Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80776
Title: Consumer preferences and policy assessment on electric vehicle adoption in Thailand
Other Titles: การศึกษาความคิดเห็นผู้บริโภคและการประเมินนโยบายต่อการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
Authors: Phasiri Manutworakit
Advisors: Kasem Choocharukul
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Issue Date: 2021
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Thailand faces a problem about energy consumption and air pollution because of increasing the number of consumption cars. The replacement of combustion cars with battery electric cars can help support sustainable transport and renewable energy on the green transportation in Thailand, but diffusion rates of battery electric cars are still low. Thailand requires efficient policies to increasing electric vehicles adoption. The objectives of the study are to study the current situation of EVs in Thailand, to identify factors affecting purchasing intention of BEVs in Thailand and to propose policy recommendations to stimulate BEV adoption in Thailand. This research was designed to use quantitative and qualitative approaches. The quantitative research deals with data from the demand side: car owner who are interested in adopting BEVs in Thailand. The proposed model expands the Unified Theory of Acceptance and Use of Technology (UTAUT) as the theoretical framework. Data were collected through an online questionnaire survey completed by 403 participants: 395 internal combustion cars group and 8 electric cars group in Bangkok and the vicinity and analyzed using partial least squares structural equation modeling (PLS-SEM). The sample size of electric cars group was too small, so the value of measurement model evaluation did not meet the criteria. The research was analyzed only combustion cars group. The result showed that purchase intention is significantly and positively influenced by performance expectancy, effort expectancy, social influence, hedonic motivation, and environmental concern. In contrast, purchase intention is not significantly influenced by price value. Use behavior is positively influenced by purchase intention. Facilitating conditions and policy measures do not significantly influence purchase intention and use behavior. Environmental concern does not significantly influence use behavior. Moreover, the socio-demographic variables as age, occupation, education, income, and accommodation province were found to have significant effects on purchase behavior. The qualitative research allowed a detailed exploration of the topic of interest in which information was collected through in-depth interviews from the supply side: governments, company, and independent organizations. The respondents have responsibility and role dealing EV policy measure in Thailand. This study suggests that the government choose the first priority in monetary policy measures especially exemption of car tax and electric car manufacturers should focus on improving cars and infrastructure to increase battery electric car adoption. Moreover, increase the tax on car emissions and electric car privileges should be considered as policy measures to support BEV adoption in Thailand. Example of electric car privileges are zero charging fees, reduced or zero toll fees, reduced or zero parking fees and fast lanes. However, non-monetary policy measures such as increasing the number of charging stations and raising awareness and understanding about BEVs, should complement monetary policy measures. The results of this research could be helpful in implementing a plan and improving policy to motivate the public to use BEVs in Thailand, leading to more efficient policy. Policymakers could also use the results to directly response to the needs of demand and supply.  
Other Abstract: ประเทศไทยเผชิญกับปัญหาการใช้พลังงานและมลพิษทางอากาศเพราะการเพิ่มขึ้นของรถยนต์เผาไหม้ ซึ่งการแทนที่รถยนต์เผาไหม้เป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ช่วยสนับสนุนการขนส่งยั่งยืนและการใช้พลังงานทางเลือกโดยเป็นส่วนหนึ่งของระบบการขนส่งสีเขียวของประเทศไทย แต่อัตราการใช้รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ยังค่อนข้างต่ำ ประเทศไทยจึงต้องการนโยบายที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มการใช้รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ในประเทศ วัตถุประสงค์ในการวิจัยนี้คือ ศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย บ่งชี้ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความตั้งใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ของประเทศไทย รวมทั้งเสนอแนะนโยบายเพื่อกระตุ้นการใช้รถยนต์ไฟฟ้า วิธีดำเนินงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณใช้กับกลุ่มด้านอุปสงค์ ได้แก่ กลุ่มที่เป็นเจ้าของรถยนต์ที่มีความสนใจที่จะใช้รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ในประเทศไทย  แบบจำลองที่เสนอจะประยุกต์มาจากกรอบแนวคิดทฤษฎีรวมการยอมรับและการใช้เทคโนโลยีเป็นหลัก (Unified Theory of Acceptance and Use of Technology: UTAUT)  ข้อมูลถูกเก็บผ่านแบบสำรวจทางออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่าง 403 ตัวอย่าง แบ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์สันดาปภายใน 395 ตัวอย่าง และกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า 8 ตัวอย่าง ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล  ซึ่งประมวลผลข้อมูลใช้การวิเคราะห์ทางสถิติด้วยวิธีแบบ PLS-SEM โดยกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้ามีปริมาณค่อนข้างน้อย ทำให้การวิเคราะห์ทางสถิติไม่ผ่านเกณฑ์ จึงเหลือเพียงกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์สันดาปภายใน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยค้านความคาดหวังในประสิทธิภาพ ความคาดหวังในความพยายาม อิทธิพลทางสังคม แรงจูงใจทางอารมณ์ และความวิตกกังวลด้านสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจที่จะใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ ในทางตรงกันข้าม ปัจจัยด้านราคา เป็นปัจจัยที่ไม่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจที่จะใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ ความตั้งใจที่จะใช้ยังมีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการใช้งานจริง ขณะที่ปัจจัยสภาพการอำนวยความสะดวก และปัจจัยด้านมาตรการนโยบายไม่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจที่จะใช้งานและพฤติกรรมการใช้งานจริง รวมถึงปัจจัยความวิตกกังวลด้านสิ่งแวดล้อมไม่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการใช้งานจริง นอกจากนี้ ตัวแปรข้อมูลประชากร ได้แก่ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ และจังหวัดที่อยู่อาศัย เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมที่จะใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ สำหรับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มอุปทาน แบ่งเป็นสามกลุ่มได้แก่ ภาครัฐบาล ภาคเอกชน และองค์กรอิสระ โดยกลุ่มตัวอย่างต้องมีส่วนความรับผิดชอบหรือเกี่ยวข้องกับมาตรการนโยบายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ผลวิจัยชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลต้องให้ความสำคัญอันดับแรกกับมาตรการนโยบายด้านการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกเว้นภาษีรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ ส่วนผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาประสิทธิภาพของรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่และสิ่งอำนวยความสะดวกให้สอดรับกับการใช้ของผู้บริโภค เพื่อเพิ่มการใช้รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่มากขึ้น นอกจากนี้ ภาครัฐต้องพิจารณามาตรการการเพิ่มภาษีกับรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษและการให้สิทธิพิเศษกับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ ยกตัวอย่างเช่น ฟรีค่าธรรมเนียมการชาร์จไฟ ลดหรือฟรีค่าทางด่วน ลดหรือฟรีค่าจอดรถ สามารถวิ่งในช่องทางเร่งด่วน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ภาครัฐต้องมีมาตรการนโยบายที่ไม่ใช่ทางการเงินควบคู่ไปด้วย เช่น การเพิ่มสถานีชาร์จไฟ และการสร้างการตระหนักรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ จากผลการวิจัยนี้จะสามารถช่วยให้การวางแผนและพัฒนามาตรการนโยบายเพื่อกระตุ้นการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น และตอบสนองโดยตรงทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2021
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Environment, Development and Sustainability
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80776
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.161
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.161
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6288314820.pdf5.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.