Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78996
Title: | การผลิตและตรวจสอบสมบัติของฟิล์มจาก Anabaena sp. |
Other Titles: | Production and characterization of film from Anabaena sp. |
Authors: | สุพิชญา วิริยะหิรัญไพบูลย์ |
Advisors: | วิชาณี แบนคีรี อัญชิษฐา สัจจารักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | โพลิเมอร์ชีวภาพ โพลิแซ็กคาไรด์ ไซยาโนแบคทีเรีย Biopolymers Polysaccharides Cyanobacteria |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในปัจจุบันการใช้ประโยชน์ของพอลิเมอร์ชีวภาพรวมถึงพอลิแซคคาไรด์และ พอลิไฮดรอกซีบิวทิเรตในการทดแทนวัตถุดิบจากปิโตรเลียมได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง เนื่องจากระดับความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามข้อจำกัดทางการค้าของ พอลิเมอร์เหล่านี้ คือ ปริมาณการผลิตต่ำ ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิต พอลิแซคคาไรด์และพอลิไฮดรอกซีบิวทิเรตจากไซยาโนแบคทีเรียภายใต้สูตรอาหารเพาะเลี้ยงที่ แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพของฟิล์มที่ขึ้นรูปจากพอลิเมอร์เหล่านี้ ผลการศึกษา ลักษณะสัณฐานวิทยาและการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงวงศ์วานวิวัฒนาการของลำดับนิวคลีโอไทด์ ของเครื่องหมายยีน 16S rDNA พบว่าไซยาโนแบคทีเรียชนิดนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ Anabaena siamensis โดยที่ไซยาโนแบคทีเรียชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตในสูตรอาหารเหลวของโบลด์ (BBM; 0.45±0.07 กรัมต่อลิตร) ได้มากกว่าสูตรอาหารเหลวบีจี-11 ที่ปราศจากโซเดียมไนเตรท (BG-11₀; 0.21±0.05 กรัมต่อลิตร) และสามารถผลิตพอลิไฮดรอกซีบิวทิเรตและพอลิแซคคาไรด์ได้เท่ากับ 26.8±3.9 and 48.2±5.8 มิลลิกรัมต่อลิตร หลังจากเพาะเลี้ยงเป็นระยะเวลา 21 วันใน BBM ซึ่ง สูงกว่า 2 เท่าของการเพาะเลี้ยงใน BG-11₀ (14.5±3.5 และ 21.0 ± 4.2 มิลลิกรัมต่อลิตร, ตามลำดับ) ฟิล์มที่ได้จากการขึ้นรูปจากพอลิไฮดรอกซีบิวทิเรตที่สกัดได้ (1% โดยมวลต่อปริมาตร) โดยเทคนิคการ หล่อฟิล์มจากสารละลาย มีสมบัติการส่องผ่านของแสงยูวีต่ำ และฟิล์มที่ได้จากการขึ้นรูปของ พอลิแซคคาไรด์ที่สกัดได้ (0.35% โดยมวลต่อปริมาตร) โดยการผสมกับคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (1.5% โดยมวลต่อปริมาตร) มีสมบัติการส่องผ่านของแสงอย่างยอดเยี่ยม ซึ่งการส่องผ่านของแสงเป็น สมบัติหนึ่งที่มีความสำคัญในการประยุกต์ใช้งานด้านบรรจุภัณฑ์ |
Other Abstract: | In the present day, utilization of biopolymers including polysaccharide (PS) and polyhydroxybutyrate (PHB) as the substitutions of petroleum-based materials has gained widespread attention, as the level of environmental consciousness increases. However, the bottleneck in commercialization of these polymers is the low production yield. Therefore, the aims of this study were to investigate the productions of PS and PHB of a cyanobacterial isolate cultured in different media, and to analyze the physical properties of films casted from these polymers. Results from morphological study and phylogenetic analysis based on 16S rDNA sequences suggested that this cyanobacterial isolate was closely related to Anabaena siamensis. This cyanobacterium grew faster in bold's basal medium (BBM; 0.45±0.07 g/L) than in BG-11 medium, which lacked sodium nitrate (BG-11₀; 0.21±0.05 g/L). The highest PHB and PS yields were 26.8±3.9 and 48.2±5.8 mg/L, after 21-day cultivation in BBM, which were about 2-fold higher than those of BG-11₀ (14.5±3.5 and 21.0 ± 4.2 mg/L, respectively). The film obtained from solvent casting using PHB (1% w/v) exhibited low transmission of UV. Similarly, the composite film obtained from PSs (0.35% w/v) blended with carboxymethyl cellulose (1.5% w/v) also showed excellent optical properties, which light transmission is one of an important property for packaging applications. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78996 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63-SP-BOT-006 - Supichaya Wiri.pdf | 2.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.