Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78777
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์ | - |
dc.contributor.author | เอก มั่นเกษวิทย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-06-13T08:30:40Z | - |
dc.date.available | 2022-06-13T08:30:40Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78777 | - |
dc.description | เอกัตศึกษา (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 | en_US |
dc.description.abstract | แรงงานถือเป็นปัจจัยสําคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ หากแรงงานมีความรู้ มี ทักษะสูงย่อมส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการทํางาน ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศใน ภาพรวม ทั้งนี้มีบางประเทศที่มีความต้องการแรงงานจากประเทศต่างๆเข้ามาทํางานในประเทศตน เพื่อทําให้เศรษฐกิจในประเทศเจริญเติบโตก้าวหน้าต่อไป ทําให้แรงงานในบางประเทศมีความประสงค์ จะย้ายถิ่นในการทํามาหากิน โดยปัจจัยต่างๆนั้นมาจากการที่ประเทศต้นทางไม่ตอบสนองต่อความ ต้องการเท่ากับประเทศปลายทางที่แรงงานย้ายถิ่นจะไปประกอบอาชีพ ในการเคลื่อนย้ายแรงงานนั้น จะต้องมีบริบทที่เป็นมาตรฐานที่ทําให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นไปตามหลักการรวมกลุ่มทาง ภูมิภาค ซึ่งตามหลักการทางการรวมกลุ่มทางภูมิภาคนั้น ประสิทธิภาพในการเคลื่อนย้ายแรงงานจะ เกิดขึ้นได้จริงก็ต่อเมื่อมีการกําหนดหลักประกันที่สําคัญและนํามาใช้ได้จริง เช่น การมีหลักประกันทาง สังคมและความมั่นคง เป็นต้น การรวมกลุ่มทางภูมิภาคนั้นไม่ใช่แค่เป็นการรวมกลุ่มแค่ในประเทศที่ พัฒนาแล้ว ในฝั่งเอเชียก็มีการรวมกลุ่มทางภูมิภาคขึ้นนั้นคือ การเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่ง เป็นการรวมกลุ่มของสิบประเทศสมาชิก เพื่อเป็นการพัฒนา เสริมสร้างการค้า การเคลื่อนย้ายแรงงาน ได้อย่างเสรี ในการเคลื่อนย้ายแรงงานของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนจากประเทศต้นทางไปยังประเทศ ปลายทาง เมื่อแรงงานมีการย้ายถิ่นไปทํางานที่ประเทศปลายทาง แรงงานย้ายถิ่นย่อมต้องเผชิญกับ ความไม่มั่นคงทางสังคม ต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางด้านวัฒนธรรมและความเสี่ยงภัยต่าง ๆ ใน ระหว่างทํางาน การคุ้มครองทางสังคมจึงเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับการย้ายถิ่น เพื่อให้แรงงานย้ายถิ่นมี ความคุ้มครอง เป็นการสร้างความมั่นคงทางสังคมให้แก่แรงงานเมื่อต้องย้ายไปทํางานในต่างประเทศ การคุ้มครองทางสังคมที่สําคัญแก่แรงงาน คือ เรื่องของการประกันสังคม จากการศึกษาพบว่าระบบประกันสังคมของสมาชิกในกลุ่มประเทศอาเซียนให้สิทธิแรงงาน ข้ามชาติไม่เท่าเทียมกับแรงงานในประเทศของตน หรือบางประเทศไม่ให้สิทธิประโยชน์กับแรงงาน ข้ามชาติเลย ซึ่งไม่สอดคล้องกับข้อกําหนดขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ตามอนุสัญญา ฉบับที่ 102 ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ําที่แรงงานควรได้รับ และตามอนุสัญญาฉบับที่ 118 ว่าด้วยการ ปฏิบัติที่เท่าเทียม (ประกันสังคม) และอนุสัญญาฉบับที่ 157 ว่าด้วยสิทธิประโยชน์ประกันสังคม ดังนั้นการที่จะทําให้การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนมีประสิทธิภาพ มากขึ้น จําเป็นต้องมีการร่วมกันพัฒนา ทบทวน ปรับปรุงระบบความมั่นคงให้มีความชัดเจน | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.166 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ประกันสังคม | en_US |
dc.subject | การย้ายถิ่นของแรงงาน | en_US |
dc.title | ระบบประกันสังคมพื้นฐานสำหรับการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน | en_US |
dc.type | Independent Study | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | กฎหมายเศรษฐกิจ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | taweejamsup@hotmail.com | - |
dc.subject.keyword | ระบบประกันสังคม | en_US |
dc.subject.keyword | การเคลื่อนย้ายแรงงาน | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.IS.2021.166 | - |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6380048234.pdf | 811.33 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.