายภาพ ความเป็นกรด-ด่าง ความหนืด ปริมาตรของตะกอน การกระจายตัวคืนรูป เพื่อหาความเข้มข้นที่เหมาะสมหลังจากเก็บที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 1 เดือน ตำรับยาไอบูโพรเฟนที่เตรียมจาก 3 % แป้งมันสำปะหลังดัดแปรโซเดียมคาร์บอกซีเมทิล 4 % แป้งมันสำปะหลังดัดแปรพรีเจลาติไนซ์ 6 % แป้งมันสำปะหลังดัดแปรไฮดรอกซีโพรพิล 3 % และ 4 % แป้งมันสำปะหลังดัดแปรไฮดรอกซีโพรพิลร่วมกับปฏิกิริยาเชื่อมขวางด้วยฟอสเฟต ให้ตำรับที่มีลักษณะที่ดีใกล้เคียงกับตำรับที่เตรียมจาก 4 % อัลตร้าสเปริส์ 0.4 % และ 0.6 % แซนแทนกัม และ1 % และ 1.5 % ทรากาแคนท์ และนำมาเก็บที่อุณหภูมิห้องเป็นระยะเวลา 3 เดือน และสภาวะเร่ง โดยประเมินผลในหัวข้อลักษณะทางกายภาพ ปริมาตรของตะกอน ความเป็นกรด-ด่าง ความหนืด ลักษณะการไหล การกระจายตัวคืนรูป และปริมาณตัวยาสำคัญ พบว่า ทุกตำรับมีความคงตัวทางเคมีทั้งในสภาวะปรกติและสภาวะเร่ง แป้งมันสำปะหลังดัดแปรโซเดียมคาร์บอกซีเมทิล แป้งมันสำปะหลังดัดแปรพรีเจลาติไนซ์ และแป้งมันสำปะหลังดัดแปรไฮดรอกซีโพรพิล ไม่เหมาะสมในการเป็นสารช่วยแขวนตะกอนเนื่องจากตำรับยาจะมีความหนืดลดลงมากเมื่อตั้งทิ้งไว้ นอกจากนี้ยังกระจายตัวคืนรูปได้ยาก แป้งมันสำปะหลังดัดแปรไฮดรอกซีโพรพิลร่วมกับปฏิกิริยาเชื่อมขวางด้วยฟอสเฟตเป็นสารช่วยแขวนตะกอนที่ให้ผลการประเมินเป็นที่น่าพอใจเนื่องจากทำให้ตำรับมีลักษณะทางกายภาพสวยงาม มีการกระจายตัวคืนรูปได้ง่าย ไม่เกิดการตกตะกอน มีลักษณะการไหลที่เหมาะสมและเทียบเคียงได้รับตำรับที่ประกอบด้วยอัลตร้าสเปริส์ แซนแทนกัม และทรากาแคนท์ แป้งมันสำปะหลังดัดแปร ไฮดรอกซีโพรพิลร่วมกับปฏิกิริยาเชื่อมขวางด้วยฟอสเฟตเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการนำมาใช้เป็นสารช่วยแขวนตะกอนในอุตสาหกรรมยา
Description: Thesis (M.Sc. In Pharm)--Chulalongkorn University, 2005
Degree Name: Master of Science in Pharmacy
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Industrial Pharmacy
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7870
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1766
ISBN: 9741438265
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1766
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
parinya.pdf3.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.