Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79329
Title: การพัฒนาแบบวัดความรอบรู้ทางสุขภาพของโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทย
Other Titles: The development of the health literacy of hypertension test in Thailand
Authors: พชร ชินสีห์
Advisors: สุจิตรา สุคนธทรัพย์
ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Subjects: ความรอบรู้ทางสุขภาพ -- การวัด
ความดันเลือดสูง
Health literacy -- Measurement
Hypertension
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การพัฒนาแบบวัดความรอบรู้ทางสุขภาพที่เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงของคนไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบวัดความรอบรู้ทางสุขภาพของโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทยที่มีคุณภาพและสร้างเกณฑ์ปกติวิสัยของการแปลความหมายความรอบรู้ทางสุขภาพในโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์แผนปัจจุบันและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขของพื้นที่ 4 ภาค และ1พื้นที่พิเศษคือกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,446 คน ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย ตัวแปรแฝงมี 3 ตัวแปร ได้แก่ การดูแลตนเอง การป้องกันความเสี่ยง และการส่งเสริมสุขภาพ และตัวแปรที่สังเกตได้ 4 ตัวแปร ในแต่ละตัวแปรแฝง รวมเป็น 12 ตัว ซึ่งได้แก่ การเข้าถึงข้อมูล การเข้าใจข้อมูล การประเมิน และการประยุกต์ใช้ข้อมูลในเรื่องการดูแลตนเอง การเข้าถึงข้อมูล การเข้าใจข้อมูล การประเมิน และการประยุกต์ใช้ข้อมูลในเรื่องการการป้องกันความเสี่ยง และ การเข้าถึงข้อมูล การเข้าใจข้อมูล การประเมิน และการประยุกต์ใช้ข้อมูลในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความรอบรู้ทางสุขภาพที่เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงของคนไทยโดยตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่าน ความเที่ยงโดยสูตรวิธีแอลฟาของครอนบาค และความตรงตามโครงสร้างโดยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโดยใช้โปรแกรมลิสเรล รวมถึงหาค่าเกณฑ์ปกติวิสัยเพื่อแบ่งค่าระดับความรอบรู้ทางสุขภาพของโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า ค่าความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 ท่านมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.68 ค่าความเที่ยงของแบบวัด ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ด้านการป้องกันโรคแทรกซ้อน และ ด้านการดูแลรักษาตนเอง มีค่าความเที่ยงสูงตามลำดับ โดยแบบวัดทั้งฉบับมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .864 ผลการวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทย เมื่อพิจารณาค่าสถิติที่ใช้ในการตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลเชิงประจักษ์พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเกณฑ์ปกติของคะแนนความรอบรู้ทางสุขภาพสำหรับโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทย แบ่งเป็น 3 ระดับตามช่วงของเปอร์เซ็นไทล์ ได้แก่ ระดับต่ำ ระดับปานกลาง ระดับสูง กลุ่มตัวอย่างมีระดับความรอบรู้ทางสุขภาพอยู่ในระดับสูงเป็นจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 35.25 รองลงมาอยู่ในระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ 32.50 และ ระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 32.25 ดังนั้นแบบวัดความรอบรู้ทางสุขภาพที่เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงของคนไทยมีคุณภาพของเครื่องมือสามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาการให้บริการสาธารณสุขและส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมกับโรคความดันโลหิตสูงได้
Other Abstract: The objectives of this study were to develop the health literacy of hypertension test in Thailand, to test validity and reliability and to create norm. Samples were 1,446 patients with high blood pressure diagnosed from the hypertension clinics in the hospitals under the Ministry of Public Health, Thailand. The test was developed and divided into 3 latent variables and 4 observed variables for health literacy concepts. There were 12 variables to access, understand, appraise, and apply data to self-healthcare; access, understand, appraise, and apply data to risk prevention; and access, understand, appraise and apply data to health promotion. Indexes of Item-Objective Congruence (IOC) from 7 experts and Cronbach’s alpha coefficient of the entire questionnaire were evaluated content validity and reliability. The Confirmatory Factor Analysis with LISREL also analyzed for construct validity. To set up the norm score referenced criteria to allocate the levels of hypertension health literacy of Thailand. The result showed that the item Objective Congruence was 0.68 and the Cronbach’s alpha coefficient was 0.864. The model was fit to empirical data. The norm score of health literacy of hypertension disease in Thailand was divided into three levels according to the percentiles which were low, fair, and high.  The sample with the high score was the most being 35.25%. The next rank was the low score being 32.50% and the fair score being 32.25%. In conclusion, the health literacy of Thai hypertension test was strong validity and reliability. The test can be used to evaluate health literacy of hypertension patients.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79329
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1109
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1109
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5678606239.pdf3.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.