Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79573
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เจตทะนง แกล้วสงคราม | - |
dc.contributor.author | ณัฐฐิญา ผลหมู่ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-07-23T04:15:59Z | - |
dc.date.available | 2022-07-23T04:15:59Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79573 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 | - |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์และที่มา การแพ้ยาแบบไม่เฉียบพลันชนิดรุนแรงยังเป็นปัญหาสำคัญที่ก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต และยังไม่ทราบปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคแน่ชัด ยกเว้นปัจจัยทางพันธุกรรม กลไกการเกิดการแพ้ยาแบบไม่เฉียบพลันนั้นส่วนใหญ่เกิดจากการกระตุ้นให้มีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันแบบผ่านเซลล์ ซึ่งในปัจจุบันมีการศึกษาเกี่ยวกับวิตามินดีมากมายว่ามีความสัมพันธ์กับระบบภูมิคุ้มกันโดยเฉพาะภูมิคุ้มกันแบบผ่านเซลล์ การศึกษานี้จึงต้องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับวิตามินดีและการแพ้ยาแบบไม่เฉียบพลัน วิธีการศึกษา การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบมีกลุ่มควบคุม ประกอบด้วยผู้ป่วยที่แพ้ยาแบบไม่เฉียบพลันในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ทั้งหมด 60 ราย โดยมีผู้ป่วยแพ้ยาแบบไม่เฉียบพลันชนิดรุนแรง 30 ราย ชนิดไม่รุนแรง 30 ราย และผู้ป่วยกลุ่มควบคุม 60 รายที่ได้รับยาชนิดเดียวกับผู้ป่วยแล้วไม่มีอาการแพ้ยา ผู้ป่วยทั้ง 120 รายจะได้รับการตรวจวัดระดับวิตามินดี Total Vitamin D (25-OH) โดยจะมีการแบ่งระดับวิตามินดีเป็นภาวะพร่องวิตามินดี (ระดับวิตามินดี < 30 ng/ml) ภาวะขาดวิตามินดี (ระดับวิตามินดี < 20 ng/ml) และภาวะขาดวิตามินดีรุนแรง (ระดับวิตามินดี <10 ng/ml) ผลการศึกษา ระดับวิตามินดีในผู้ป่วยแพ้ยาแบบไม่เฉียบพลันชนิดรุนแรงมีค่าต่ำกว่าในกลุ่มควบคุม (p=0.012) และผู้ป่วยแพ้ยาแบบไม่เฉียบพลันชนิดไม่รุนแรง (p=0.031) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยระดับวิตามินดีเฉลี่ยในผู้ป่วยกลุ่มแพ้ยาแบบไม่เฉียบพลันชนิดรุนแรง, ชนิดไม่รุนแรง และกลุ่มควบคุม มีค่าเท่ากับ 13.56±6.23, 17.50±7.49, and 17.42±7.28 ng/ml ตามลำดับ โดยผู้ป่วย Stevens-Johnson syndrome มีระดับวิตามินดีต่ำที่สุด คือ 12.28±6.64 ng/ml นอกจากนี้ยังพบภาวะขาดวิตามินดีรุนแรง (ระดับวิตามินดีน้อยกว่า 10 ng/ml) มากถึง 36.67% ในผู้ป่วยแพ้ยาแบบไม่เฉียบพลันชนิดรุนแรง และ 16.67% ในชนิดไม่รุนแรง ส่วนในกลุ่มควบคุมพบเพียง 11.67% ซึ่งน้อยกว่าในกลุ่มแพ้ยาแบบไม่เฉียบพลันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.04) โดยพบว่าภาวะขาดวิตามินดีรุนแรงมีความสัมพันธ์กับการเกิดการแพ้ยาแบบไม่เฉียบพลันถึง 3.77 เท่า (odds ratio=3.77; 95% CI 1.01-14) เมื่อควบคุมปัจจัยรบกวนอื่น ได้แก่ อายุ เพศ ภูมิลำเนา โรคประจำตัว สรุปผล ผู้ป่วยส่วนใหญ่ในการศึกษาพบภาวะขาดวิตามินดี โดยระดับวิตามินดีในผู้ป่วยแพ้ยาแบบไม่เฉียบพลันชนิดรุนแรงมีค่าต่ำกว่าในกลุ่มควบคุมและแพ้ยาชนิดไม่รุนแรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่าผู้ป่วยแพ้ยาแบบไม่เฉียบพลันมีภาวะขาดวิตามินดีรุนแรงมากกว่าในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบภาวะขาดวิตามินดีรุนแรงมากถึง 1 ใน 3 ในผู้ป่วยแพ้ยาแบบไม่เฉียบพลันชนิดรุนแรง การศึกษานี้พบว่าภาวะขาดวิตามินดีรุนแรงมีความสัมพันธ์กับการเกิดการแพ้ยาแบบไม่เฉียบพลัน ซึ่งอาจถือเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่ก่อให้การเกิดการแพ้ยาได้ ในอนาคตอาจมีการให้วิตามินดีเสริมเพื่อลดโอกาสการเกิดการแพ้ยา ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป | - |
dc.description.abstractalternative | Background The pathogenesis of non-immediate drug hypersensitivity is mostly from T cell-mediated immune response, especially type IV hypersensitivity reactions. Severe cutaneous adverse reactions (SCARs) are life-threatening reactions to drugs caused by T-cell mediated hypersensitivity. Except for genetics at risk in certain drugs, predisposing factors for SCAR development are largely unknown. Recent data demonstrated that vitamin D has numerous effects on the immune system. Our study aimed to explore the association between serum vitamin D level and non-immediate drug hypersensitivity including SCARs. Method This ambispective case-control study was conducted in King Chulalongkorn Memorial Hospital. Sixty patients who developed non-immediate drug hypersensitivity reactions (30 SCARs and 30 non-SCARs [maculopapular exanthems: MPE]) were enrolled. Sixty individuals who could tolerate similar drugs without any allergic reactions were matched as drug-tolerant controls. Serum total vitamin D (25-OH) levels during hospital admission were comparatively analyzed in all subjects and categorized as insufficient, deficient, and severe deficient status if the levels were lower than 30, 20, and 10 ng/ml, respectively. Results One hundred and twenty subjects were recruited into this study. The average serum vitamin D levels in SCARs, non-SCARs, and drug-tolerant controls were 13.56±6.23, 17.50±7.49, and 17.42±7.28 ng/ml, respectively. Serum vitamin D levels in SCARs were significantly lower than those in control groups (p value=0.012) and non-SCARs group (p-value=0.031). Serum vitamin D levels were lowest in Stevens-Johnson syndrome patients (12.28±6.64 ng/ml, N=9). Severe vitamin D deficiency (<10 ng/ml) was demonstrated in 36.67%, 16.67%, and 11.67% of SCARs, non-SCARs, and drug-tolerant groups, respectively (p value=0.04). According to the logistic regression analysis, severe vitamin D deficiency status significantly increased the risk of SCARs compared to drug- tolerant controls (odds ratio=3.77; 95% CI 1.01-14) after adjusted for age, gender, residence and underlying illnesses. Conclusion Serum vitamin D levels of the patients with SCARs were significantly lower than the drug-tolerant controls and the non-SCARs patients. Severe vitamin D deficiency was detected in over one-third of SCAR patients. Our study revealed severe vitamin D deficiency was a significant risk factor for SCAR development. Vitamin D's protective role in alleviating the risk of severe cutaneous drug allergic reactions warrants further investigation. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1138 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | การแพ้ยา | - |
dc.subject | วิตามินดีในร่างกาย | - |
dc.subject | Drug allergy | - |
dc.subject | Vitamin D in the body | - |
dc.title | ระดับวิตามินดีในผู้ป่วยที่แพ้ยาแบบไม่เฉียบพลันโดยเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม | - |
dc.title.alternative | Vitamin D levels in patients with non-immediate drug hypersensitivity, case-control study | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | อายุรศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2021.1138 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6370118830.pdf | 1.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.