Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81342
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พีรพัฒ โชคสุวัฒนสกุล | - |
dc.contributor.author | ฐตรัชต์ อินทรสุขศรี | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-12-01T07:44:46Z | - |
dc.date.available | 2022-12-01T07:44:46Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81342 | - |
dc.description | เอกัตศึกษา น.ม. (การเงิน/ภาษีอากร)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 | en_US |
dc.description.abstract | พระราชบัญญัติสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ.2562 เป็นกฎหมายฉบับใหม่ที่พึ่งออกมาได้ไม่นาน โดยมี เจตนารมณ์เพื่อจะช่วยแก้ปัญหาให้แก่ประชาชนในระดับฐานรากที่มีปัญหาในการเข้าถึงบริการทางการเงินที่มี ประสิทธิภาพและเป็นธรรม อีกทั้งช่วยแก้ปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำโดยเฉพาะในเรื่องการเข้าถึง บริการทางการเงินที่มีคุณภาพของประชาชนระดับฐานราก และเป็นการเพิ่มทางเลือกการให้บริการทางการเงิน ระดับชุมชนประเภทใหม่ รวมถึงเป็นการวางกรอบนโยบายที่ชัดเจนให้แก่หน่วยงานรัฐเพื่อทำการช่วยเหลือส่งเสริม ให้สถาบันการเงินประชาชนตามพระราชบัญญัตินี้ให้เข้มแข็ง เช่น การมีธนาคารรัฐเป็นผู้ประสานงานดูแลให้ คำแนะนำ ที่สำคัญคือ สถาบันการเงินประชาชนนี้จะไม่เป็นภาระต่องบประมาณแผ่นดิน กล่าวคือ ไม่มีการใช้เงิน อุดหนุนจากภาครัฐเป็นทุนในการดำเนินงาน ทุนทั้งหมดเป็นของประชาชนในการดำเนินงานของสถาบันการเงิน ประชาชน ซึ่งเงินเหล่านั้นอาจได้มาจากส่วนลงหุ้น หรือ เงินฝาก โดยสถาบันการเงินประชาชนนี้เป็นระบบการเข้า เป็นสมาชิกและจัดตั้งสถาบันแบบสมัครใจ เพื่อทำให้องค์กรทางการเงินชุมชนที่มีอยู่แล้วแต่เดิม ไม่ว่าจะเป็นนิติ บุคคลหรือไม่ก็ตาม ได้มีโอกาสยื่นขอแปลงสภาพให้มีความเป็นทางการและได้รับการคุ้มครองที่แน่นอน งานวิจัยฉบับนี้เน้นการศึกษาตัวบทและเจตนารมณ์เบื้องหลังกฎหมายของพระราชบัญญัติสถาบันการเงิน ประชาชน พ.ศ.2562 และ ทางปฏิบัติในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ศึกษาสภาพสังคมของผู้ที่ไม่มี โอกาสเข้าถึงบริการทางการเงิน และ ผู้มีรายได้น้อยในประเทศไทยเป็นหลัก รวมถึงศึกษากฎเกณฑ์ ทฤษฎีที่ เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศประกอบ ซึ่งภายหลังการศึกษากลับพบว่ากฎหมายฉบับนี้ยังไม่อาจใช้ บังคับได้ผลในทางปฏิบัติอย่างที่ควรจะเป็น เนื่องจากมีอุปสรรคในเรื่องของ ความทับซ้อนของกฎหมาย กฎหมาย ขาดสิทธิประโยชน์และแรงจูงใจในการให้องค์การเงินชุมชนยกระดับเป็นสถาบันการเงินประชาชน เงื่อนไขในการยกระดับจัดตั้งเป็นสถาบันการเงินประชาชนตามกฎหมายนั้นเข้มงวดเกินไปไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมของ กลุ่มเป้าหมาย และ มีกลุ่มเป้าหมายบางส่วนยังไม่ทราบความมีอยู่ของกฎหมาย งานวิจัยฉบับนี้จึงเสนอให้มีการพิจารณาแก้ไขหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามกฎหมายให้สอดคล้องกับสภาพสังคม ตามความเป็นจริงเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แต่ต้องกระทำอย่างระมัดระวัง รวมถึงให้รัฐ ประชาสัมพันธ์กฎหมายให้แพร่หลาย และ พยายามหาสิทธิประโยชน์ในการจูงใจให้องค์กรการเงินชุมชนยกระดับ ขึ้นเป็นสถาบันการเงินประชาชน เพราะเมื่อเกิดมีสถาบันการเงินประชาชนเกิดขึ้นได้มากตามเป้าหมายย่อมเป็น ประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้าง | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.186 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | สถาบันการเงิน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | en_US |
dc.subject | การบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน | en_US |
dc.title | ปัญหาความสัมฤทธิ์ผลในทางปฏิบัติของพระราชบัญญัติสถาบันการเงิน ประชาชน พ.ศ. 2562 | en_US |
dc.type | Independent Study | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | กฎหมายการเงินและภาษีอากร | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject.keyword | สถาบันการเงินประชาชน | en_US |
dc.subject.keyword | บริการทางการเงิน | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.IS.2020.186 | - |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6280027034.pdf | 1.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.