Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78885
Title: ประสิทธิภาพของสารสกัดพรอพอลิสและน้ำผึ้งจากชันโรง Geniotrigona thoracica ต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อสิว Propionibacterium acnes และ Staphylococcus aureus
Other Titles: The effect of propolis and honey extract from Geniotrigona thoracica to inhibit Propionibacterium acnes and Staphylococcus aureus
Authors: กัณธิดา ภมรพล
Advisors: จันทร์เพ็ญ จันทร์เจ้า
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: โพรพอลิส
สิว
สารต้านแบคทีเรีย
Propolis
Acne
Antibacterial agents
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สิว เป็นโรคอักเสบเรื้อรัง บริเวณรูขุมขนและต่อมไขมัน สาเหตุหนึ่งของการเกิดสิว คือการอักเสบเนื่องมาจากแบคทีเรีย ได้แก่ Propionibacterium acnes ซึ่งเป็น anaerobic bacteria ที่สามารถพบเจริญอยู่บริเวณส่วนลึกของรูขุมขน แบคทีเรียอีกชนิดหนึ่งคือ Staphylococcus aureus เป็น aerobic bacteria เจริญบริเวณผิวหนัง แบคทีเรียเหล่านี้หลั่งสารต่าง ๆ กระตุ้นให้เกิดการอักเสบและเกิดเป็นสิวได้ โดยกลุ่มยารักษาสิวในปัจจุบัน ทำให้เกิดผลข้างเคียงหลายประการ ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจในผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ต้านการเติบโตของแบคทีเรียนั่นคือ พรอพอลิส เนื่องจากมีองค์ประกอบสำคัญคือ ฟลาโวนอยด์ และสารกลุ่มฟีนอลิก งานวิจัยครั้งนี้จึงจัดทำขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารสกัดหยาบพรอพอลิสจากชันโรง Geniotrigona thoracica ต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของ P. acnes และ S. aureus โดยได้ทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ ด้วยวิธี agar well diffusion ซึ่งใช้สารสกัดหยาบความเข้มข้น 62.5, 125, 250, 500, และ 1,000 mg/ml ควบคู่กับ control (100% DMSO) และ positive control (penicillin-streptomycin) จากการทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ P. acnes ในสภาวะไร้ออกซิเจน พบว่าสารสกัดหยาบพรอพอลิสด้วยเมทานอล สามารถทำให้เกิดโซนยับยั้ง (clear zone inhibition) ในทุกความเข้มข้น โดยค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางของโซนยับยั้งมีค่าอยู่ในช่วง 14 – 18 mm โดยความเข้มข้นที่ให้ค่าเส้นผ่านศูนย์กลางของโซนยับยั้งน้อยที่สุด คือ 62.5 mg/ml รองลงมาคือ 125, 250 mg/ml ตามลำดับ โดยสารสกัดหยาบที่ความเข้มข้น 500 และ 1,000 mg/ml มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเติบโตของเชื้อ P. acnes ได้ดีที่สุด เนื่องจากให้ค่าเส้นผ่านศูนย์กลางของโซนยับยั้งที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งมีค่ามากที่สุดด้วย และจากการทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเติบโตของเชื้อ S. aureus พบว่าทุกความเข้มข้นของสารสกัดหยาบสามารถทำให้เกิดโซนยับยั้ง โดยมีค่าเฉลี่ยในช่วง 15 – 21 mm โดยที่ทุกความเข้มข้นของสารสกัดหยาบ ให้ค่าโซนยับยั้งที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นั่นคือมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ S. aureus ได้ไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ผลของการหาปริมาณฟีนอลิก และฟลาโวนอยด์ทั้งหมด ในสารสกัดหยาบพรอพอลิส จากการทดสอบด้วยวิธี Folin- Ciocalteu method และ aluminium chloride colorimetric assay ตามลำดับ พบว่ามี ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด 20.67 mg gallic acid equivalent (GAE)/g และปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด 480.26 mg quercetin equivalent (QE)/g ดังนั้น จึงสามารถกล่าวได้ว่าพรอพอลิสจาก G. thoracica มีฤทธิ์ต้านการเติบโตของ P. acnes และ S. aureus
Other Abstract: Acne vulgaris is a skin disease. One of the causes is inflammation by bacteria. The main bacterium is Propionibacterium acnes, which is anaerobic and lives within sebum-rich areas. The other one is Staphylococcus aureus, which is aerobic. However, the remedy for inflammatory acne has many side effects. Thus, a natural product with anti - acne causing bacteria activity is interesting. Propolis has become an option. The essential components those make propolis contain antibacterial activity are flavonoids and phenolic compounds. Accordingly, the objective of this research is to evaluate the antibacterial activity of propolis extract from Geniotrigona thoracica on P. acnes and S. aureus by agar well diffusion assay. In this study, working concentrations of crude methanol extract of propolis (CMEP) were 62.5, 125, 250, 500, and 1,000 mg/ml. Dimethyl sulfoxide (DMSO) and the mixed solution of penicillin and streptomycin were used as control and positive control, respectively. Results showed that CMEP inhibited the growth of P. acnes with the average diameter of clear zone of 14 – 18 mm. The lowest concentration providing the clear zone of inhibition was 62.5 mg/ml. Then, it was followed by 125 and 250 mg/ml, respectively. The concentrations of 500 and 1,000 mg/ml of CMEP were similar in inhibition. Both were the highest effective to inhibit the growth of P. acnes because the diameter of the clear zone of inhibition did not differ significantly. Consistently, all concentrations of CMEP were able to inhibit S. aureus. The average diameter of clear zone of inhibition was 15 – 21 mm. The potential of inhibition from each concentration was not different significantly. Moreover, the phenolic and flavonoid content of CMEP were determined by Folin- Ciocalteu method and aluminium chloride colorimetric assay, respectively. The result found that the content of total phenolic was 20.67 mg gallic acid equivalents (GAE)/g and the content of flavonoids was 480.26 mg quercetin equivalents (QE)/g. Thus, propolis from G. thoracica is potential for anti - P. acnes and anti - S. aureus activities.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78885
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-BIO-004 - Kanthida Pamornpol.pdf26.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.