Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79560
Title: การใช้แนวทางการปรับยาวาร์ฟารินโดยมีทีทีอาร์และไอเอ็นอาร์เป็นตัวช่วยที่ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริกที่รักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดกลุ่มออกฤทธิ์ต้านวิตามินเค
Other Titles: Implementation of TTR-INR guided warfarin adjustment protocol in patients with atrial fibrillation receiving vitamin K antagonist oral anticoagulant
Authors: ไพสิฐ โกสุม
Advisors: วรวุฒิ รุ่งประดับวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: วาร์ฟาริน
หัวใจ -- โรค -- การรักษา
ภาวะหัวใจเสียจังหวะ
Warfarin
Heart -- Diseases -- Treatment
Arrhythmia
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา: ภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริกเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติ ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะหลอดเลือดสมองทั่วโลก ยาต้านการแข็งตัวของเลือดเป็นยาที่ถูกแนะนำให้ใช้เพื่อป้องกันภาวะหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยภาวะหัวใจต้องบนเต้นระริก  แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญและข้อแนะนำส่วนใหญ่แนะนำให้เลือกใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดกลุ่มไม่ได้ออกฤทธิ์ต้านวิตามินเคเป็นยาที่ใช้ลำดับแรกและมีประสิทธิภาพในการป้องกันภาวะหลอดเลือดสมองเหนือว่ายาต้านการแข็งตัวของเลือดกลุ่มออกฤทธิ์ต้านวิตามินเคหรือยาวาร์ฟาริน  แต่ในทางปฏิบัติในประเทศไทย ยาวาร์ฟารินก็ยังเป็นที่ถูกเลือกนำมาใช้เป็นลำดับแรกเพื่อป้องกันภาวะหลอดเลือดสมองเนื่องจากราคาถูกและมีใช้อย่างแพร่หลายในทุกโรงพยาบาล  ทีทีอาร์ถือเป็นตัวชี้วัดมาตรฐานสำหรับการประเมินประสิทธิภาพใช้ในการใช้ยาวาร์ฟารินในอยู่ในช่วงระดับของการรักษา  อย่างไรก็ตามในประเทศไทยยังไม่มีการนำทีทีอาร์มาเป็นเครื่องมือที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย จุดประสงค์: เพื่อวิเคราะห์การปรับปรุงของทีทีอาร์ หลังใช้แนวทางการปรับยาวาร์ฟารินโดยการใช้ทีทีอาร์และไอเอ็นอาร์ เป็นตัวช่วยในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริกที่รักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดกลุ่มออกฤทธิ์ต้านวิตามินเค และศึกษาความสะดวกในการใช้งานแนวทางการปรับยาวาร์ฟารินโดยการใช้ทีทีอาร์และไอเอ็นอาร์เป็นตัวช่วย ระเบียบวิธีวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้า  ศึกษาผู้ป่วยภาวะหัวใจต้องบนเต้นระริกที่รักษาและติดตามที่คลินิกวาร์ฟาริน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2565  โดยจะทำการเก็บข้อมูลทั่วไป, โรคประจำตัว, ประเมินความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดสมองและภาวะเลือดออก  การรักษาที่ได้รับ  และผลลัพธ์ที่ต้องการ คือ การเปลี่ยนแปลงของทีทีอาร์, การเสียชีวิต  การนอนโรงพยาบาล  อุบัติการณ์การเกิดภาวะหลอดเลือดสมองและเลือดออก  รวมทั้งเจาะเลือดเพื่อวัดค่าทีทีอาร์ โดยทำการวัด 2 ครั้ง (ครั้งแรกที่ 6 เดือนหลังการใช้แนวทางการปรับยาฯ และครั้งที่ 2 คือ 1 ปีหลังการใช้แนวทางฯ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลใช้ McNemar’s Chi-square test และ paired t-test เพื่อหาความสัมพันธ์ดังกล่าว ผลการศึกษา: ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า คัดกรองอาสาสมัครทั้งหมด 95 คน (อาสาสมัครที่ตรงเกณฑ์และคุณสมบัติในการคัดเลือกเข้าในงานวิจัยทั้งหมด 74 คน และอาสาสมัคร 18 คน ขาดความสมบูรณ์ของข้อมูล) อายุเฉลี่ยของอาสาสมัครเท่ากับ 72 ± 11 ปี ร้อยละ 50 เป็นเพศหญิง  มีผู้ป่วยร้อยละ 32.14 มีโรคประจำตัวเป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด  ผู้ป่วยร้อยละ 21.43 มีเคยมีประวัติหลอดเลือดสมองตีบมาก่อน และผู้ป่วยร้อยละ 35.7 เป็นเบาหวาน  ค่าคะแนนประเมินความเสี่ยง CHA2DS2-VASc เฉลี่ย 3.82 ± 1.82 HAS-BLED เฉลี่ย 2.13 ± 1.01 และ  SAMe-TT2R2 เฉลี่ย 3.30 ± 0.74 จากผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของทีทีอาร์ตั้งต้นก่อนใช้แนวทางการปรับยาฯ เท่ากับร้อยละ 61.92 ± 21.65 (ร้อยละ 59 ของอาสาสมัครมีค่าทีทีอาร์น้อยกว่าร้อยละ 65) หลังจากใช้แนวทางการปรับยาฯ ที่ 6 เดือน พบว่า ค่าทีทีอาร์ของอาสาสมัครเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 77.96 ± 19.36 (p<0.001) (คิดสัดส่วนของอาสาสมัครที่มีทีทีอาร์มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 65 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 41 เป็นร้อยละ 78 (p<0.001))  พบอาสาสมัครเพียง 1 คนเสียชีวิตขณะติดตามอาการด้วยภาวะตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันรุนแรง และไม่มีอาสาสมัครคนใดเกิดอุบัติการณ์ของภาวะหลอดเลือดสมองหรือภาวะเลือดออกรุนแรงในช่วง 6 เดือนแรก สรุป: การศึกษาพบว่า ยาวาร์ฟารินยังคงเป็นยาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อป้องกันภาวะหลอดเลือดเสมองในผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริก  พบว่าค่าทีทีอาร์ของอาสาสมัครเพิ่มขึ้นหลังจากมีการใช้แนวทางการปรับยาฯ 6 เดือนแรก ดังนั้นการใช้แนวทางการปรับยาวาร์ฟารินโดยมีทีทีอาร์และไอเอ็นอาร์เป็นตัวช่วยหนึ่งในการปรับปรุงทีทีอาร์ของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นระริกที่รักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดกลุ่มออกฤทธิ์ต้านวิตามินเค
Other Abstract: Background: Atrial fibrillation (AF) is a common cardiac arrhythmia in clinical practice and causing ischemic stroke globally. Oral anticoagulant is recommended for stroke prevention in patients with AF. Although major practice guidelines usually recommend novel oral anticoagulants (NOAC) over vitamin K antagonists (warfarin) for stroke prevention, warfarin remains a viable oral anticoagulant for many patients because of its availability and cost. While time in therapeutic range (TTR) is globally recognized as an indicator for anticoagulation control, its clinical use is still not widely applied in clinical practice. Objective: To study the association of change of TTR after implementation of TTR-INR guided warfarin adjustment protocol in patients with AF receiving vitamin K antagonist oral anticoagulant. Material and Methods: This is a prospective, single center study of patients with nonvalvular atrial fibrillation at warfarin clinic of King Chulalongkorn Memorial Hospital. TTR was calculated at baseline, 6 months, and 12 months after protocol implementation. Patient characteristics, ischemic risk scores, bleeding risk scores, treatments, and outcomes including TTR improvement, embolic event, bleeding events, hospitalization, and mortality were collected. McNemar’s Chi-square test and paired t-test were used to evaluate the relationship between protocol implementation and outcomes. Results: A total of 95 patients were screened with 74 patients enrolled, of which 18 patients had missing data. Hence, over 56 patients were analyzed (mean age of 72 ± 11 years, 50% females), of which the historical records of ischemic heart diseases, ischemic stroke, and diabetes were reported 32.14%, 21.43%, 35.7% respectively. The baseline risk scores were 3.82 ± 1.82 for the CHA2DS2-VASc scores, 2.13 ± 1.01 for the HAS-BLED scores, and 3.30 ± 0.74 for the SAMe-TT2R2 scores. The TTR at baseline was 61.92 ± 21.65% (59% of patients had TTR less than 65%). After 6 months of protocol implementation, TTR were significantly improved (77.96 ± 19.36%) (p<0.001). Significant improvement of proportion of patients with TTR ³65% was shown after protocol implementation (from 41% to 78%) (p<0.001). Only one patient died during the follow-up. No ischemic or major bleeding events were occurred during the follow-up in the first 6 months. Conclusion: Warfarin is among the common use of oral anticoagulants in patients with AF. The TTR was significantly improved after 6 months of protocol implementation. This strategy may offer additional value in TTR improvement and good outcomes in patients with atrial fibrillation receiving warfarin.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79560
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1128
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.1128
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6370092030.pdf2.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.