Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78919
Title: การพัฒนารูปแบบจิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลสำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในประเทศไทย
Other Titles: Development of interpersonal psychotherapy model for patients with depressive disorders in Thailand
Authors: พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: จิตบำบัดสัมพันธภาพ
ความซึมเศร้า -- การรักษา
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มาและความสำคัญของปัญหา: โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่พบบ่อย ส่งผลกระทบต่อความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคม จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลเป็นจิตบำบัดรูปแบบหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคซึมเศร้า การนำมาปรับใช้ในประเทศไทย ต้องคำนึงถึงบริบทด้านสังคมวัฒนธรรมร่วมด้วย จึงมีความจำเป็นในการนำมาปรับพัฒนาให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย ผู้วิจัยได้พัฒนาและปรับรูปแบบการบำบัดเป็นรูปแบบกลุ่ม และศึกษาประสิทธิภาพในการรักษาอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในประเทศไทย วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของจิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลรูปแบบกลุ่มในการลดอาการซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โดยเปรียบเทียบการใช้จิตบำบัดร่วมกับการรักษาตามปกติด้วยยา ว่ามีประสิทธิภาพในการลดอาการซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้มากกว่าการรักษาตามปกติด้วยยาเพียงอย่างเดียวหรือไม่ วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงทดลองโดยมีกลุ่มควบคุมและมีการสุ่ม เกณฑ์การคัดเลือกคือเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าชนิด major depressive disorder หรือ persistent depressive disorder ตามเกณฑ์การวินิจฉัยของ DSM-5 และมีคะแนนจากแบบประเมิน Thai HRSD ตั้งแต่ 13 คะแนนขึ้นไป โดยมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ทำการศึกษาทั้งหมด 64 คน แบ่งเป็นผู้ป่วยกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 32 คนเท่ากันโดยวิธีการสุ่มแบบบล็อก กลุ่มทดลองได้รับจิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลรูปแบบกลุ่มเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ร่วมกับการรักษาด้วยยาตามปกติ ในขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับการรักษาด้วยยาตามปกติเพียงอย่างเดียว ทำการประเมินคะแนนซึมเศร้าโดยแบบประเมิน Thai HRSD และคะแนนอาการทางคลินิกโดยแบบประเมิน CGI ก่อนเริ่มศึกษา (สัปดาห์ที่ 0) และติดตามประเมินต่อในสัปดาห์ที่ 4, 8, 12 และหลังจากการศึกษา (สัปดาห์ที่ 16) แล้วทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนซึมเศร้าเฉลี่ย และคะแนนอาการทางคลินิกเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติทดสอบ repeated measures analysis of variance (ANOVA) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับน้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษา: กลุ่มทดลองที่ได้รับจิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลร่วมกับการรักษาด้วยยาตามปกติมีค่าคะแนนซึมเศร้าเฉลี่ย โดยแบบประเมิน Thai HRSD และค่าคะแนนอาการทางคลินิกเฉลี่ย โดยแบบประเมิน CGI ลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการรักษาด้วยยาตามปกติเพียงอย่างเดียว ทั้งในสัปดาห์ที่ 4, 8, 12 และหลังการศึกษา (สัปดาห์ที่ 16) สรุปผลการศึกษา: จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลรูปแบบกลุ่มที่ได้ปรับและพัฒนาขึ้นช่วยให้อาการซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าลดลง และมีอาการทางคลินิกที่ดีขึ้นได้ และพบว่าการให้จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคลรูปแบบกลุ่มร่วมกับการรักษาด้วยยาตามปกติ ส่งผลให้ลดอาการซึมเศร้า และอาการทางคลินิกของผู้ป่วยได้มากกว่าการรักษาด้วยยาตามปกติเพียงอย่างเดียว
Other Abstract: Background and Rationale: Depressive disorder is the common psychiatric disorders leading to the socioeconomic loss. Interpersonal psychotherapy (IPT) is one the evidence-based therapies for depression. The socio-cultural context is the concerning issue when adapting IPT for use in Thailand. The author developed and adapted IPT into a group format and study the effects of the program on the reduction of depressive symptoms in Thai depressed patients. Research Objective: To study the effects of interpersonal psychotherapy in a group format (IPT-G) on the reduction of depressive symptoms in Thai depressed patients by comparing the IPT-G plus the usual medication treatment with the usual medication treatment only. Methods: The randomized controlled trial was conducted. The selection criteria were patients with major depressive disorder or persistent depressive disorder by DSM-5 criteria and the score of Thai HRSD of 13 or above. The total number of depressed patients were 64. They were allocated into the experimental group and the control group (equally 32 person in each group) by block randomization. The experimental group received 12-week IPT-G with the usual medication treatment while the control group received only the usual medication treatment only. The symptoms of depression and the severity of clinical condition were assessed by using Thai HRSD and CGI before the program (week 0), and at the week 4, 8, 12, and after the program (week 16). The repeated measures ANOVA was used to compare the differences of the scores of depression and the severity of clinical conditions throughout the study period. A p-value of less than 0,05 was considered statistically significant. Results: The experimental group receiving IPT-G with the usual medication treatment had the reduction of scores on depression (by Thai HRSD) and the clinical conditions (by CGI) than the control group receiving only the usual medication treatment in the week 4, 8,12, and after the study (week 16). Conclusion:Interpersonal psychotherapy in a group format (IPT-G) was adapted and developed to reduce the patients' depressive symptoms and the severity of clinical conditions. The IPT-G plus the usual medication treatment had the effects on reduction of patients' depressive symptoms and the severity of clinical conditions than the usual medication treatment only
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78919
Type: Technical Report
Appears in Collections:Med - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Med_Peeraphon Lueboonthavatchai_2019.pdf952 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.