Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81087
Title: ผลฉับพลันของการฝึกเอกเซ็นตริกอย่างเดียว คอนเซ็นตริกอย่างเดียว และเอกเซ็นตริกตามด้วยคอนเซ็นตริกที่มีต่อความสามารถในการกระโดดและการสปริ๊นท์ในนักกีฬารักบี้ฟุตบอลชาย
Other Titles: The acute effects of eccentric-only, concentric-only and eccentric followed by concentric training on jumping and sprint performance in male rugby football players
Authors: ญาดา ศิริไชย
Advisors: สุทธิกร อาภานุกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลฉับพลันของการฝึกเอกเซ็นตริกอย่างเดียว เอกเซ็นตริกอย่างเดียว และเอกเซ็นตริกตามด้วยคอนเซ็นตริกที่มีต่อความสามารถในการกระโดดและการสปริ๊นท์ในนักกีฬารักบี้ฟุตบอลชาย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เป็นนักกีฬารักบี้ชาย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุ 18-25 ปี (ค่าเฉลี่ยอายุ 22.10±3.17 ปี น้ำหนัก 85.09±15.93 กก. ส่วนสูง 173.70±5.59 ซม. ความแข็งแรงสัมพัทธ์ 1.79±0.14เท่าของน้ำหนักตัว) จำนวน 10 คน ใช้วิธีถ่วงดุลลำดับ ทำการจับสลากแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มตัวอย่างจะได้รับการกระตุ้นจำนวน 5 ครั้ง 1 เซต ด้วยการฝึกทั้ง 3 รูปแบบ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทำการทดสอบพลังสูงสุด ความเร็วของบาร์เบลสูงสุด แรงปฏิกิริยาสูงสุด และความเร็วที่ระยะ 10 และ 20 เมตร ก่อนการทดลองเพื่อเป็นค่าเริ่มต้น และหลังจากได้รับการกระตุ้นการจากฝึก วิเคราะห์ทางสถิติโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ และความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำโดยการจัดคอลัมน์ กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า การฝึกทั้ง 3 รูปแบบ มีค่าพลังสูงสุดและความเร็วของบาร์เบล แตกต่างจากค่าเริ่มต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 การฝึกเอกเซ็นตริกตามด้วยคอนเซ็นตริก มีค่าพลังสูงสุด ความเร็วบาร์เบลสูงสุด อัตราการพัฒนาแรงที่เวลา 100 และ 250 แตกต่างจากการฝึกอีก 2 รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 การฝึกเอกเซ็นตริกอย่างเดียวและคอนเซ็นตริกอย่างเดียว มีค่าแรงปฏิกริยาสูงสุดแตกต่างจากการฝึกเอกเซ็นตริกตามด้วยคอนเซ็นตริกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และไม่พบความแตกต่างของความเร็ว ของค่าเริ่มต้นและการฝึกทั้ง 3 รูปแบบ สรุปผลการวิจัย การฝึกเอกเซ็นตริกตามด้วยคอนเซ็นตริกพัฒนาพลังสูงสุดและความเร็วบาร์เบลสูงสุดได้ดีที่สุด อีกทั้งยังช่วยพัฒนาอัตราการพัฒนาแรงได้ ดังนั้นการฝึกเอกเซ็นตริกตามด้วยคอนเซ็นตริกพัฒนาความสามารถการกระโดดในนักกีฬารักบี้ฟุตบอลได้ 
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate and compare acute effects of eccentric-only, concentric-only and eccentric followed by concentric training on jumping and sprint performance in male rugby football players. Ten male rugby football players of Chulalongkorn University 18-25 yrs. (age, 22.10±3.17 yrs.; weight, 85.09±15.93 kg.; height, 173.70±5.59 cm.; 1RM back squat 1.79±0.14 kg/BM-1), performed three counterbalanced sessions: Eccentric followed by concentric (EFC); Eccentric-only (ECC); and Concentric-only (CON). The peak power (PP), peak velocity (PV), peak force (PF), rate of force development 100 and 250 (RFD100 and RFD250), and 10 and 20 sprint time were assessed before the experiment to set as baseline and after each intervention. The data were analyzed by One-way analysis of variance with repeated measures and Friedman One-Way Repeated Measure Analysis of Variance by Ranks. The statistical significance was set at the level 0.05. EFC, ECC, and CON showed a significantly greater PP and PV (P<0.05) over baseline. In addition, EFC presented significantly better on PP, PV, RFD100 and RFD250 (P<0.05) than ECC and CON. However, ECC and CON showed a significantly greater PF (P<0.05) over EFC. There were no significant differences (P>0.05) in 10- and 20-sprint time between three methods. Conclusion, EFC was the greatest improvement in PP and PV it also improved RFD100 and 250. These findings suggest that EFC increases CMJ performance in male rugby football players.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81087
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.832
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.832
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270036339.pdf5.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.