Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80446
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอัญญรัตน์ ต้นธีรวงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-09-02T11:28:02Z-
dc.date.available2022-09-02T11:28:02Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80446-
dc.description.abstractโรคไข่ลดในเป็ด (duck egg drop syndrome) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสอุบัติใหม่ที่พบในเป็ด โดยเป็ดที่ติดเชื้อจะแสดงอาการไข่ลดอย่างรุนแรง และแสดงอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย จัดเป็นโรคที่ทำให้เกิดความเสียหายในอุตสาหกรรมการเลี้ยงเป็ดเป็นอย่างมากในช่วงเวลาที่ผ่านมา โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อ Tembusu related flavivirus หรือ duck Tembusu virus (DTMUV) จัดอยู่ในสกุล Flavivirus วงศ์ Flaviviridae ในประเทศไทยพบการระบาดของโรคนี้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2555 อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาลักษณะทางพันธุกรรม และความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อไวรัสอุบัติใหม่ Tembusu related flavivirus ที่ระบาดในเป็ดในประเทศไทย ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อไวรัสอุบัติใหม่ Tembusu related flavivirus ในเป็ดในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการเก็บตัวอย่างจากเป็ดที่แสดงอาการป่วยหรือมีรอยโรคคล้ายคลึงกับการติดเชื้อ Tembusu related flavivirus จำนวนทั้งหมด 86 ตัวอย่าง จากฟาร์มที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดที่มีรายงานการระบาดของโรค Tembusu related flavivirus หรืออยู่ในเขตที่มีการเลี้ยงเป็ดหนาแน่นจำนวน 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดในภาคกลาง (นครปฐม เพชรบูรณ์ สระบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง) ภาคตะวันออก (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และปราจีนบุรี) ภาคตะวันตก (กาญจนบุรี) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (นครราชสีมา) ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2560 แล้วนำมาศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของเชื้อที่ระบาดในไทย เปรียบเทียบกับเชื้อที่ระบาดในประเทศอื่นๆ ผลการวิจัยพบว่า สามารถตรวจพบตัวอย่างที่ให้ผลบวกต่อเชื้อ Tembusu related flavivirus จำนวน 30 ตัวอย่าง คิดเป็น 34.88% โดยพบตัวอย่างที่ให้ผลบวกในจังหวัดชลบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา นครปฐม สิงห์บุรี และนครราชสีมา นอกจากนี้ยังพบตัวอย่างที่ให้ผลบวกในจังหวัดที่ไม่เคยมีรายงานการระบาดของเชื้อ Tembusu related flavivirus มาก่อน ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา นครปฐม และสิงห์บุรี แสดงให้เห็นว่าเชื้อไวรัสนี้มีการแพร่ระบาดไปในฝูงเป็ดในประเทศไทยเป็นวงกว้างมากขึ้น และกำลังจะกลายเป็นเชื้อประจำถิ่นที่ก่อปัญหาให้กับอุตสาหกรรมการเลี้ยงเป็ดในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องในอนาคต นอกจากนี้จากผลการศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของเชื้อ Tembusu related flavivirus ที่ระบาดในประเทศไทย พบว่าเชื้อไวรัสที่แยกได้จากการศึกษานี้จัดอยู่ใน subcluster 2.1 ซึ่งเป็น subcluster เดียวกับเชื้อไวรัสที่ระบาดในประเทศไทยในปีพ.ศ. 2556 และในประเทศจีน แต่เป็นคนละ cluster กับเชื้อไวรัสที่ระบาดในประเทศไทยในปีพ.ศ. 2550 ซึ่งจัดอยู่ใน cluster 1 นอกจากนี้ยังพบว่าลักษณะทางพันธุกรรมของเชื้อ Tembusu related flavivirus ที่แยกได้จากการศึกษานี้มีความคล้ายกันเองมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อที่มีการระบาดในปีพ.ศ. 2556 โดยสรุปจากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าเชื้อ Tembusu related flavivirus ที่ระบาดในประเทศไทยมีความหลากหลาย รวมถึงมีการปรับตัว และวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการอุบัติของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่อาจมีความรุนแรงในการก่อโรคมากขึ้น อาจก่อให้เกิดการระบาดของไวรัสนี้อย่างต่อเนื่องในอนาคต ดังนั้นจึงควรมีการเฝ้าระวังและทำสำรวจการติดเชื้อTembusu related flavivirus ในเป็ด รวมถึงในสัตว์ปีกอื่นๆอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการลดโอกาสการเกิดไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่มีความรุนแรง และใช้เป็นข้อมูลประกอบในการวางแผนควบคุมและป้องกันโรคต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeDuck egg drop syndrome is a newly emerging viral disease in ducks. This newly emerging disease is characterized by a significant drop in egg production and severe neurological dysfunctions, resulting in massive economic losses in duck producing industries. The causative agent of this disease was identified as Tembusu related flavivirus or the novel duck Tembusu virus (DTMUV), a member of the genus Flavivirus of the family Flaviviridae. In Thailand, the outbreaks of DTMUV were first reported in the boiler and layer duck farms in 2013. However, the genetic characterization and diversity of DTMUV currently circulating in ducks in Thailand have never been reported. This study aims to investigate the genetic characterization and diversity of DTMUV circulating in ducks in Thailand. A total of 86 pooled organ samples from DTMUV suspected cases were obtained from duck farms during October 2016-September 2017. The duck farms were located in the areas of DTMUV reported outbreak or in the major free-grazing ducks raising areas of Thailand, including central (Angthong, Nakhon Pathom, Phetchabun, Saraburi, Singburi and Suphan Buri), eastern (Chachoengsao, Chonburi and Prachinburi), western (Kanchanaburi) and northeastern (Nakhon Ratchasima) provinces of Thailand. The genetic characteristic of the 2016-2017 Thai DTMUVs isolated in this study were analyzed by comparing with the 2013 Thai DTMUVs, the Chinese DTMUVs and the Malaysian DTMUVs. A total of 30 (34.88%) out of 86 samples tested positive for DTMUV. DTMUV-positive samples were collected from duck farms located in Chonburi, Chachoengsao, Nakhon Ratchasima, Nakhon Pathom, Prachinburi and Singburi provinces. Interestingly, DTMUV-positive cases were first identified in 3 provinces, where the DTMUV outbreaks have never been reported, including Chachoengsao, Nakhon Pathom and Singburi. This finding indicates the widespread distribution and endemicity of DTMUV in ducks in Thailand. Our genetic analysis demonstrated that the 2016-2017 Thai DTMUVs were grouped within cluster 2.1 together with the 2013 Thai DTMUVs and the Chinese DTMUVs. However, the 2016-2017 Thai DTMUVs were distinct from the 2007 Thai DTMUV, which belonged to cluster 1. In addition, our result also showed that the 2016-2017 Thai DTMUVs were more closely related to each other than the 2013 Thai DTMUVs. These findings indicated that Thai DTMUVs had high genetic diversity and have been continuously evolving since it was first identified. This potentially leads to the emergence of the highly virulent DTMUV variants. Our study emphasized the need for the continuous DTMUV surveillance in both ducks and other avian species to monitor the emergence of the novel DTMUV variants that may cause new epidemics in ducks. The information obtained from this study can also be used for the prevention and control strategies of DTMUV in Thailand.en_US
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากเงินอุดหนุนทั่วไปจากรัฐบาล ประจำปีงบประมาณ 2560en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสัตว์ปีก -- โรคเกิดจากไวรัส -- ไทยen_US
dc.subjectเป็ด -- โรค -- ไทยen_US
dc.subjectเป็ด -- ไวรัส -- ไทยen_US
dc.subjectฟลาวีไวรัส -- ไทยen_US
dc.titleการศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมและความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อไวรัสอุบัติใหม่ Tembusu related flavivirus ในเป็ดในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeGenetic characterization and genetic diversity of newly emerging Tembusu related flavivirus in ducks in Thailanden_US
dc.typeTechnical Reporten_US
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vet_Aunyaratana Thontiravong_2560.pdf32.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.