Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81377
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิมพัทธ์ ราชประดิษฐ์ | - |
dc.contributor.author | พิพัฒน์ พิพัฒน์ผจง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-12-09T03:23:01Z | - |
dc.date.available | 2022-12-09T03:23:01Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81377 | - |
dc.description | เอกัตศึกษา น.ม. (การเงิน/ภาษีอากร)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 | en_US |
dc.description.abstract | การยกเว้นภาษีตามมาตรา 40 41 และ 96 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 มี วัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีที่ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินประเภทที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้างเป็นที่อยู่อาศัยหรือประกอบเกษตรกรรม หากประชาชนผู้เสียภาษีปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกําหนดไว้อย่าง ครบถ้วน ก็จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปีภาษีนั้น เมื่อพิจารณาการยกเว้นภาษีข้างต้น ปรากฎว่ามาตราดังกล่าวยกเว้นภาษีให้เฉพาะบุคคลผู้มีกรรมสิทธิ์ใน ที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้างเท่านั้น เนื่องจากบทบัญญัติในมาตราใช้คําว่า “เจ้าของ” ซึ่งมิได้หมายความรวมถึงผู้มี สิทธิครอบครองในที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเป็นผู้เสียภาษีอีกประเภทหนึ่งตามนิยามในมาตรา 5 แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้นผู้มีสิทธิครอบครองจึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีและยังคงต้องเสียภาษีตามปกติ แม้จะได้ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกําหนดไว้อย่างครบถ้วนเฉกเช่นผู้เสียภาษีประเภทเจ้าของแล้วก็ตาม การบัญญัติกฎหมายโดยเรียกเก็บภาษีจากเจ้าของและผู้มีสิทธิครอบครอง แต่เมื่อมีการยกเว้นภาษีกลับยกเว้นให้เฉพาะเจ้าของ และการนําสิทธิเหนือทรัพย์สินของผู้เสียภาษีมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณายกเว้นภาษีทรัพย์สินเป็นการบัญญัติกฎหมายที่มิได้คํานึงถึงหลักการบริหารภาษีที่ดี รวมไปถึงแนวคิดพื้นฐานในการจัดเก็บและยกเว้นภาษีทรัพย์สิน จึงก่อให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมในการเสียภาษีระหว่างเจ้าของกับผู้มีสิทธิครอบครอง และปัญหาการพิสูจน์กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ดังนั้น การยกเว้นภาษีตามมาตราดังกล่าวจึงควรได้รับการแก้ไขให้ครอบคลุมถึงผู้มีสิทธิครอบครอง หรือมีมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการบริหารภาษีที่ดี ตลอดจนแนวคิดพื้นฐานในการจัดเก็บและยกเว้นภาษีทรัพย์สิน | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.175 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ภาษีที่ดิน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | en_US |
dc.subject | การยกเว้นภาษีอากร | en_US |
dc.title | บุคคลผู้มีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง | en_US |
dc.type | Independent Study | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | กฎหมายการเงินและภาษีอากร | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject.keyword | ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง | en_US |
dc.subject.keyword | สิทธิครอบครองที่ดิน | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.IS.2020.175 | - |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6280064134.pdf | 838.54 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.