Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79247
Title: การเตรียมและลักษณะสมบัติของวัสดุพรุนน้ำที่ทำจากตะกรันจากเตาอาร์คไฟฟ้า
Other Titles: Preparation And Characteristics of Perforated Material made from Electric Arc Furnace Slag
Authors: พงศ์พีระ ยังเจริญ
พีระพัศ เมลืองศิลป์
Advisors: วันทนีย์ พุกกะคุปต์
นิธิวัชร์ นวอัครฐานันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: วัสดุรูพรุน
Porous materials
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบัน พื้นทางเท้าที่สามารถระบายน้ำขังได้โครงสร้างเป็นแบบวัสดุพรุน ลักษณะเด่นของโครงสร้างแบบนี้คือ จะมีรูพรุนเปิดและต่อเนื่องภายในโครงสร้างอยู่จำนวนมาก ทำให้น้ำสามารถไหลผ่านได้ดี อย่างไรก็ตามวัสดุพรุนมีความแข็งแรงที่ไม่สูงมากนัก งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการใช้ตะกรันที่เกิดขึ้นในเตาอาร์คไฟฟ้าจากอุตสาหกรรมเหล็ก เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตวัสดุพรุน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติและโครงสร้างของตะกรันจากเตาอาร์คไฟฟ้า ได้แก่ ความแข็งแรงกดอัด ความสามารถในการระบายน้ำ และความพรุนตัวด้วยการเตรียมส่วนผสมจากตะกรันที่มีขนาดอนุภาค 2 ขนาดโดยใช้ปูนซีเมนต์พอร์ตแลนด์เป็นตัวประสานผลการทดสอบของสมบัติดังกล่าวนี้พบว่าความมีความแข็งแรงกดอัดมีค่ามากขึ้นตามระยะเวลาที่บ่มมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนขนาดของตะกรันส่งผลต่อความความแข็งแรงกดอัด ในส่วนของความพรุนตัวและการไหลผ่านของน้ำพบว่ามีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับลักษณะโครงสร้างของรูพรุน อัตราการไหลผ่านของน้ำอาจจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับสัดส่วนของรูพรุนที่อยู่ภายในโครงสร้างเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะขึ้นกับความต่อเนื่องของรูพรุนและขนาดของรูพรุนด้วย ดังจะเห็นได้จากชิ้นงานที่ประกอบด้วยอนุภาคหยาบ แม้ว่าจะมีสัดส่วนความพรุนใกล้เคียงกับชิ้นงานอื่น ๆ แต่การไหลผ่านของน้ำเกิดได้ดีกว่ามาก ดังนั้นงานวิจัยในขั้นต่อไปจึงควรพิจารณาศึกษาความต่อเนื่องในโครงสร้างวัสดุพรุนร่วมด้วย
Other Abstract: Nowadays, the pavement that can drain water has a porous structure. The outstanding features of the structure include a large fraction of open and connected pores, allowing good water permeability. However, the perforated material has not a very high strength. This research studied the use of electric arc furnace slag from the steel industry as a raw material to produce perforated materials. This aimed to observe the relationship between properties and microstructure of slag-based porous bodies, i.e. compressive strength, water permeability and porosity, by preparing slag mixtures of 2 particle sizes and using portland cement as a binder. The results showed that the compressive strength was greater as a function of curing time. The change in slag size ratio affected the compressive strength. As far as the porosity and water permeability were concerned, it was found they both were truely related to pore characteristics. The water flow rate might not be solely based on pore fraction in the bodies but also depended on the connectivity and the size of the pore. As seen from the samples composed of coarse particles although its pore content was similar to those of other specimens, the flow of which became much better. Therefore, the next step of the research should cover the connectivity of pore structure.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพอลิเมอร์และสิ่งทอ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79247
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-MATSCI-010 - Phongpeera Yangcharoen.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.