Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79037
Title: Removal efficiency of 103 to 300 micrometers microplastics in raw water via coagulation and flocculation process
Other Titles: ประสิทธิภาพการกำจัดไมโครพลาสติก ขนาด 103 ถึง 300 ไมโครเมตร ในน้ำดิบ ด้วยกระบวนการสร้างและรวมตะกอน
Authors: Kornwipa Sahin
Advisors: Vorapot Kanokkantapong
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Subjects: Microplastics
Water -- Purification -- Coagulation
ไมโครพลาสติก
น้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์ -- การรวมตะกอน
Issue Date: 2019
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: This study focused on finding removal efficiency of 103 to 300 μm microplastics (MPs) via coagulation and flocculation process. Water samples were collected from Khlong Prapa, Don Mueang, Bangkok, Thailand. Total hardness, total alkalinity, pH, turbidity, and conductivity in raw water were 115.72 mg/L as CaCO₃, 104.29 mg/L as CaCO₃, 7.4 to 8.2, 20.40 to 32 NTU, and 352 to 565 μS/cm respectively. 20 MPs particles with organic matters on surface from immersing in sugar factory wastewater were then added in raw water to obtain optimum doses of alum and APAM for coagulation and flocculation processes. The results showed that alum and APAM affected in slightly decrease of pH and slightly increase of conductivity. The maximum turbidity removal efficiency by adding alum alone and adding alum with APAM were 97.87±0.03% and 98.25±0.04%, respectively. In addition, the 103 to 300 μm MPs removal efficiency by adding 37 ppm alum was 85.00±0.00% whereas the removal efficiency by adding 37 ppm alum with 0.04 ppm APAM was more than 90.00±0.00%.
Other Abstract: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการกำจัดไมโครพลาสติกขนาด 103 ถึง 300 ไมโครเมตร ในน้ำดิบ ด้วยกระบวนการสร้างและรวมตะกอน โดยน้ำตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นน้ำดิบจากคลองประปา บริเวณเขตดอนเมือง จังหวัดกรุงเทพมหานคร ทำการตรวจวัดพารามิเตอร์เบื้องต้นของน้ำตัวอย่าง ได้แก่ ความกระด้างทั้งหมด สภาพความเป็นด่างทั้งหมด ค่าความเป็นกรด-ด่าง ความขุ่น และค่าการนำไฟฟ้า พบว่ามีค่า 115.72 mg/L as CaCO3, 104.29 mg/L as CaCO3, 7.4 ถึง 8.2, 20.40 ถึง 32 NTU และ 352 ถึง 565 μS/cm ตามลำดับ จากนั้น นำไมโครพลาสติกที่มีสารอินทรีย์เกาะ บนพื้นผิวจากการแช่ในน้ำเสียโรงงานน้ำตาล จำนวน 20 ชิ้น มาใส่ในน้ำดิบ เพื่อศึกษาค่าความเข้มข้น ที่เหมาะสมที่สุดในการกำจัดไมโครพลาสติกด้วยกระบวนการสร้างและรวมตะกอน โดยการเติมสารส้มและสารโพลีอะคริลาไมด์ ชนิดประจุลบ ผลการศึกษา พบว่า สารส้มและสารโพลีอะคริลาไมด์ ชนิดประจุลบ ส่งผลให้ความเป็นกรด-ด่างลดลงเล็กน้อย และค่าการนำไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ประสิทธิภาพสูงสุดของการกำจัดความขุ่นจากการเติมสารส้มอย่างเดียว จะต่ำกว่าชุดการทดลองที่มี การเติมสารส้มร่วมกับสารโพลีอะคริลาไมด์ชนิดประจุลบ (97.87±0.03% และ 98.25±0.04% ตามลำดับ) นอกจากนี้ การกำจัดไมโครพลาสติก ขนาด 103 ถึง 300 ไมโครเมตร ด้วยการเติมสารส้ม 37 มิลลิกรัมต่อลิตร จะมีประสิทธิภาพ 85.00±0.00% ในขณะที่การเติมสารส้ม 37 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ สารโพลีอะคริลาไมด์ชนิดประจุลบ 0.04 มิลลิกรัมต่อลิตร จะได้ประสิทธิภาพมากกว่า 90.00±0.00%
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79037
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-ENVI-006 - Kornwipa Sahin_No bookmark.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.