Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81284
Title: การให้สิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ : กรณีศึกษาธุรกิจบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์และบริการสอบเทียบมาตรฐาน
Authors: ฤษณะ ขาวเรือง
Advisors: ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: การส่งเสริมการลงทุน
กฎหมายธุรกิจ
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติมีส่วนสําคัญในธุรกิจบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์และสอบเทียบมาตรฐาน ทั้งนี้คนต่างด้าวที่จะประกอบธุรกิจในประเทศไทยต้องได้รับอนุญาตการประกอบธุรกิจเสียก่อน อย่างไรก็ตามเพื่อส่งเสริมการลงทุน พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและสิทธิประโยชน์อื่นๆ รวมไปถึงการยกเว้นให้คนต่างด้าวไม่ต้องขออนุญาตเพื่อประกอบกิจการในประเทศไทย อย่างไรก็ตามมีผู้ลงทุนบางกลุ่มเลือกจัดโครงสร้างเป็นนิติบุคคลไทยเพื่อขจัดข้อจํากัดในการประกอบธุรกิจแทนการขอรับการส่งเสริมการลงทุน เอกัตศึกษาเล่มนี้จึงมุ่งศึกษารูปแบบการเข้ามาประกอบธุรกิจของผู้ลงทุน ตลอดจนเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์ที่ผู้ลงทุนจะได้รับ และพิจารณาถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆต่อการเลือกรูปแบบการลงทุน ทั้งนี้ผู้ศึกษาพบรูปแบบที่สําคัญสองรูปแบบ คือ การเข้ามาในฐานะต่างด้าวโดยขอรับการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีดีกว่าไม่ว่าจะเป็นผู้ลงทุนจากประเทศใด ในขณะที่อีกรูปแบบคือ การเข้ามาโดยมีสถานะเป็นนิติบุคคลไทยผ่านการร่วมทุนหรือจัดโครงสร้างเป็นนิติบุคคลไทย แต่ไม่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนแม้ว่าจะไม่มีอุปสรรคทางกฎหมายที่เพิ่มขึ้นเป็นพิเศษในการขอรับการส่งเสริมการลงทุนก็ตาม ทั้งนี้การเลือกรูปแบบที่สองผู้ลงทุนรับสิทธิประโยชน์อย่างอื่นที่ไม่ใช่ภาษีอากรในภาพรวมดีกว่ารูปแบบแรก นอกจากนี้ไม่ปรากฎว่าขนาดของกิจการของการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญต่อการขอรับการส่งเสริมการลงทุนแต่อย่างใด จากข้อมูลพบว่า แม้ผู้ลงทุนจะอยู่ในสถานะที่มีข้อจํากัดด้านกฎหมายในการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการขอรับการส่งเสริมการลงทุนน้อยที่สุด ผู้ลงทุนก็มีแนวโน้มจะเลือกใช้รูปแบบที่สองมากกว่ารูปแบบแรก แสดงถึงสิทธิประโยชน์ทางภาษีนั้นไม่ใช่ปัจจัยสําคัญที่สุดในการพิจารณาเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย อย่างไรก็ตามปัจจัยทางภาษีส่งผลต่อการวางแผนรูปแบบองค์กรเพื่อให้ได้ประโยชน์ทางภาษีภายหลังตัดสินใจเลือกประเทศไทยเป็นแหล่งลงทุนแล้ว ซึ่งชี้ว่าการส่งเสริมการลงทุนนั้นเปราะบางต่อการวางแผนภาษีในเชิงรุก อย่างไรก็ตามเอกัตศึกษานี้ไม่ได้ประเมินความคุ้มค่าของการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อดึงดูดการลงทุนแต่อย่างใด
Description: เอกัตศึกษา น.ม. (การเงิน/ภาษีอากร)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายการเงินและภาษีอากร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81284
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.171
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2019.171
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6186102334.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.