Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79542
Title: ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในผู้ปฏิบัติงานในอู่ซ่อมเรือทหารเรือแห่งหนึ่ง 
Other Titles: Prevalence and associated factors of musculoskeletal disorders among workers in a Naval dockyard
Authors: สตรีรัตน์ แก้วเยื้อง
Advisors: สุนทร ศุภพงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: โรคเกิดจากอาชีพ
กล้ามเนื้ออักเสบ
กระดูก -- ความผิดปกติ
อาชีวอนามัย
Occupational diseases
Myositis
Bones -- Abnormalities
Industrial hygiene
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง และประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของผู้ปฏิบัติงานในอู่ซ่อมเรือทหารเรือแห่งหนึ่งจำนวน 384 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทั่วไป Nordic Musculoskeletal Questionnaire และแบบประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ Washington State Ergonomics Tool ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ความชุกของอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง นับตั้งแต่เริ่มทำงานในอู่ซ่อมเรือ และช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา อยู่ที่ร้อยละ 62.24 และ 58.07 ตามลำดับ โดยตำแหน่งที่มีความชุกสูงสุดคือ หลังส่วนล่าง รองลงมาคือ หัวไหล่ ผู้ปฏิบัติงานที่ระบุว่าอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันอยู่ที่ร้อยละ 29.17 และร้อยละ 14.84 ต้องลาป่วยจากเหตุดังกล่าว สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง ได้แก่ การมีสถานะสมรส (OR 1.86; 95%CI: 1.12-3.09) การมีโรคประจำตัว (OR 1.95; 95%CI: 1.14-3.34) การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (OR 2.17; 95%CI: 1.33-3.53) และการทำงานที่มีการใช้มือในการออกแรงมาก (High hand force) (OR 2.50; 95%CI: 1.58-3.95) ผลการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ Washington State Ergonomics Tool Caution/Hazard zone พบว่าผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ทำงานลักษณะท่าทางที่มีความเสี่ยง ซึ่งลักษณะท่าทางที่มีความเสี่ยงนั้นมีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในทุกตำแหน่งของร่างกาย จึงเห็นได้ว่าการทำงานในอู่ซ่อมเรือเป็นงานที่มีความชุกของอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างค่อนข้างสูง และผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ทำงานที่มีความเสี่ยงทางการยศาสตร์ ควรมีการประเมินการทำงานโดยละเอียดเพื่อปรับสภาพงาน และจัดทำโปรแกรมทางการยศาสตร์ที่เหมาะสมต่อไป
Other Abstract: This is a cross-sectional descriptive study aimed to determine the prevalence and related factors of musculoskeletal disorders and assess the ergonomics risk factors among 384 workers in a Naval dockyard. Data were collected from self-administered questionnaire, Nordic musculoskeletal questionnaire and Washington State Ergonomics Tool. The result showed that the life-long and the last 12 months prevalence of musculoskeletal disorders were 62.24% and 58.07%, respectively. The predominant area was the low back area following with shoulders. There were 29.17% of workers who claimed that the musculoskeletal disorders affected their daily life and 14.84% of them took a sick leave. The factors which associated with the musculoskeletal disorders were being married (OR 1.86; 95%CI: 1.12-3.09), having underlying diseases (OR 1.95; 95%CI: 1.14-3.34), consuming alcohol (OR 2.17; 95%CI: 1.33-3.53) and working in high hand force positions (OR 2.50; 95%CI: 1.58-3.95). Assessment of ergonomics risks revealed that most workers worked with risky positions. Those positions were correlated with the occurrence of musculoskeletal disorders. In conclusion, workers in a dockyard had a high prevalence of musculoskeletal disorders. Job analysis was recommended to improve the work processes and appropriated ergonomics programs should be carried out.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79542
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.552
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.552
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6370053630.pdf3.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.