Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81273
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุมาพร (ศรีสุนทร) มานะสันต์-
dc.contributor.authorปนัดดา อรุโณทัยวิศรุต-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-11-07T06:52:29Z-
dc.date.available2022-11-07T06:52:29Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81273-
dc.descriptionเอกัตศึกษา น.ม. (การเงิน/ภาษีอากร)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562en_US
dc.description.abstractเอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงการนำกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้บังคับกับธุรกิจสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคลผ่านแพลตฟอร์ม (ผู้ประกอบธุรกิจ) โดยจะศึกษาถึงข้อแนะนำของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงิน (FATF) และกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประกอบกับการเข้าสัมภาษณ์ผู้ประกอบธุรกิจรายใหญ่และรายเล็ก รวมถึงสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพื่อจัดทำแนวทางปฏิบัติในการกำหนดนโยบายตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามฟอกเงิน สำหรับผู้ประกอบธุรกิจ จากการศึกษา FATF และกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการเข้าสัมภาษณ์ผู้ประกอบธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญ พบว่า สถาบันการเงิน ตาม FATF นั้น รวมถึงบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลใดก็ตามที่ดำเนินธุรกิจให้กู้เงิน โดยหากผู้ประกอบธุรกิจให้บริการทางการเงินผู้ประกอบธุรกิจจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของสถาบันการเงิน ซึ่งมีหน้าที่ในการปฏิบัติตาม FATF ณ เวลาที่เอกัตศึกษานี้ถูกจัดทำขึ้น ประเทศไทยมีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดเพียงให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดให้มีการแสดงตัวตนของผู้ใช้บริการและตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ใช้บริการตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเท่านั้น จะเห็นได้ว่าประกาศฉบับดังกล่าวไม่มีความชัดเจน ประกอบกับกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ยังไม่กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจเป็นสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่มีการออกแนวทางการบังคับใช้หรือการปฏิบัติตามกฎหมาย จึงส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจไม่ทราบแนวทางการปฏิบัติ ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงศึกษา FAT และกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินโดยนำมาวิเคราะห์กับแนวทางและขั้นตอนการทำงานของผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อเสนอซึ่งแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจและกฎหมายป้องกันเละปราบปรามการฟอกเงินของประเทศไทยen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.174-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการฟอกเงินen_US
dc.subjectสินเชื่อen_US
dc.titleการนำกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้บังคับกับธุรกิจสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคลผ่านแพลตฟอร์มen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายการเงินและภาษีอากรen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
dc.subject.keywordปราบปรามการฟอกเงินen_US
dc.subject.keywordธุรกิจสินเชื่อen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2019.174-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6186023434.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.