Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80689
Title: นโยบายสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจจำหน่ายเครื่องมือโครงสร้างพื้นฐาน
Other Titles: Inventory policy for infrastructure tools business
Authors: เสาวลักษณ์ ปศุพันธาภิบาล
Advisors: สิริอร เศรษฐมานิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การควบคุมสินค้าคงคลัง
Inventory control
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดนโยบายสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจเครื่องมือโครงสร้างพื้นฐานเพื่อปรับปรุงระดับการให้บริการลูกค้าและลดต้นทุนสินค้าคงคลังรวม โดยจำแนกประเภทสินค้าแบบ ABC จากข้อมูลความต้องการสินค้าในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เพื่อคัดเลือกสินค้าตัวอย่างจากกลุ่ม A ที่ตรงตามเงื่อนไขของงานวิจัยซึ่งมีทั้งหมด 5 รายการ จากนั้นศึกษาข้อมูลในอดีตของสินค้าตัวอย่างทั้ง 5 รายการเพื่อนำมาพยากรณ์ความต้องการสินค้าล่วงหน้าเป็นเวลา 3 เดือนและสามารถแบ่งกลุ่มสินค้าได้เป็นสองกลุ่มได้แก่ กลุ่มที่ 1 มีข้อมูลความต้องการสินค้าในอดีต 12 เดือนซึ่งไม่สามารถตรวจสอบแนวโน้มหรือฤดูกาลได้ ดังนั้นจึงเปรียบเทียบวิธีหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สามเดือนและการปรับเรียบอย่างง่าย และกลุ่มที่ 2 มีข้อมูลความต้องการสินค้าในอดีต 24 เดือนซึ่งลักษณะข้อมูลเป็นฤดูกาล ดังนั้นจึงเปรียบเทียบวิธีการปรับเรียบแบบมีฤดูกาลอย่างง่ายและการปรับเรียบซ้ำสามครั้งของวินเตอร์ และเลือกวิธีพยากรณ์ที่ดีที่สุดจากค่าร้อยละผิดพลาดสัมบูรณ์เฉลี่ยที่ต่ำที่สุด และนำค่าพยากรณ์ที่ได้มากำหนดนโยบายสินค้าคงคลัง ทั้งนี้บริษัทกรณีศึกษามีระบบการวางแผนทรัพยากรในการควบคุมสินค้าคงคลังอยู่แล้ว ในงานวิจัยนี้จึงนำเสนอระบบการควบคุมสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งคำนวณปริมาณการสั่งซื้อแบบประหยัด สินค้าคงคลังสำรอง และจุดสั่งซื้อสินค้าคงคลัง ผลการวัดประสิทธิภาพของนโยบายที่นำเสนอสำหรับสินค้าทั้ง 5 รายการพบว่า ต้นทุนสินค้าคงคลังรวมของนโยบายที่นำเสนอลดลงจากนโยบายปัจจุบันเท่ากับUSD 9,507.35 หรือคิดเป็นร้อยละ 29 จาก USD 32,947.77 ลดลงเหลือ USD 23,440.43 ส่วนระดับการให้บริการลูกค้าของนโยบายที่นำเสนอเพิ่มขึ้นจากนโยบายปัจจุบันเฉลี่ยร้อยละ 52 จากร้อยละ 59 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 90 ตามเป้าหมายของบริษัทกรณีศึกษา
Other Abstract: This study aims to propose an inventory policy for an infrastructure tools business in order to improve customer service level and reduce total inventory costs. ABC classification is used to select sample items for the fiscal year 2020 demand data focusing on group A which five items meet the study’s conditions. The historical demand data of the five items are studied for the next three months of demand forecasting. The historical demand data are classified into two groups: group 1 with 12 months demand data which is unable to capture trend and seasonality, hence three-month moving average method and simple exponential smoothing method are compared and group 2 with 24 months demand data which has seasonality, hence simple seasonal exponential smoothing method and triple exponential smoothing method are compared. The best-fit forecasting methods are selected with the lowest MAPE to determine the inventory policy. Thanks to the available Enterprise Resource Planning (ERP) system for inventory management, the continuous review system is proposed to this study with Economic Order Quantity (EOQ), safety stock, and reorder point calculation. The result of the proposed policy for the five items showed that the total inventory costs were reduced by USD 9,507.35 or 29 percent from USD 32,947.77 to USD 23,440.43 and the average customer service level was increased by 52 percent from 59 percent to 90 percent, meeting the company case study objective.
Description: สารนิพนธ์ (วท.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80689
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.244
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2020.244
Type: Independent Study
Appears in Collections:Grad - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280070120_Saowalak.pdf3.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.