Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80422
Title: ผลของไมโครพลาสติก Polystyrene ต่ออัตราการตายครึ่งหนึ่งของประชากร และการสะสมในกุ้งก้ามกรามวัยรุ่น (Macrobrachium rosenbergii)
Other Titles: Effects of Polystyrene Microplastics on the LC₅₀ and Bioaccumulation in the Juvenile Giant Freshwater Prawn (Macrobrachium rosenbergii)
Authors: จินดาพร เพชรวิสัย
Advisors: ศุภณัฐ ไพโรหกุล
ไทยถาวร เลิศวิทยาประสิทธิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ไมโครพลาสติก
กุ้งก้ามกราม
Microplastics
Macrobrachium rosenbergii
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ไมโครพลาสติก (พลาสติกขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร) สามารถพบได้ทั้งในน้ำทะเลและสะสมใน สิ่งมีชีวิตหลายชนิด เช่น แพลงก์ตอนสัตว์ หอยฝาเดียว เมื่อไมโครพลาสติกผ่านเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารของ สัตว์ทะเล อาจมีการอุดตันบริเวณใดบริเวณหนึ่งของระบบทางเดินอาหาร ทำให้สิ่งมีชีวิตไม่สามารถขับออก นอกร่างกายได้ อาจเป็นสาเหตุให้สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตาย การศึกษาครั้งนี้จึงได้ศึกษาการสะสมและผลกระทบของ ไมโครพลาสติกชนิด Polystyrene (PS) ในกุ้งก้ามกรามวัยรุ่น (Macrobrachium rosenbergii) โดยให้กุ้งกิน อาหารที่ผสม PS ที่เก็บจากธรรมชาติทั้งหมด 3 ขนาด ได้แก่ <30 μm 30-300 μm และ 300-1,000 μm และทำการผสมไมโครพลาสติกแต่ละขนาดในอาหารกุ้งให้มีความหนาแน่นต่างกัน ดังนี้ 500 1,500 และ 3,000 ชิ้นไมโครพลาสติกต่ออาหารกุ้ง 1 กรัม โดยกุ้งก้ามกรามในชุดควบคุมจะให้อาหารปกติที่ไม่มีการผสม ไมโครพลาสติก ทำการเฝ้าดูพฤติกรรมและเก็บข้อมูลการตายที่เวลา 12 24 48 72 และ 96 ชั่วโมง เพื่อ วิเคราะห์หาอัตราการตายครึ่งหนึ่งของประชากร (LC₅₀) โดยการวิเคราะห์โพรบิท และทำการวิเคราะห์ปริมาณ ไมโครพลาสติกที่สะสมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ผลการทดลองพบว่า อาหารที่ผสมไมโครพลาสติกประเภท PS ทำให้กุ้งตายภายใน 96 ชั่วโมง โดย LC₅₀ ของขนาด <30 μm, 30-300 μm และ 300-1,000 μm มีค่า 37, 29 และ 40 ชิ้นต่อตัวกุ้งทดลองตามลำดับ และไม่พบไมโครพลาสติกสะสมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ของกุ้งชุดควบคุม การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าไมโครพลาสติกที่สะสมในสิ่งมีชีวิตสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่ สำคัญในการสร้างเกณฑ์มาตราฐานการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในทะเล
Other Abstract: Microplastics, which have smaller that 5 mm in diameter, can be found in both seawater. These microplastics can be accumulated in marine organisms e.g. zooplankton and filter-feeding molluscs. These plastics may obstruct some part of the digestive tract in some marine animals. Therefore, this blockage could prevent egestion and resulted in mortality. This study was, therefore, aimed to determine the accumulation of microplastics and the lethal concentration 50 (LC₅₀) of the microplastics on the juvenile giant freshwater prawn Macrobrachium rosenbergii. The animals were fed with the mixture of polystyrene (PS) retrieved from natural environment with different size ranging from <30 μm 30-300 μm and 300-1,000 μm. Also the different density as of 500, 1500, and 3000 particles per 1 g of prawn food were also studied. All group behaviors and mortality rates were observed for every 12, 24, 48, 72 and 96 hours to determine LC₅₀. Probit analysis was adopted for LC₅₀ determination. The results showed that the food mixture with PS can resulted in the mortality within 96 hours after the exposure. LC₅₀, regarding to the particle size of <30 μm, 30-300 μm and 300-1,000 μm, were 37, 29, and 40 pieces per prawn respectively. For the control group, there was no microplastics accumulation in the digestive system. This study suggests that microplastics accumulation in marine organisms can be considered as an essential foundation to determine microplastics contamination in marine environments.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80422
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-MARINE-001 - Jindaporn Petwisai.pdf24.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.