Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81268
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภูมิศิริ ดำรงวุฒิ-
dc.contributor.authorโชติวรรณ นฤเทพ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-11-07T02:21:45Z-
dc.date.available2022-11-07T02:21:45Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81268-
dc.descriptionเอกัตศึกษา น.ม. (การเงิน/ภาษีอากร)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562en_US
dc.description.abstractเอกัตศึกษาฉบับนี้เป็นการศึกษาวิธีการเก็บรักษาและการบริหารจัดการทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออาจถูกยึดในคดีฟอกเงิน โดยเฉพาะทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่จับต้องไม่ได้ (financial asset) แต่มีราคามูลค่า โดยทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์นี้มีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างจากทรัพย์สินที่อาจจับต้องได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น บ้าน ที่ดิน คอนโดมิเนียม ยานพาหนะต่าง ๆ เครื่องประดับหรือเงินสด นอกจากนี้ ยังสามารถแบ่งได้หลายประเภทตามระดับความเสี่ยงและระดับของผลตอบแทนที่เป็นไปได้ด้วย ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันการกำหนดวิธีการเก็บรักษาและบริหารทรัพย์ที่ถูกยึดในคดีฟอกเงินนั้น ได้กำหนดไว้ใช้กับทรัพย์หลายประเภทไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์หรือกิจการ หรือทรัพย์ที่เป็นสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ที่ถูกยึดหรืออาจถูกยึดในคดีฟอกเงินได้ แต่สำหรับทรัพย์ที่เป็นหลักทรัพย์นั้นซึ่งเป็นทรัพย์ที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวกลับไม่มีการกำหนดวิธีการเก็บรักษาและบริหารจัดการดังกล่าวไว้โดยเฉพาะ ซึ่งแตกต่างจากการบริหารจัดการทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ในกรณีทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่อาจนำทรัพย์สินดังกล่าวออกบริหารโดยให้ผู้มีส่วนได้เสียรับทรัพย์สินไปดูแลและใช้ประโยชน์ เช่น นำออกให้เช่า หรือในกรณีทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ ที่หากเก็บไว้จะเป็นภาระแก่ทางราชการมากกว่าการนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นก็อาจนำออกขายทอดตลาดตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะได้ตัวเงินมาเก็บไว้ในกองทุนการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเพื่อรอคำสั่งศาลได้ ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพย์สินที่เป็นหลักทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเยียวยาผู้เสียหายหรือสามารถส่งคืนให้แก่รัฐได้อย่างสูงสุด จึงควรกำหนดวิธีการในการบริหารจัดการทรัพย์สินประเภทหลักทรัพย์เป็นการเฉพาะให้แยกต่างหากจากหลักทรัพย์ประเภทอื่น รวมทั้งวิเคราะห์ความเสี่ยงของหลักทรัพย์แต่ละชนิดเพื่อกำหนดวิธีการเก็บรักษาและบริหารจัดการที่เหมาะสมกับลักษณะของหลักทรัพย์แต่ละประเภทen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.168-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการฟอกเงินen_US
dc.subjectทรัพย์ (กฎหมาย)en_US
dc.titleปัญหาการบริหารจัดการทรัพย์ประเภทหลักทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายการเงินและภาษีอากรen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.authorpoomsiri@law.chula.ac.th-
dc.subject.keywordคดีฟอกเงินen_US
dc.subject.keywordหลักทรัพย์en_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2019.168-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6185982034.pdf630.82 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.