Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80652
Title: การลดเวลาการให้บริการกรณีศึกษาร้านอาหารญี่ปุ่น XXX
Other Titles: Service time reduction for XXX Japanese restaurant
Authors: ณัฐชัย ศิริแสงชัยกุล
Advisors: สิริอร เศรษฐมานิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การกำหนดงานการผลิต
การบริหารเวลา
Production scheduling
Time management
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ร้านอาหารญี่ปุ่นแห่งหนึ่งได้ดำเนินธุรกิจเป็นเวลากว่า 5 ปี มีรูปแบบการขายอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ ทางร้านพบว่ายังมีลูกค้าบางส่วนที่ไม่ประทับใจในการให้บริการของทางร้านเนื่องจากลูกค้าได้รับอาหารนาน ที่ทางร้านจะได้รับเป็นข้อเสนอตามเว็บไซต์ และแอพพลิเคชั่นในการสังคมออนไลน์ จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าสาเหตุหลักที่ทำให้กระบวนการออกอาหารช้า คือ การทำอาหารใช้เวลานาน และตารางพนักงานที่ไม่เหมาะสม ผู้ศึกษาจึงเสนอวิธีแก้ปัญหาดัง 2 วิธี คือ 1. ลดความจุต่อจานของอาหารประเภทซูชิและซาชิมิ และ 2.จัดตารางพนักงานใหม่ โดยคาดหวังในสามารถลดเวลาในการให้บริการเฉลี่ยได้ 1 นาที และรักษาระดับอรรถประโยชน์ของพนักงานไว้ที่ไม่เกิน 70 % ในช่วงเวลา 11:00-16:00 น. ของวันเสาร์และอาทิตย์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ลูกค้ามากที่สุดของทางร้าน ผู้ศึกษาได้ใช้แบบจำลองสถานการณ์ผ่านโปรแกรม Arena โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2563 ถึง พ.ศ. 2564 พบว่า วิธีที่ 2 หรือวิธีการจัดตารางพนักงานใหม่โดยพิจารณาข้อมูลจำนวนลูกค้าเข้าในแต่ละช่วงเวลาที่เกิดขึ้นในอดีต และจัดตารางพนักงานให้สอดคล้องลูกค้าที่เข้ามาเป็นวิธีที่ได้ผลในการลดเวลาในการให้บริการเฉลี่ยโดยสามารถลดได้ถึง 3.15 นาที ดีกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ในขณะที่การลดความจุต่อจานของอาหารประเภทซูชิและซาชิมิสามารถลดได้เวลาในการให้บริการเฉลี่ยได้ 0.935 นาทีซึ่งไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ อย่างไรก็ดีทั้ง 2 วิธีสามารถรักษาระดับอรรถประโยชน์พนักงานไว้ที่ 70%
Other Abstract: Over 5 years operating Japanese restaurant has been received complaints from social online platform about long unsatisfied service time. From preliminary study, the causes of long service time are too long cooking time and inefficient employee scheduling. In this study, two proposed solutions for solving the problems are reducing dishes capacity and employee rescheduling. This study expects to reduce the average service time by 1 minute and to maintain the employee utilization below 70% during peak times, between 11 a.m. – 4 p.m. of Saturday and Sunday. By using simulation model through Arena program with primary and secondary input data between 2020-2021, the result shows that the second solution is an effective way to hit the 1-minute target of average service time reduction. Employee rescheduling by balancing the employee through the customer arrival can reduce the average service time by 3.15 minutes while reducing dished capacity solution can reduce only 0.935 minute. However, both solutions can maintain the employee utilization at below 70%.
Description: สารนิพนธ์ (วท.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80652
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.229
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2020.229
Type: Independent Study
Appears in Collections:Grad - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280015720_Natachai.pdf4.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.