Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81384
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประเสริฐ โหล่วประดิษฐ์-
dc.contributor.authorณัฐภัทร เหมวงษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-12-13T08:32:16Z-
dc.date.available2022-12-13T08:32:16Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81384-
dc.descriptionเอกัตศึกษา น.ม. (การเงิน/ภาษีอากร)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563en_US
dc.description.abstractรายงานเอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งเน้นศึกษาปัญหาการกําหนดมูลค่าขั้นต่ำของอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดินที่กําหนดให้ถูกจัดเก็บ และระยะเวลาการจัดเก็บภาษีตามร่างพระราชบัญญัติภาษีการได้รับประโยชน์ฯ เพื่อเปรียบเทียบการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมในลักษณะเดียวกันของประเทศโปแลนด์และประเทศอังกฤษและพิจารณาแนวทางการจัดเก็บ เพื่อนํามาปรับปรุงแก้ไขการกําหนดมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์และการกําหนดกรอบระยะเวลาตามร่างพระราชบัญญัติภาษีการได้รับประโยชน์ฯ ให้มีความเหมาะสมและเป็นไปตามหลักการผลประโยชน์และหลักอํานวยรายได้ให้แก่รัฐ จากการศึกษาและวิเคราะห์พบว่า ในการกําหนดเงื่อนไขจัดเก็บภาษีตามร่างพระราชบัญญัติภาษีการได้รับประโยชน์ฯ มาตรา 6 (2)(ก) ที่กําหนดมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดินที่ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ต้องมีมูลค่าที่เกินกว่า 50 ล้านบาท จึงจะถูกจัดเก็บภาษี ทําให้มีอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดินจำนวนมากที่ใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ที่อยู่ในเขตรัศมีที่ถูกกําหนดให้จัดเก็บภาษีและได้รับประโยชน์จากการที่รัฐพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของรัฐ แต่ไม่อยู่ในขอบเขตต้องเสียเก็บภาษี ซึ่งขัดกับหลักการผลประโยชน์ เนื่องจากที่ดินเหล่านั้นมีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาทตามที่ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้กําหนดไว้ เห็นควรแก้ไขบทบัญญัติมาตราดังกล่าวไม่ให้นํามูลค่าขั้นต่ำมาเป็นเงื่อนไขในการจัดเก็บภาษี เพราะภาษีการได้รับประโยชน์ฯ ต้องการจัดเก็บเพื่อนําไปเป็นรายได้ในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ ซึ่งใช้เงินทุนจํานวนมากในการก่อสร้างและดําเนินการ อีกทั้งการจัดเก็บภาษีทําเพียงครั้งเดียว จึงไม่ควรกําหนดเงื่อนไขที่ทําให้ฐานภาษีแคบเกินไปและไม่อํานวยรายได้ให้แก่รัฐ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ที่ต้องการจัดเก็บอีกด้วย และปัญหาอีกประการหนึ่งก็คือเงื่อนไขตามามาตรา 6 (2) เรื่องระยะเวลากําหนดหน้าที่ผู้เสียภาษีโดยให้เสียภาษีภายใน 30 วัน นับแต่โครงการของรัฐแล้วเสร็จ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่สร้างภาระภาษีให้แก่ตัวผู้เสียภาษีเนื่องจากระยะเวลาสั้นเกินไป เมื่อเทียบกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีการกําหนดระยะเวลามากกว่า ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาแจ้งผู้เสียภาษีหรือระยะเวลาการชําระภาษี เห็นควรกําหนดกรอบระยะเวลาการจัดเก็บภาษีให้มากกว่าที่กําหนดไว้ในมาตรา 6 (2) และควรมีกระบวนการแจ้งผู้เสียภาษีให้เตรียมตัวเสียภาษีให้ชัดเจนมากขึ้นเพื่อสร้างความสะดวกแก่ตัวผู้เสียภาษีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.167-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการจัดเก็บภาษีen_US
dc.subjectอสังหาริมทรัพย์ -- การประเมินราคาen_US
dc.titleขอบเขตการบังคับใช้ภาษีการได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ ศึกษากรณีนิยามของคำว่าที่ดินที่เป็นฐานภาษีและระยะเวลาในการชำระภาษีen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายการเงินและภาษีอากรen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subject.keywordภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างen_US
dc.subject.keywordมูลค่าอสังหาริมทรัพย์en_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2020.167-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280032034.pdf4.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.