Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79568
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเถลิงศักดิ์ กาญจนบุษย์-
dc.contributor.advisorปิยวรรณ กิตติสกุลนาม-
dc.contributor.authorสุรศักดิ์ ใฝ่สัจจะธรรม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-07-23T04:15:54Z-
dc.date.available2022-07-23T04:15:54Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79568-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractที่มาของงานวิจัย: ภาวะทุพโภชนาการเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเสียชีวิตในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องที่มีภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ข้อมูลของการให้โปรตีนเสริมในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องยังค่อนข้างจำกัด ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นการศึกษาแบบการทดลองหลายแหล่งวิจัยแบบเปิดที่ศึกษาในศูนย์ล้างไตทางช่องท้องทั้งหมด 9 แห่งในประเทศไทย ที่ศึกษาผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปีที่ล้างไตทางช่องท้องและได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะติดเชื้อเยื่อบุช่องท้อง ร่วมกับมีระดับแอลบูมินในกระแสเลือดต่ำกว่า 3.5 กรัม/ดล. และคัดผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากวัณโรค เชื้อรา ติดเชื้อแบบทุติยภูมิ หรือมีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตรุนแรงออกจากการศึกษา โดยทำการสุ่มผู้ป่วยในอัตรา 1:1 เพื่อเข้าสู่กลุ่มศึกษา และกลุ่มควบคุม ในกลุ่มที่ศึกษาผู้ป่วยจะได้รับโปรตีนเวย์ปริมาณ 30 กรัม/วัน เป็นระยะเวลา 30 วัน โดยที่กลุ่มควบคุมจะไม่ได้รับโปรตีนเสริม ผู้ป่วยในทั้งสองกลุ่มจะได้รับคำแนะนำทางโภชนาการจากนักกำหนดอาหารตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อเยื่อบุช่องท้อง โดยศึกษาผลลัพธ์ของการศึกษาหลักเป็นผลลัพธ์รวมของการเสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องและการติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องซ้ำแบบ relapsing และ repeat และผลลัพธ์ของการศึกษารองคือระดับแอลบูมินในกระแสเลือดระหว่างทั้งสองกลุ่ม ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 74 คนจากเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เข้าร่วมการศึกษาและได้รับการสุ่มไปยังกลุ่มศึกษา 37 คน และกลุ่มควบคุม 37 คน ลักษณะผู้ป่วยในทั้งสองกลุ่มไม่ได้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยในกลุ่มศึกษามีอัตราการเสียชีวิตหรือการติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องซ้ำแบบ relapsing หรือ repeat ที่ 15 คน (ร้อยละ 41) และ 19 คน (ร้อยละ 51) (hazard ratio 0.84; ช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95 0.43-1.67) แต่พบว่าระดับแอลบูมินในกระแสเลือดในกลุ่มศึกษามีระดับสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญเมื่อวิเคราะห์แบบตลอดการศึกษา (P<0.001) โดยมีค่าแตกต่างที่วันที่ 120 เฉลี่ยอยู่ที่ 0.35 กรัม/ดล. (ช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95 0.06-0.64) อาการผิดปกติที่พบในผู้ป่วยไม่แตกต่างในทั้งสองกลุ่ม โดยส่วนมากเป็นอาการระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ถ่ายอุจจาระเหลว อืดแน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน และเบื่ออาหาร สรุปผลการศึกษา: การให้โปรตีนเสริมในผู้ป่วยติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องจากการล้างไตทางช่องท้องส่งผลให้ระดับแอลบูมินในกระแสเลือดสูงขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามผลต่อการเปลี่ยนแปลงการเสียชีวิตหรือการติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องซ้ำยังไม่พบอย่างชัดเจน จำเป็นต้องการมีการศึกษาเพิ่มเติมในผู้ป่วยที่มากกว่านี้และมีการติดตามผู้ป่วยที่ยาวนานกว่านี้เพื่อศึกษาผลที่แท้จริงต่อไป-
dc.description.abstractalternativeBACKGROUND: Malnutrition is associated with increased mortality in peritoneal dialysis (PD) patients with peritonitis. Data on protein supplementation during peritonitis episodes are limited. METHODS: A multicenter, open-label, randomized trial across 9 PD centers was conducted. Adult PD patients above 18 years, diagnosed with peritonitis with serum albumin below 3.5 g/dL were randomly assigned in a 1:1 ratio to receive protein supplementation (intervention group) or none (control group). Exclusion criteria were tuberculous/fungal/secondary/chemical peritonitis, and septic shock. Whey protein supplementation of 30 grams/day was given to the intervention group for 30 days. Participants in both groups received nutritional counseling according to SPENT guideline. The primary outcome was a composite outcome of peritonitis-related death and relapsing/repeat peritonitis. The secondary outcome was serum albumin levels between group across 120 days. RESULTS: From June 2021 to February 2022, 74 patients were randomized to the intervention group (N=37) and control group (N=37). The median age of the participants was 63 years, 53% were male, and 50% had diabetes. Both groups had comparable demographics and baseline serum albumin (2.61±0.53 vs. 2.62±0.54 g/dL). Primary outcome events were reported in 15 (41%) and 19 (51%) participants in the intervention and control groups, respectively (hazard ratio 0.84; 95% confidence interval (CI) 0.43-1.67). Serum albumin levels were significantly higher in the intervention group throughout the study period (p<0.001), with a mean difference on the 120th day of 0.35 g/dL (95%CI 0.06-0.64). Adverse events, including diarrhea, abdominal pain, nausea/vomiting, and decrease in appetite, were comparable between the intervention group (6 cases) and the control group (8 cases). CONCLUSIONS: Serum albumin concentrations in patients with PD-associated peritonitis were higher with protein supplementation compared with nutritional counseling alone, although peritonitis-related death and relapsing/repeat peritonitis were not affected. Further studies with a longer follow-up period and a larger number of participants are warranted to verify the benefits of protein supplementation on the clinical outcomes.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1163-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectเยื่อบุช่องท้องอักเสบ -- การติดเชื้อ-
dc.subjectเยื่อบุช่องท้องอักเสบ -- ภาวะแทรกซ้อน-
dc.subjectโปรตีนในโภชนาการมนุษย์-
dc.subjectPeritonitis -- Infection-
dc.subjectPeritonitis -- Complications-
dc.subjectProteins in human nutrition-
dc.titleผลของการให้โปรตีนเสริมในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเยื่อบุช่องท้อง-
dc.title.alternativeEffect of protein supplement in patients with peritoneal dialysis-related peritonitis on complicated outcome-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.1163-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6370111330.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.