Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81381
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ประเสริฐ โหล่วประดิษฐ์ | - |
dc.contributor.author | พัทธมน บุญมี | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-12-09T07:27:31Z | - |
dc.date.available | 2022-12-09T07:27:31Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81381 | - |
dc.description | เอกัตศึกษา น.ม. (การเงิน/ภาษีอากร)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 | en_US |
dc.description.abstract | ภาษีการเข้าพักโรงแรม คือ รายได้ของรัฐที่เรียกเก็บจากการเข้าพักในโรงแรมหรือที่พักประเภทอื่น ๆ ของนักท่องเที่ยว ซึ่งไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยในประเทศไทยจัดเก็บรายได้ดังกล่าวในลักษณะของค่าธรรมเนียมบํารุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดและค่าธรรมเนียมบํารุงกรุงเทพมหานครโดยกฎหมายให้อํานาจแก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดและกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเรียกเก็บภาษีการเข้าพักโรงแรมจากผู้พักในโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมได้ซึ่งกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ประเทศไทยมีเพียงฉบับเดียว คือ พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547 ดังนั้น เฉพาะการเข้าพักในสถานที่พักที่เป็นโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 เท่านั้น ที่จะต้องเสียภาษีการเข้าพักโรงแรม ทําให้เกิดความไม่เสมอภาคและไม่ยุติธรรมแก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเพราะผู้ที่เข้าพักในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 ย่อมไม่ต้องเสียภาษีการเข้าพักโรงแรม เพราะฉะนั้น ควรมีการปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สามารถจัดเก็บภาษีการเข้าพักโรงแรมจากการเข้าพักในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมได้ โดยจากการศึกษาวิเคราะห์ผู้วิจัยเห็นว่าแนวทางการพัฒนาการจัดเก็บภาษีการเข้าพักโรงแรมจากสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เหมาะสม คือ (1) ควรตรากฎหมายภาษีการเข้าพักโรงแรมให้เป็นกฎหมายระดับพระราชบัญญัติเพื่อให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับหลักภาษีอากรที่ดีและ (2) ควรปฎิรูปกฎหมายที่เกี่ยวกับสถานที่พักแรม เพื่อส่งเสริมและควบคุมสถานที่พักแรมที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับ ทั้งนี้การปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว นอกจากจะทําให้การจัดเก็บภาษีการเข้าพักโรงแรมสอดคล้องกับหลักภาษีอากรที่ดีแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพและอํานวยรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.201 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การจัดเก็บภาษี | en_US |
dc.subject | โรงแรม--ค่าธรรมเนียม | en_US |
dc.title | แนวทางการพัฒนาการจัดเก็บภาษีการเข้าพักโรงแรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณีสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม | en_US |
dc.type | Independent Study | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | กฎหมายการเงินและภาษีอากร | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject.keyword | การจัดเก็บภาษีผู้พักโรงแรม | en_US |
dc.subject.keyword | ภาษีการเข้าพักโรงแรม | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.IS.2020.201 | - |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6280060634.pdf | 891.02 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.