Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79299
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กานต์ เสรีวัลย์สถิตย์ | - |
dc.contributor.author | วันวิสา การิวัตร | - |
dc.contributor.author | ศิริลักษณ์ วงศ์ณรัตน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-07-18T09:15:18Z | - |
dc.date.available | 2022-07-18T09:15:18Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79299 | - |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพอลิเมอร์และสิ่งทอ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 | en_US |
dc.description.abstract | คอนกรีตทนไฟแมกนีเซียเป็นวัสดุเซรามิกที่มีสมบัติในด้านความทนไฟสูง ทนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพหรือรูปร่างที่อุณหภูมิสูง สามารถทนทานต่อการกัดกร่อนเชิงด่างได้ดี โดยทั่วไปคอนกรีตทนไฟผลิตจากการนำเอาวัตถุดิบหลายๆขนาดมาผสมกันโดยใช้แคลเซียมอะลูมิเนตซีเมนต์เป็นตัวเชื่อมประสาน อย่างไรก็ตามปริมาณอะลูมินาในแคลเซียมอะลูมิเนตซีเมนต์จะส่งผลทำให้ความทนทานต่อการกัดกร่อนเชิงด่างลดลง งานวิจัยนี้ศึกษาการเตรียมคอนกรีตทนไฟแมกนีเซียโดยใช้แมกนีเซียมออกซีซัลเฟตซีเมนต์เป็นตัวเชื่อมประสาน เพื่อให้ชิ้นงานแข็งตัวและคงรูปได้ที่อุณหภูมิห้อง เมื่อผ่านการเผาที่อุณหภูมิสูงแมกนีเซียมออกซี ซัลเฟตซีเมนต์จะสลายตัวเหลือแมกนีเซียเพียงเฟสเดียว ทำให้ไม่ส่งผลเสียต่อความทนทานต่อการกัดกร่อนของคอนกรีตทนไฟ ในการทดลองนี้ศึกษาผลของปริมาณการเติมแมกนีเซียที่ผ่านการเผาที่อุณหภูมิต่ำและแมกนีเซียมซัลเฟตเฮปตะไฮเดรตเซียอย่างละร้อยละ 1 ถึง 4 ต่อสมบัติของชิ้นงานที่เตรียมได้ จากผลการทดลองพบว่า ความแข็งแรงต่อแรงดัดของชิ้นงานคอนกรีตทนไฟแมกนีเซียหลังอบแห้งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเพิ่มปริมาณแมกนีเซียที่ผ่านการเผาที่อุณหภูมิต่ำและแมกนีเซียมซัลเฟตเฮปตะไฮเดรต ซึ่งมีค่าความแข็งแรงต่อแรงดัดของชิ้นงานสูงสุดเท่ากับ 246.3 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร เมื่อเติมแมกนีเซียที่ผ่านการเผาที่อุณหภูมิต่ำและแมกนีเซียมซัลเฟตเฮปตะไฮเดรตอย่างละร้อยละ 4 จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเฟส ปรากฏเฟสบลูไซต์ แมกนีไซต์ และแมกนีเซียมออกซีซัลเฟตซีเมนต์ เฟส 3-1-8 ขึ้นภายในโครงสร้างของชิ้นงาน จากการทำปฏิกิริยาระหว่างแมกนีเซียที่ผ่านการเผาที่อุณหภูมิต่ำและแมกนีเซียมซัลเฟตเฮปตะ ไฮเดรต เมื่อนำชิ้นงานไปทำการเผาที่อุณหภูมิ 1500 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 5 ชั่วโมง พบว่าชิ้นงานหลังเผามีความแข็งแรงต่อแรงดัดและความหนาแน่นรวมลดลง แต่ค่าการดูดซึมน้ำและค่าความพรุนตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มปริมาณแมกนีเซียที่ผ่านการเผาที่อุณหภูมิต่ำและแมกนีเซียมซัลเฟตเฮปตะไฮเดรต เนื่องจากเกิดจากการสลายตัวทางความร้อนของบลูไซต์ แมกนีเซียมคาร์บอเนต และแมกนีเซียมออกซีซัลเฟตซีเมนต์ เกิดเป็นเฟส เพอริเคลส ส่งผลให้เกิดรูพรุนในโครงสร้างของชิ้นงาน จึงส่งผลให้ความแข็งแรงลดลง | en_US |
dc.description.abstractalternative | Magnesia castable is a ceramic material with high refractoriness, high deformation resistance at high temperatures, and high basic corrosion resistance. Castable is typically made by combining aggregates with a binder such as calcium aluminate cement. However, the alumina content of calcium aluminate cement reduces basic corrosion resistance. The purpose of this research was to investigate the preparation of magnesia castables using magnesium oxysulfate cement as a binder to allow a specimen to harden and retain its shape at room temperature. When fired at high temperatures, magnesium oxysulfate cement decomposes into only magnesia, which does not affect the basic corrosion resistance of magnesia castable. The effect of light burnt magnesia and magnesium sulfate heptahydrate contents with percentage values ranging from 1 to 4 on specimen properties was investigated. From the experimental result, the modulus of rupture of the dried specimens tended to increase as the amount of light burnt magnesia and magnesium sulfate heptahydrate increased. It had the highest strength with a percentage of 4 at 246 kg/cm2. According to x-ray diffraction analysis, the phase of brucite, magnesite, and magnesium oxysulfate cement 3-1-8 in the structure of the specimen was detected as a result of the reaction between light burnt magnesia, magnesium sulfate heptahydrate, and water. After firing at 1500 °C for 5 hours, it was found that the modulus of rupture and the density of the specimens decreased while water absorption and porosity increased due to thermal decomposition of brucite, magnesite, and magnesium oxysulfate cement to periclase phase. This resulted in a decrease in strength due to the presence of pores in the structure of the specimen. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | คอนกรีต | en_US |
dc.subject | วัสดุเซรามิก | en_US |
dc.subject | วัสดุทนไฟ | en_US |
dc.subject | Concrete | en_US |
dc.subject | Ceramic materials | en_US |
dc.subject | Refractory materials | en_US |
dc.title | การเตรียมคอนกรีตทนไฟแมกนีเซียมโดยใช้ซีเมนต์ฐานแมกนีเซียเป็นตัวเชื่อมประสาน | en_US |
dc.title.alternative | Preparation of Magnesia Castables Using Magnesium-Based Cement as a Binder | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63-SP-MATSCI-005 - Sirilak Wongnarat.pdf | 1.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.