Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80420
Title: | การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่หญ้าทะเลทีเกาะลิบง จังหวัดตรัง โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม |
Other Titles: | Study of Seagrass Area Changes along the Coast of Libong Island, Trang Province using Satellite Imagery |
Authors: | ปานรวี หัสต์กมลตระกูล |
Advisors: | ปานรวี หัสต์กมลตระกูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | การวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกล หญ้าทะเล -- การวัดด้วยภาพถ่าย หญ้าทะเล -- ไทย -- เกาะลิบง (ตรัง) Remote sensing Seagrasses -- Thailand -- Libong Island (Trang) Seagrasses -- Photographic measurements |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | แหล่งหญ้าทะเลมีความสำคัญในระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง เนื่องจากเป็นแหล่งอนุบาล แหล่ง อาหาร แหล่งหลบภัยของสัตว์มีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลัง เป็นแหล่งผลิตก๊าซออกซิเจนที่สำคัญ นอกจากนี้หญ้าทะเลยังช่วยลดการกัดเซาะชายฝั่งได้ดี โดยหญ้าทะเลจะช่วยยึดเกาะตะกอนให้ไม่ถูกพัดไปกับ คลื่น และที่เกาะลิบง จังหวัดตรัง มีแหล่งหญ้าทะเลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มศึกษาการเปลี่ยนแปลง ของพื้นที่หญ้าทะเลที่เกาะลิบงจากการสำรวจตำแหน่งของหญ้าทะเลที่แน่นอน แล้วนำภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-2 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2558-2564 อย่างน้อยปีละ 1 ภาพ โดยเลือกภาพที่มีสภาพสิ่งแวดล้อมใกล้เคียงกัน เช่น ปริมาณเมฆ ระดับนํ้าทะเล และคลื่นลม และจัดการภาพถ่ายดาวเทียมด้วยโปรแกรม SNAP โดยการตัด ภาพให้เหลือเพียงบริเวณที่สนใจ คือ บริเวณเกาะลิบง และสร้าง Mask จากนั้นวิเคราะห์หาพื้นที่หญ้าทะเลโดย วิธีการจำแนกแบบกำกับดูแลทำการจำแนกพื้นที่ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ พื้นที่หญ้าทะเล พื้นที่ที่ไม่ใช่หญ้าทะเล พื้นที่หาดทราย และพื้นที่นํ้าลึก จากนั้นคำนวณหาพื้นที่รวมของแหล่งหญ้าทะเล โดยในปี พ.ศ.2558 และ2564 ไม่มีภาพที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ ผลการศึกษาพบว่า พ.ศ.2559 2560 2561 2562 และ2563 มีพื้นที่หญ้า ทะเล 2.537 3.518 3.844 4.202 และ 1.858 ตารางกิโลเมตรตามลำดับ ดังนั้นพื้นที่หญ้าทะเลจึงมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น แต่ในปี พ.ศ.2563 มีพื้นที่หญ้าทะเลลดลงเนื่องจากคาดว่าสาเหตุคือการทิ้งตะกอนใกล้กับแหล่งหญ้า ทะเล การตรวจสอบความถูกต้อง พบว่าในปี พ.ศ.2559 2560 2561 2562 และ2563 มีความถูกต้องในการจำแนกหญ้าทะเล 36.67% 50% 43.33% 66.67% และ 80% ตามลำดับ เนื่องจากในขั้นตอนการจำแนกแบบ กำกับดูแลของพื้นที่หญ้าทะเลและพื้นที่ที่ไม่ใช่หญ้าทะเลมีลักษณะบ่งชี้เชิงสเปกตรัมที่ใกล้เคียงกันมาก และใช้ พื้นที่หญ้าทะเลปี พ.ศ.2563 เป็นปีอ้างอิงในการตรวจความถูกต้อง |
Other Abstract: | Seagrass area is important to marine and coastal ecosystems. Seagrass provides food, habitat, and nursery areas for many vertebrate and invertebrate species and seagrass is an important source of oxygen production. In addition, seagrass reduces the force of the waves and providing protection against coastal erosion. Libong island, Trang province, has the largest seagrass area in Thailand. The study of seagrass area changes along the coast of Libong island started with field survey on exact location of seagrass. Next, satellite images in 2015-2021 from Sentinel-2 satellite were acquired with at least one image per year by selecting image with similar environmental condition such as cloud cover, sea level and wave current. Satellite images were preprocessed in SNAP program by subsetting satellite image and creating land/sea mask. Then, satellite images were classified by supervised classification method into four types: seagrass area, non-seagrass area, sandy area and deep-sea area. Finally, total seagrass areas were calculated from the classified data. Note that in 2015 and 2021, there were no images suitable for classification. The results showed that the seagrass area in 2016, 2017, 2018, 2019, 2020 was 2.537 3.518 3.844 4.202 and 1.858 square kilometers, respectively. Therefore, trend of seagrass area was increasing. But seagrass area decreased in 2020 likely because of the disposal of sediment near seagrass site. The accuracy of seagrass classification in 2016, 2017, 2018, 2019, 2020 was 36.67% 50% 43.33% 66.67% and 80%, respectively. The lower accuracies in the earlier years are due to the similarity of spectral signature between seagrass area and non-seagrass area and the use of seagrass area in 2020 as a reference. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80420 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63-SP-MARINE-013 - Panrawee Haskamontrakul.pdf | 23.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.