Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79617
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาชัญญา รัตนอุบล-
dc.contributor.authorทวินันท์ ศรีสวัสดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-07-23T04:30:30Z-
dc.date.available2022-07-23T04:30:30Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79617-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อทักษะอาชีพของผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อทักษะอาชีพของผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามความต้องการทักษะอาชีพ แบบวัดความรู้ แบบสังเกตพฤติกรรม และการจัดสนทนากลุ่มจากผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ จังหวัดสิงห์บุรี โดยสรุปผลการวิจัยได้ ดังต่อไปนี้ 1. การพัฒนากิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนมีต่อทักษะอาชีพของผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุมีความต้องการทักษะอาชีพด้านคหกรรม และอาชีพศิลปหัตถกรรมงานฝีมือและสิ่งประดิษฐ์ และกิจกรรมการวางแผนเพื่อสร้างรายได้ โดยการวางแผนลักษณะของกิจกรรมร่วมกัน และสรุปได้ว่า ควรเป็นกิจกรรมที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องต่อความต้องการของผู้เรียน สามารถเข้าร่วมกลุ่มกับผู้อื่น และกิจกรรมก่อให้เกิดความรู้และทักษะที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติ จากข้อมูลความต้องการทักษะอาชีพและลักษณะกิจกรรม ผู้วิจัยได้นำมาพัฒนาเป็นกิจกรรมตามแนวคิดการจัดการเรียนการสอนของโนลล์ ซึ่งกิจกรรมทักษะอาชีพของผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ เกิดเป็นกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อทักษะอาชีพของผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ รวมทั้งสิ้น 6 กิจกรรม กระบวนการของกิจกรรม มีตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1.สร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ คือ จัดให้ผู้สูงอายุเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเพลงก่อนการเริ่มกิจกรรมและกิจกรรมละลายพฤติกรรม 2.การวางแผนการเรียนรู้ร่วมกัน ผู้วิจัยได้ให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการวางแผนกิจกรรมเพื่อเข้าใจเป้าหมายของกิจกรรมในทิศทางเดียวกัน 3.วิเคราะห์ความต้องการ เป็นข้อมูลที่ได้จากการสรุปประเด็นจากแบบสอบถามความต้องการทักษะอาชีพ 4.กำหนดวัตถุประสงค์ ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตุประสงค์ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน 5.การออกแบบกิจกรรม ได้แบ่งกิจกรรมการเรียนรู้ ออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) การเตรียมวัตถุดิบ/วัสดุ 2) การลงมือปฏิบัติกิจกรรม และ 3) การจัดตกแต่งให้สวยงาม 6.การดำเนินกิจกรรม จัดกิจกรรมตามแผนที่กำหนดไว้ โดยมีผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวก 7.การประเมินผลการเรียนรู้ เป็นการประเมินการเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างผู้สอน ผู้เรียนและผู้วิจัย 2. ผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อทักษะด้านอาชีพของผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ พบว่า กิจกรรมทักษะอาชีพทั้ง 6 กิจกรรม เป็นการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้และทักษะที่เพิ่มมากขึ้น โดยได้จากการลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง เมื่อเปรียบเทียบผลก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าหลังการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยค่าทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05  ภายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมทักษะอาชีพ 30 วัน ผู้วิจัยได้ติดตามผลการสะท้อนกลับของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุนำความรู้ไปพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกลุ่มผู้สูงอายุด้วยกัน ที่แสดงให้เห็นถึงความคงทนของความรู้ที่ได้รับ นอกจากความรู้ที่ได้รับเพื่อเป็นพื้นฐานของการพัฒนาตนเอง ผู้สูงอายุในกลุ่มทดลอง ได้นำทักษะอาชีพที่ได้จากกิจกรรมการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อประกอบเป็นอาชีพ ในการสร้างรายได้แก่ตนเอง มีการวางแผนเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับแหล่งจำหน่ายสินค้า และปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการวางแผนการตลาด จากนั้นจึงนำสินค้าไปจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ด้วยตนเอง และส่งผลพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้การเงินทุนหมุนเวียนในชุมชน ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้ดีมากยิ่งขึ้น-
dc.description.abstractalternativeThe research aimed to 1) develop non-formal education activities in vocational skills of senior citizens at an elderly school and 2) study the effects of non-formal education activities on vocational skills of senior citizens at the elderly school. The tools for data collection consisted of a questionnaire about the needs for professional skills, reports from knowledge assessment and behavioral observation, and focus group discussion with the senior citizens in the elderly school. The results are shown as follows. 1. The development of non-formal educational activities on vocational skills of senior citizens in the elderly school could be described that there was the need for  home economics, arts and craft  skills, as well as activities related to generating a financial-driven plan which emphasized  collaboration. Moreover, the activities were required to be flexible, appropriate, conformed to the needs of the elderly, encourage participation, and contribute to knowledge and skills from these activities. Hence, the six non-formal educational activities were developed based on Knowles’s approach of andragogy which is comprised of seven processes. The first step was to develop and support a good learning environment.  The second step was to conduct cooperative and collaborative learning plan based on a participatory action approach for the collective understanding of the activities. Next, the analysis of the needs as identified in the questionnaire was required. This resulted in the need for sharing and setting objectives for the activities or plan as the fourth step. The fifth step is about proposing the activities comprising of  material preparation, implementation or action. After that, the action or self-practice based on the plan  and teacher the becomes the facilitator. There should be learning evaluations done by the teacher, learners and the researcher.  2. The result of non-formal educational activities on vocational skills of the elderly in the elderly school showed that the six activities was appropriate to the elderly as it contributed knowledge and skills from self-practice.  A comparison between before and after a thirty-day participation through inferential statistics with the statistically significant difference at .05, it was found that the elderly were able to share some knowledge and ideas among the elderly group members. This reflected the availability of knowledge among the elderly as a basic requirement to improve their lives. The elderly in the experimental group was able to implement the vocational skills in their daily lives which increased their income. There were skills in packaging planning and design appropriate for the distribution, and other related factors that affect a marketing plan to increase their revenue and improve their quality of life. In addition, it also supported working capital in the community which developed the economy in the community.  -
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.559-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectผู้สูงอายุ -- การศึกษานอกระบบโรงเรียน-
dc.subjectผู้สูงอายุ -- การแนะแนวอาชีพ-
dc.subjectOlder people -- Non-formal education-
dc.subjectOlder people -- Vocational guidance-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อทักษะอาชีพของผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุ -
dc.title.alternativeEffects of organizing non - formal education activities on vocational skills of aging at an elderly school-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียน-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.559-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5683469327.pdf9.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.