Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79548
Title: การศึกษาวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มถึงผลของการให้ยา indomethacin ทางทวารหนักเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะ post-embolization syndrome ในคนไข้มะเร็งตับ
Other Titles: A randomized double-blinded placebo-controlled trial of prophylactic rectal Indomethacinfor prevention of post-embolization syndrome in patients with hepatocellular carcinoma
Authors: กฤตยา เมฆฤทธิไกร
Advisors: ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช
เกศรินทร์ ถานะภิรมย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: ตับ -- มะเร็ง
มะเร็ง -- การรักษา -- ภาวะแทรกซ้อน
อินโดเมธาซิน
Liver -- Cancer
Cancer -- Treatment -- Complications
Indomethacin
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความสำคัญและที่มาของปัญหางานวิจัย : ภาวะ post-embolization syndrome เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยครั้งตามหลังการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งตับระยะ intermediate ด้วยการให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการอุดหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงก้อนมะเร็ง (transarterial chemoembolization; TACE) ยาอินโดเมทาซินชนิดเหน็บทางทวารหนักซึ่งมีศักยภาพในการลดการอักเสบอาจมีบทบาทในการป้องกันการเกิดภาวะ post-embolization syndrome วัตถุประสงค์ของงานวิจัย: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของยาอินโดเมทาซินชนิดเหน็บทางทวารหนักในการป้องกันการเกิดภาวะ post-embolization syndrome ในผู้ป่วยโรคมะเร็งตับที่ได้รับการรักษาโดยการทำ TACE ระเบียบการวิจัย: การศึกษาทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 ถึงกุมภาพันธ์ 2565 โดยผู้ป่วยโรคมะเร็งตับระยะ intermediate ที่เข้ารับการรักษาด้วยการทำ TACE และผ่านเกณฑ์การรับเข้าจะถูกแบ่งชั้นภูมิ (stratification) ตามขนาดก้อนมะเร็งที่ใหญ่ที่สุด หลังจากนั้นจะได้รับการสุ่ม (randomization) เข้าสู่กลุ่มทดลอง และกลุ่มยาหลอก ผู้ป่วยจะได้รับยา indomethacin 100 มิลลิกรัม หรือยาหลอกเหน็บทางทวารหนักครั้งแรก 2-4 ชั่วโมงก่อนการทำ TACE และครั้งที่ 2 6-8 ชั่วโมงหลังทำ TACE โดยมีผลลัพธ์งานวิจัยหลักคืออัตราการเกิดภาวะ post-embolization syndrome ตามนิยามของ Southwest Oncology Group Coding (SWOG) และผลลัพธ์รองคือการเปลี่ยนแปลงของระดับเอนไซม์ตับและระดับสารสื่อการอักเสบในเลือด (serum cytokines) และจำนวนวันนอนโรงพยาบาล ผลการวิจัย: สืบเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้จำนวนผู้ป่วยที่เข้าร่วมงานวิจัยไม่เป็นไปตามขนาดตัวอย่างที่ได้คำนวนไว้ อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยโรคมะเร็งตับจำนวน 40 รายเข้าร่วมงานวิจัย ผู้ป่วย 19 รายได้รับยาอินโดเมทาซินเหน็บทางทวารหนักและ 21 รายได้รับยาหลอก ผลการวิจัยพบว่าอุบัติการณ์การเกิดภาวะ post-embolization syndrome ในกลุ่มที่ได้รับยาอินโดเมทาซินต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก (ร้อยละ 57.9 เทียบกับร้อยละ 71.2, p=0.18) นอกจากนั้นผู้ป่วยในกลุ่มยาอินโดเมทาซินยังมีคะแนน SWOG ในแง่ความเจ็บปวดต่ำกว่าผู้ป่วยในกลุ่มยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ (0.37 เทียบกับ 1.05, p=0.004) รวมทั้งมีอัตราส่วนร้อยละที่เพิ่มขึ้นของระดับ IL-6 ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอก (ร้อยละ 30.2 เทียบกับร้อยละ 125.9, p=0.06) ผลการวิจัยไม่พบความแตกต่างของจำนวนวันนอนโรงพยาบาลในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม รวมทั้งจากการวิเคราะห์ไม่พบปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะ post-embolization syndrome เมื่อพิจารณาอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน สรุป: การใช้ยาอินโดเมทาซินชนิดเหน็บทางทวารหนักอาจสามารถป้องกันการเกิดภาวะ post-embolization syndrome ในผู้ป่วยมะเร็งตับระยะ intermediate ที่ได้รับการรักษาโดยการทำTACE ได้ ทั้งนี้จำเป็นต้องทำการศึกษาที่มีจำนวนอาสาสมัครมากขึ้นต่อไป
Other Abstract: Background: Post-embolization syndrome (PES) is one of the most common complications following transarterial chemoembolization (TACE) for patients with intermediate stage hepatocellular carcinoma (HCC). Rectal indomethacin potentially has a prophylactic role for prevention of PES. Aim: To determine the efficacy of prophylactic rectal indomethacin for prevention of PES in patients receiving TACE for HCC. Methods: This prospective, randomized, double-blinded, placebo-controlled trial was conducted in a tertiary care hospital in Bangkok, Thailand during September 2021 to February 2022. Patients with intermediate-stage HCC were prospectively enrolled and randomized to rectal indomethacin and placebo group with a stratification according to the largest tumor size. Rectal indomethacin 100 mg or placebo were administered twice at 2-4 hours before and 6-8 hours after TACE. The primary outcome was an incidence rate of PES which was defined by Southwest Oncology Group (SWOG) toxicity coding criteria. The secondary outcomes were changes of liver enzymes and a length of hospital stay (LOS). Results: Due to pandemic situation of Coronavirus, we could not enroll the expected number of participants. Forty patients with HCC were enrolled; 19 patients were randomly assigned to rectal indomethacin group and the other 21 patients to placebo group. Baseline characteristics of both groups were similar. The incidence of PES was lower in rectal indomethacin group compared to placebo group (57.9%vs 71.2%, p=0.18). Indomethacin appeared to significantly reduce the mean SWOG score of pain (0.37 vs 1.05, p=0.004). The percent increase of serum IL-6 in the indomethacin group was lower than that in the placebo group (30.2% vs 125.9%, p=0.06). There was no difference in LOS. From regression analysis, there was no factors which significantly associated with developing of PES. The rates of adverse events in both groups were not different (p=0.06). Conclusion: Prophylactic rectal indomethacin might effective for prevention of post-embolization syndrome in patients receiving chemoembolization for hepatocellular carcinoma. Further study with a larger sample size is required.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79548
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1130
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.1130
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6370068030.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.