Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78727
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมานิตย์ จุมปา-
dc.contributor.authorวันวิสา ตั้งมนสิการกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-06-06T08:04:40Z-
dc.date.available2022-06-06T08:04:40Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78727-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564en_US
dc.description.abstractการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาการทวงถามหนี้ตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 มุ่งเน้นศึกษาในมุมมองของเจ้าหนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งฝ่ายเจ้าหนี้และ ลูกหนี้ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 มาตรา 9 (2) และประกาศ คณะกรรมการกํากับการทวงถามหนี้ เรื่อง จํานวนครั้งในการติดต่อทวงถามหนี้ที่ได้กําหนดให้ เจ้าหนี้สามารถติดตามทวงหนี้ได้ในวันจันทร์ – วันศุกร์ภายในเวลา 08.00 – 20.00 นาฬิกา ส่วน วันหยุดราชการภายในเวลา 08.00 –18.00 นาฬิกา และเจ้าหนี้สามารถทวงถามลูกหนี้ได้ไม่เกิน 1 ครั้งต่อ 1 วันนั้น ไม่เหมาะสมกับการปฏิบัติต่อลูกหนี้กลุ่มที่ไม่ได้ทํางานในช่วงเวลากลางวัน หรือ ลูกหนี้ที่ทํางานเป็นช่วงกะเวลา ถือว่าเป็นการกําหนดกรอบเวลาในทวงถามหนี้ที่ไม่สามารถยืดหยุ่นได้ ในขณะที่กฎหมายประเทศออสเตรเลียตาม Section 4 ของ Debt collection guideline for collectors and creditors, October 2021 ได้กําหนดเวลาติดต่อลูกหนี้ทางโทรศัพท์การติดต่อ โดยตรงต่อหน้ากัน และการติดต่อสถานที่ทํางานที่แตกต่างกัน และยังเปิดโอกาสให้สามารถตกลงกัน ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ได้ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สะดวกที่จะติดต่อในเวลาที่กฎหมายกําหนดไว้ หรือไม่ ต้องการให้ติดต่อในขณะที่มีสมาชิกในการครอบครัวอยู่ด้วย ข้อเสนอแนะ ควรแก้ไขช่วงเวลาในการติดตามทวงถามหนี้โดยกําหนดให้วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ให้ติดต่อได้ในเวลา 07.00 นาฬิกาถึงเวลา 21.00 นาฬิกาในวันหยุดสุดสัปดาห์ให้ติดต่อได้ในเวลา 09.00 นาฬิกาถึงเวลา 21.00 นาฬิกา และห้ามทําการติดต่อในวันหยุดนักขัตฤกษ์แห่งชาติและเปิด โอกาสมีการตกลงกันระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้เกี่ยวกับกรณีให้ติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลอื่นตามความ ประสงค์ เช่น ลูกหนี้ร้องขอให้ติดต่อในเวลาอื่นเนื่องจากลูกหนี้ทํางานเป็นกะ ทําให้การติดต่อในเวลา ดังกล่าวไม่สะดวก เป็นต้น เนื่องจากการแก้ไขให้เปิดโอกาสตกลงกันเกี่ยวกับเวลาในการติดต่อทวงถามหนี้นั้น กําหนดให้ ลูกหนี้เป็นผู้แสดงเจตนาเพื่อตกลงต่อเจ้าหนี้ ถึงเหตุผลที่ลูกหนี้ไม่สะดวกให้เจ้าหนี้ทวงถามหนี้ในเวลา ที่ระบุไว้ในกฎหมาย มีประโยชน์ต่อฝ่ายลูกหนี้ในกรณีที่ลูกหนี้มีเจตนาสุจริต แต่ไม่สะดวกให้เจ้าหนี้ ติดต่อระหว่างการทํางาน หรือไม่สะดวกให้เจ้าหนี้ติดต่อในเวลาที่อยู่กับครอบครัวอยู่ก็สามารถแจ้งให้ เจ้าหนี้ติดต่อมาในช่วงเวลาที่ตนสะดวกen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.uri10.58837/CHULA.IS.2021.189-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.189-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเจ้าหนี้ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.subjectลูกหนี้en_US
dc.titleแนวทางการแก้ไขผลกระทบต่อเจ้าหนี้ในเรื่องระยะเวลาในการทวงหนี้en_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisormanit_j@yahoo.com-
dc.subject.keywordการทวงหนี้en_US
dc.subject.keywordเจ้าหนี้และลูกหนี้en_US
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380035034.pdf898.86 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.