Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78739
Title: แนวทางการแก้ปัญหาวิธีการเฉลี่ยภาษีซื้อของธุรกิจ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับที่ 29 เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร
Authors: สุรณัติ วัฒนาไพศาล
Advisors: ทัชมัย ฤกษะสุต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Tashmai.R@chula.ac.th
Subjects: ภาษีมูลค่าเพิ่ม -- การบัญชี -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การคำนวณภาษีอากร
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การประกอบธุรกิจในปัจจุบันมีการแข่งขันอย่างรุนแรงและรวดเร็ว กิจการที่มีความรวดเร็วในการปรับตัวเพื่อแสวงหารายได้จากการทำธุรกิจมีความสำคัญมากขี้นกว่าในอดีต ส่งผลให้กิจการในปัจจุบันมีความหลากหลายของประเภทเงินได้จากกิจการที่ทำมากขึ้น โดยรายได้เหล่านั้นต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับกรมสรรพากร อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงการก็บภาษีการบริโภคแล้วจะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันตามแต่ละประเภทธุรกรรมของรายได้ที่เกิดขี้น เช่น การขายสินค้าหรือให้บริการโดยทั่วไปต้องนำรายได้มาเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม รายได้จากการว่าความหรือการสอบบัญชีได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ รายได้จากการขายสินค้าในต่างประเทศก็ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Out of Scope VAT) เป็นต้น การประกอบการธุรกิจในปัจจุบันที่สภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเป็นโอกาสและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ ทำให้บางช่วงเวลากิจการอาจมีรายได้ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม การที่กิจการมีรายได้ทั้ง 2 ประเภทอยู่ในกิจการเดียวกันนี้ ย่อมส่งผลต่อการคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของกิจการ ในการประกอบการธุรกิจนั้นมีภาระภาษีที่เกี่ยวข้องหลายประเภท โดยภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นเป็นภาระภาษีสำคัญอย่างหนึ่งของธุรกิจ ที่กำหนดให้ผู้ประกอบการมีหน้าที่ยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคิดคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ สำหรับการคำนวณภาษีซื้อที่จะใช้เครดิตได้นั้น หากกิจการมีรายได้ที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มและรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ในกิจการเดียวกัน กิจการมีหน้าที่ในการเฉลี่ยภาษีซื้อเพื่อให้ได้ภาษีซื้อที่สามารถนำมาใช้เครดิตได้ สำหรับภาษีซื้อที่เกี่ยวกับรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นไม่สามารถขอคืนได้ถือเป็นต้นทุนรายจ่ายของกิจการ หากว่ากิจการสามารถขอคืนภาษีซื้อในส่วนนี้ได้ย่อมทำให้กิจการมีกระแสเงินสดเพื่อใช้ในการประกอบการมากขึ้นและมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น ประเด็นปัญหาที่มักเกิดขึ้นสำหรับธุรกิจคือ ผู้ประกอบการไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่เพียงพอในเรื่องการเฉลี่ยภาษีซื้อตามวิธีการที่สรรพากรกำหนด ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นนี้อาจเกิดจากการเป็นกิจการขนาดย่อมที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ที่มีความเข้าใจในกระบวนการดังกล่าว หรือ อาจเห็นว่าจำนวนเงินเป็นจำนวนเงินที่ไม่มาก เป็นต้น โดยทั่วไปการขอเครดิตภาษีซื้อนั้น สำหรับกิจการที่มีรายได้อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถขอคืนได้ทั้งจำนวนและกิจการที่มีรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นไม่สามารถขอคืนภาษีซื้อได้ แต่สำหรับกิจการที่มีรายได้ทั้งสองประเภทคือประเภทรายได้ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและประเภทที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สัมพันธ์กับรายได้ในส่วนใดนั้น กิจการต้องใช้วิธีการเฉลี่ยภาษีซื้อในการปันส่วนภาษีซื้อที่สามารถขอเครดิตภาษีคืนได้ ตามวิธีการที่กำหนดตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับที่ 29 เพื่อหาภาษีซื้อที่กิจการสามารถใช้ในการเครดิตภาษีซื้อได้ สำหรับกิจการที่มีรายได้หลายประเภทและต้องมีการเฉลี่ยภาษีซื้อนั้น ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับที่ 29 ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้กิจการที่มีรายได้ทั้งที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) และไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Non VAT) นำมาเป็นฐานในการเฉลี่ยภาษีซื้อเพียงวิธีเดียวสำหรับวิธีการทั่วไป และมีข้อผ่อนปรนคือ หากว่ารายได้จากกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Non VAT) น้อยกว่าร้อยละ 10 จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ ซึ่งเป็นการพิจารณาเพียงอัตราร้อยละเพียงอย่างเดียวโดยมิได้คำนึงถึงมูลค่าของรายการที่เกิดขึ้น แต่ในสภาพการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูง และ ธุรกิจก็ต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อให้กิจการอยู่รอดได้นั้น บางช่วงเวลากิจการต้องมีรายได้จากกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเข้ามาเป็นครั้งคราวจนทำให้สัดส่วนของรายได้ไม่เป็นไปตามที่สรรพากรกำหนดไว้ ทำให้กิจการต้องดูสัดส่วนรายได้ตลอดเวลาเพื่อให้การคำนวณเฉลี่ยภาษีซื้อได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จึงถือว่าไม่มีความยืดหยุ่นและหากยื่นแบบผิดพลาดจะทำให้กิจการต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม เป็นจำนวนเงินที่สูงเป็นภาระต่อกิจการหากว่าสรรพากรจะกำหนดวิธีการอื่นเพิ่มเติมในการเฉลี่ยภาษีซื้อ จะทำให้กิจการที่มีข้อจำกัดด้านการเงิน และ ความรู้ทางการบัญชีและภาษีอากร สามารถปฎิบัติให้ถูกต้องเพื่อให้เสียภาษีให้ถูกต้องและครบถ้วน ไม่เป็นการเพิ่มภาระให้กับกิจการ
Description: เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78739
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.193
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2021.193
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380043034.pdf8.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.