Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79238
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธรรมนูญ หนูจักร | - |
dc.contributor.author | สุริวิภา เชื้อไชยนา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-07-12T01:30:54Z | - |
dc.date.available | 2022-07-12T01:30:54Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79238 | - |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 | en_US |
dc.description.abstract | ได้พิสูจน์ทราบเอกลักษณ์โดยการระบุชนิดของสารระเหยง่ายในพริกแกงแดง สมุนไพรและเครื่องเทศ ที่เป็นส่วนประกอบย่อยด้วยเทคนิคเฮดสเปซโซลิดเฟส ไมโครเอกซ์แทรกชัน (HS-SPME) ร่วมกับเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโทรเมตรี (GC-MS) ซึ่งใช้คอลัมน์คะปิลารีประเภท HP-5MS (30m x 0.25mm x 0.25 μm) พบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมตัวอย่างด้วย HS-SPME คือ สกัดที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสใช้เวลาในการสกัด 60 นาที จากนั้นสารที่ถูกสกัดซึ่งถูกดูดซับบนไฟเบอร์ชนิด DVB/CAR/PDM จะถูกปลดปล่อยในส่วนฉีดสารที่อุณหภูมิ 250 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 นาที ตั้งค่ารายการอุณหภูมิเตาอบของเครื่อง GC เริ่มต้นที่ 50 องศาเซลเซียส ถึง 200 องศาเซลเซียส ด้วยอัตรา 3 องศาเซลเซียสต่อนาที จากนั้นเพิ่มอุณหภูมิจนถึง 250 องศาเซลเซียส ด้วยอัตรา 5 องศาเซลเซียสต่อนาที และคงที่อุณหภูมิสุดท้ายไว้ 2 นาที การระบุเอกลักษณ์ของสารระเหยง่ายพบสารสำคัญทั้งหมด 95 สาร ได้แก่ สารประเภท แอลกอฮอล์ แอลดีไฮด์ คีโตน เอสเทอร์ อีเทอร์ สารประกอบซัลเฟอร์ และไฮโดรคาร์บอน ซึ่งมาจากการเปรียบเทียบกับแมสสเปกตรัมโดยฐานข้อมูล NIST17 และยืนยันด้วยค่า linear retention index (LRI) ชนิดสารระเหยง่ายหลักของแกงแดงมาจาก กระเทียมและหอมแดง พบเป็นสารประกอบกลุ่มซัลไฟด์ พริกพบเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน แอลกอฮอลล์ เอสเทอร์ และอัลดีไฮด์ และ ตะไคร้พบเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน อัลดีไฮด์ แอลกอฮอลล์และเอสเทอร์ ตามลำดับ หากทำการศึกษาด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (PCA) เพื่อจัดกลุ่มข้อมูลเพิ่มเติม จะทำให้สามารถจำแนกกลุ่มและเปรียบเทียบความแตกต่างของพริกแกงแดงที่ศึกษาได้ ดังนั้นจึงบ่งชี้ได้ว่าสามารถใช้วิธี HS-SPME-GC-MS ในการระบุชนิดสารระเหยง่ายและจะสามารถพิสูจน์เปรียบเทียบพริกแกงแดงจากต่างแหล่งที่มาได้หากใช้งานร่วมกับเคโมเมทริกซ์ | en_US |
dc.description.abstractalternative | Volatile compounds in Red curry paste and the individual ingredients were identified by headspace solid phase microextraction (HS-SPME) combined with gas chromatography-mass spectrometry (GC-MS) using a capillary column of HP-5MS (30 m x 0.25 mm x 0.25 μm). Proper conditions of example preparation were performed by HS-SPME using extraction temperature of 60 °C for 60 minutes. The extracted compounds which are adsorbed on DVB/CAR/PDM fiber were then desorbed at the GC inlet at 250 °C for 5 min. The GC oven temperature was programmed from 50 to 200 °C at 3 °C/min and then from 200 °C to 250 °C at 50 °C/min and hold at 250 °C for 2 min. 95 volatile compounds were identified including alcohols, aldehydes, ketones, esters, ethers, sulfur compounds and hydrocarbons by comparing their mass spectra with NIST17 database and ensuring with linear retention indices (LRI). The main compounds detected in Red curry paste were the constituents of the garlic and shallot (sulfide compounds) , chili (hydrocarbons, esters, aldehydes, alcohols) and kaffir lime peel (hydrocarbons, alcohols, aldehydes, esters). By further study using principal component analysis (PCA) for grouping and differentiating those volatile compounds in red curry, it may be classified into groups within different regions in the PCA plots. This indicates that HS-SPME-GCMS can be used to determine the volatile compounds and if it is combined with chemometrics, so red curry paste from different sources can be differentiated. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | สารประกอบอินทรีย์ระเหย | en_US |
dc.subject | แกสโครมาโตกราฟี | en_US |
dc.subject | แมสสเปกโทรเมตรี | en_US |
dc.subject | Volatile organic compounds | en_US |
dc.subject | Gas chromatography | en_US |
dc.subject | Mass spectrometry | en_US |
dc.title | การพิสูจน์เอกลักษณ์ของสารระเหยง่ายในแกงแดง ด้วยเทคนิคเฮดสเปซโซลิด เฟส ไมโครเอกซ์แทรกชัน-แก๊สโครมาโทกราฟ:-แมสสเปกโทรเมตรี | en_US |
dc.title.alternative | Characterization of Volatile Compounds in Red Curry by Headspace Solid Phase Microextraction-Gas Chromatography -Mass Spectrometry | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62-SP-CHEM-050 - Suriwipa Chua.pdf | 1.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.