Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78956
Title: บทบาทของ Histone methyltransferase ต่อเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากดวงตาที่ถูกกระตุ้นด้วย IGF-1 จากผู้ป่วยโรคตาโปนจากไทรอยด์
Other Titles: Role of Histone methyltransferase in IGF-1 induced orbital fibroblast activation in Graves’ ophthalmopathy patients
Authors: พิมพ์ชนก พันธุ์แก้ว
Advisors: ศิตา วีรกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: เซลล์สร้างเส้นใย
ตาโปน
การยับยั้งการแสดงออกของยีน
Fibroblasts
Exophthalmos
Gene silencing
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรคตาโปนจากไทรอยด์ (Graves’ ophthalmopathy; GO) เป็นโรคภูมิต้านเนื้อเยื่อตนเองชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุมาจากออโตแอนติบอดีไปกระตุ้นการทำงานของ Thyroid-stimulating hormone receptor (TSHR) บนผิวเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากดวงตา ส่งผลให้เซลล์มีการเพิ่มจำนวน การผลิต hyaluronan และการเกิดกระบวนการ adipogenesis นอกจากนี้ยังพบ Insulin-like growth factor 1 (IGF-1) ในปริมาณมากใน serum ของผู้ป่วย โดยจับอย่างจำเพาะกับ IGF-1 receptor (IGF-1R) ที่แสดงออกบนเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากดวงตา งานวิจัยนี้ศึกษาบทบาทของเอนไซม์ Histone methyltransferase ต่อการกระตุ้นการทำงานของเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากดวงตาที่ถูกกระตุ้นด้วย IGF-1 โดยเมื่อทำการทดลองกระตุ้นเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากดวงตาที่ได้รับจากผู้ป่วยโรคตาโปนจากไทรอยด์ 3 คนด้วย IGF-1 (100ng/ml) เป็นระยะเวลา 0,1,2,4 และ 6 ชั่วโมง พบว่ามีการแสดงออกของยีน Histone methyltransferase ที่เพิ่มขึ้นโดยยีน G9a มีการแสดงออกเพิ่มขึ้นที่ 2 ชั่วโมง (p<0.001) และ 6 ชั่วโมง (p<0.05) ยีน DOT1L มีการแสดงออกเพิ่มขึ้นที่ 2 ชั่วโมง (p<0.05) และ 6 ชั่วโมง (p<0.001) และยีน EZH2 มีการแสดงออกที่เพิ่มขึ้นที่ 6 ชั่วโมง (p<0.01) ในการศึกษาผลของ IGF-1 ต่อการกระตุ้นการทำงานของเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากดวงตาพบว่า IGF-1 กระตุ้นการเพิ่มจำนวนเซลล์ (p) และการผลิต hyaluronan (p) จึงนำไปสู่การใช้สารยับยั้ง BIX01294 ต่อการยับยั้งเอนไซม์ G9a พบว่าสามารถลดค่าดูดกลืนแสงของ hyaluronan ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากผลการทดลองคาดว่ายีน EZH2 เกี่ยวข้องกับการเพิ่มจำนวนเซลล์ และยีน G9a เกี่ยวข้องกับการผลิต hyaluronan ของเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากดวงตา อย่างไรก็ตามผลจากการใช้สารยับยั้งต่อการเพิ่มจำนวนเซลล์และการผลิต hyaluronan ยังต้องมีการทดลองซ้ำเพื่อให้ได้ค่าที่มีความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้คงต้องมีการศึกษากลไกการเกิดโรคในเชิงลึกต่อไปเพื่อการพัฒนายาที่มีประสิทธิภาพสำหรับการรักษาโรคตาโปนจากไทรอยด์ในอนาคต
Other Abstract: Graves’ ophthalmopathy (GO) is an autoimmune disease caused by Thyroidstimulating hormone receptor (TSHR) autoantibody which specifically bind to TSH receptor expressed on orbital fibroblasts. These processes result in orbital fibroblast proliferation, hyaluronan production and adipocyte differentiation. Moreover, previous study showed that insulin-like growth factor 1 (IGF-1) increased in serum of GO patients. IGF-1 bind to IGF-1 receptor which presented on orbital fibroblasts. This study aims to investigate role of histone methyltransferase in IGF-1-induced orbital fibroblast activation. Orbital fibroblasts were obtained from 3 GO patient and stimulated by IGF-1 (100 ng/ml) for 0, 2, 4 and 6 hours. The results showed that IGF-1 induces histone methyltransferase expression which are G9a upregulation at 2 hours (p<0.001) and 6 hours (p<0.05), DOT1L upregulation at 2 hours (p<0.05) and 6 hours (p<0.001) and EZH2 upregulation at 6 hours (p<0.01). Moreover, IGF-1 can induce cell proliferation (p<. To investigate the effect of Histone methyltransferase inhibitor in controlling cell proliferation, DZNeP (EZH2 inhibitor) likely decreased cell proliferation (p=0.1183). Not only IGF-1 induces cell proliferation, but also induces hyaluronan production (p). The results showed that BIX01294 (G9a inhibitor) significantly reduces absorbance of hyaluronan measurement (p<0.05). Our study showed that EZH2 may control cell proliferation and G9a may involve hyaluronan production. However, results of inhibitor in controlling orbital fibroblast proliferation and hyaluronan production still need to be confirmed in order to understand the mechanism of epigenetics involved in GO which is the new approach of GO treatment.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78956
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-MICRO-019 - Pimchanok Phankeaw.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.