Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79634
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการจัดการความหมายร่วมกันและแนวคิดการอ่านบทละครเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดสื่อสารภาษาญี่ปุ่นสำหรับผู้เรียนระดับต้น
Other Titles: Development of an instructional model based on coordinated management of meaning and reader' s theatre to enhance Japanese conversation ability for beginners
Authors: กวิตา ฟองสถาพร
Advisors: ฤดีรัตน์ ชุษณะโชติ
วรวุฒิ จิราสมบัติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: ภาษาญี่ปุ่น -- การศึกษาและการสอน
ภาษาญี่ปุ่น -- บทสนทนาและวลี
Japanese language -- Study and teaching
Japanese language -- Conversation and phrase books
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการจัดการความหมายร่วมกันและแนวคิดการอ่านบทละครเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดสื่อสารภาษาญี่ปุ่นสำหรับผู้เรียนระดับต้น การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้ในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น  4) นำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนฉบับสมบูรณ์ ตัวอย่างคือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 ศิลป์ภาษาญี่ปุ่น ณ โรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ จำนวน 11 คน เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ระยะเวลาในการดำเนินการทดลอง 4 วงจร ต่อเนื่อง 16 สัปดาห์ รวม 48 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถในการพูดภาษาญี่ปุ่นร่วมกับเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริคส์ที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบ Wilcoxon signed - rank test ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีหลักการสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1) การเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจะเกิดขึ้นดีผ่านการทำความเข้าใจบทละครที่เสมือนจริง ทำให้ผู้เรียนคุ้นเคยกับภาษาและเห็นความเชื่อมโยงระหว่างภาษา ลักษณะการใช้ภาษา และวัฒนธรรมอย่างเป็นรูปธรรม 2) การเรียนรู้ผ่านกระบวนการกลุ่ม จะช่วยส่งเสริมผู้เรียนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างการทำกิจกรรม จะทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 3) การเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกพูดผ่านการแสดงละคร จะส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ภาษาที่ถูกต้องตามหลักภาษาและเหมาะสมกับบริบทต่างๆ 4) การเรียนรู้จะเกิดได้ดี หากมีการสะท้อนคิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลย้อนกลับ ทำให้รู้จุดแข็งและจุดที่ต้องนำไปพัฒนาต่อไป โดยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) รู้ภาษาอย่างเข้าใจ 2) นำภาษาไปฝึกฝน 3) แสดงละครกระตือรือร้น 4) สะท้อนคิดสู่การพัฒนา 2. ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า คะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการพูดสื่อสารภาษาญี่ปุ่นในภาพรวมและจำแนกตามองค์ประกอบหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสามารถในการพูดสื่อสารภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น
Other Abstract: This study was a research and development research. The study aimed to develop and study the effectiveness of an instructional model based on Coordinated Management of Meaning (CMM) and Reader’s Theatre (RT) to enhance the Japanese conversation ability of beginners. The research procedures were divided into 4 phases: 1) Study the primary data for developing the instructional model; 2) Develop the instructional model; 3)   Study the effectiveness of the developed instructional model; 4) Propose the completed instructional model. The sample for this study was 11 students in grade 11th majoring in Japanese from a secondary school in Bangkok selected by purposive sampling. The duration for implementation of the instructional model was 16 weeks, 48 periods. The research instrument was a Japanese conversation ability test with rubric scores. Data were analyzed using descriptive statistics and the Wilcoxon signed-rank test. The findings of this study revealed that: 1. The four principles of the instruction model are as follows: 1) To learn language and culture effectively, students have to understand the meaning and the connection between an authentic word language style and culture through a playwright's script; 2) Peer learning by exchanging comments and ideas helps students learn more effectively; 3) Practicing language through theatre enhance students to speak correctly and properly in various situations; 4) Reflecting on what students learned and exchanging feedback with classmates promote improvement effectively. The instruction model consisted of 4 steps, namely 1) Analyze words and stories; 2) Learn and practice words from a playwright's script; 3) a reader's theatre presentation 4) Self-reflection. 2. The effectiveness of the instruction model after implementation was found that the average student's Japanese conversation ability score on the post-test was significantly higher than on the pre-test at .05 level. In addition, students' Japanese conversation ability had a positive change.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79634
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1111
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.1111
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6084203627.pdf8.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.