Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79654
Title: | การประเมินตนเองโดยใช้รูบริกที่มีวิธีการต่างกันที่มีต่อพัฒนาการทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์: วิธีแอนโนเทตประยุกต์และดับเบิ้ลเลเยอร์ |
Other Titles: | Self-assessment with different rubric methods on mathematical problem-solving skill development: applied annotated and double layer methods |
Authors: | พงศ์พล จินตนประเสริฐ |
Advisors: | กมลวรรณ ตังธนกานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | การแก้ปัญหา คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) Mathematics -- Study and teaching (Secondary) Problem solving |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการประเมินทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของตนเอง กับระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์ ที่มีต่อพัฒนาการทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียน และ 2) เปรียบเทียบพัฒนาการทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ในแต่ละระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์ ที่ประเมินทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของตนเอง โดยใช้วิธีการประเมินตนเองที่แตกต่างกัน ตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 100 คน เครื่องมือวิจัย คือ 1) แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ และ 2) แบบสอบคู่ขนานทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการประเมินทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของตนเองกับระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์ที่มีต่อพัฒนาการทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่มีระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์สูงที่ได้รับการประเมินตนเองด้วยวิธีการที่แตกต่างกันมีพัฒนาการทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนนักเรียนที่มีระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์ปานกลางที่ได้รับการประเมินทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของตนเองด้วยวิธีการรูบริกแอนโนเทตประยุกต์และวิธีการรูบริกดับเบิ้ลเลเยอร์มีพัฒนาการทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สูงกว่าวิธีการไม่ใช้เครื่องมืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และในส่วนของนักเรียนที่มีระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์ต่ำที่ได้รับการประเมินทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของตนเองด้วยวิธีการรูบริกดับเบิ้ลเลเยอร์มีพัฒนาการทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สูงกว่าวิธีการไม่ใช้เครื่องมือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The aims of this experimental research study were 1) to study the interactions between self-assessment methods of mathematics problem-solving skill and mathematics ability level on the development of mathematics problem-solving skill of students and 2) to compare the development of Mathematics problem-solving skill at each Mathematics ability level of students who received 3 different rubric methods, Research samples consisted of 100 ninth grade students. Research instruments were 1) mathematics problem-solving skill excercises and 2) mathematics problem-solving skill parallel tests. Quantitative data were analyzed by using descriptive statistics, relative gain scores, repeated measured ANOVA, one-way ANOVA and two-way ANOVA, The qualitative data were analyzed by using analytic induction. Results can be summarized as follows 1. There was interaction between self-assessment method of mathematics problem-solving skill and Mathematics ability levels on the development of Mathematics problem-solving skill of students at the statistically significant level of .05. 2. Students in the high ability level who received self-assessment with different rubric method did not differ on the development of mathematics problem-solving skill at the statistically significant level of .05. Students in the medium ability level who received self-assessment applied annotated rubric and double layer rubric were higher in the development of mathematics problem-solving skill than those who received no tool at the statistically significant level of .05. In addition students in the low ability level who received self-assessment with double layer rubric were higher in development of mathematics problem-solving skill than those who receives no tool at the statistically significant level of .05. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79654 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.532 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2021.532 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6183854027.pdf | 1.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.