Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81397
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเผด็จ ธรรมรักษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-12-14T09:19:40Z-
dc.date.available2022-12-14T09:19:40Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81397-
dc.description.abstractในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การผลิตสุกรในประเทศไทยกลายเป็นอุตสาหกรรมและจำนวนของลูกสุกรต่อ ครอกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จใน “อุตสาหกรรมฟาร์มสุกร” คือ การจัดการการคลอดที่เหมาะสม โดยปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของการจัดการการคลอด ประกอบด้วย การจัดการกระบวนการคลอดของแม่สุกรอย่างเหมาะสม การช่วยเหลือแม่สุกรที่ต้องการความ ช่วยเหลือ และ การย้ายฝากลูกสุกรอย่างเหมาะสม แนวทางการจัดการเหล่านี้ได้รับความสนใจมากขึ้นในวงการ วิจัยสุกร เนื่องจากจำนวนลูกสุกรที่มีชีวิตต่อครอกเพิ่มขึ้นในกลุ่มแม่สุกรสายพันธุ์สมัยใหม่ “น้ำนมเหลือง” เป็น สิ่งคัดหลั่งสิ่งแรกที่ถูกผลิตออกมาจากต่อมสร้างน้ำนม และมีการหลั่งอย่างต่อเนื่องในช่วงคลอดนานถึง 12-24 ชั่วโมง ก่อนที่การหลั่งจะเปลี่ยนเป็นวงจรและต้องใช้การดูดของลูกสุกรเป็นตัวกระตุ้น น้ำนมเหลืองเป็นแหล่ง อาหารที่ประกอบด้วยสารอาหารที่ย่อยง่ายและมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพต่างๆ เช่น อิมมูโนโกลบูลลิน เอนไซม์ ไฮโดรไลติก ฮอร์โมน และปัจจัยที่ช่วยในการเจริญเติบโต ดังนั้นน้ำนมเหลืองจึงมีบทบาทสำคัญในการควบคุม อุณหภูมิร่างกายลูกสุกร การส่งต่อภูมิคุ้มกันถ่ายทอด และการพัฒนาของลำไส้ของลูกสุกร น้ำนมเหลืองเป็น แหล่งพลังงาน ที่สามารถเผาผลาญได้สูงในลูกสุกรแรกคลอด และมีปริมาณไขมันและแลคโต๊สสูง เพื่อให้ลูกสุกร สามารถรับมือกับความเครียดจากความหนาวเย็นได้ โดยการเพิ่มอัตราการเผาผลาญและรักษาสมดุลของ ร่างกายในวันแรกหลังคลอด อุณหภูมิทางทวารหนักของลูกสุกรที่ 24 ชั่วโมง หลังคลอดมีความสัมพันธ์ในเชิง บวกกับปริมาณน้ำนมเหลืองที่ลูกสุกรได้รับ และมีความสัมพันธ์เชิงลบกับระยะเวลาตั้งแต่คลอดจนกระทั่งลูก สุกรสามารถดูดนมได้ครั้งแรก โปรตีนในน้ำนมเหลือง ประกอบด้วย อิมมูโนโกลบูลลิน ได้แก่ อิมมูโนโกลบูลลิน จี (IgG) อิมมูโนโกลบูลลินเอ็ม (IgM) และ อิมมูโนโกลบูลลินเอ (IgA) IgG เป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่พบมาก ที่สุดในน้ำนมเหลืองและมีความเข้มข้นสูงที่สุดในช่วงหลังคลอดไม่กี่ชั่วโมงแรกและลดลงอย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง ลูกสุกรแรกคลอดจำเป็นต้องได้รับภูมิคุ้มกันถ่ายทอดจากการกิน IgG ในน้ำนมเหลือง เพื่อลดความไว ต่อการติดเชื้อหลังคลอดและหลังหย่านม การดูดซึม IgG ในลูกสุกรแรกคลอดจะต้องเกิดขึ้นเกิดขึ้นก่อนที่ กระบวนการการดูดซึมโปรตีนในลำไส้จะสิ้นสุดลง ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อลูกสุกรมีอายุประมาณ 24 ชั่วโมง ความเข้มข้น ของ IgG ในพลาสมาของลูกสุกรที่อายุ 24 ชั่วโมง มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณน้ำนมเหลืองที่ลูกสุกรได้รับ การเสริมน้ำนมเหลือง ให้แก่ลูกสุกรที่มีน้ำหนักแรกคลอดต่ำ ตัวละ 15 มิลลิลิตร สามารถเพิ่มความเข้มข้นของ IgG ในพลาสมาของลูกสุกรที่อายุ 4 วัน ได้ น้ำนมเหลืองของสุกรยังประกอบด้วยสารที่ช่วยในเจริญเติบโต (growth factor) ที่แตกต่างกัน เช่น insulin-like growth factor (IGF) I และ II epidermal growth factor insulin และ transforming growth factor-beta ส่วนประกอบที่ช่วยในการเจริญเติบโตที่ผ่านมาทางน้ำนม เหลือง เป็นกลไกในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของและพัฒนาการทำงานของเนื้อเยื่อระบบทางเดินอาหารของ ลูกสุกร นอกจากนี้น้ำนมเหลืองยังช่วยเพิ่มการดูดซึมในลำไส้ การเริ่มต้นของการปิดตัวของลำไส้ และช่วยใน การซ่อมแซมผิวเยื่อเมือกที่เสียหายอีกด้วย ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเปลี่ยนแปลงของ ระบบทางเดินอาหารในช่วงหลังคลอดen_US
dc.description.abstractalternativeOver the past decade, swine production in Thailand has become more industrialised, and the number of total piglets born per litter has increased rapidly. One of the most important factors to achieve a successful “swine farming industry” is to optimise farrowing management. The key factors for successful intensive farrowing management include, among other factors, proper farrowing supervision, intervention for sows that need birth assistance, care of newborn piglets and optimisation of cross-fostering management. These management practices are gaining increasing interest in the swine research field, mainly due to the increased number of piglets born alive per litter in modern genetic sows. “Colostrum” is the first milk secreted by the mammary gland, which sows continuously secrete from around farrowing up to 12–24 h, before its secretion becomes cyclic and nursery bouts start. Colostrum is a rich source of digestible nutrients and various bioactive compounds such as immunoglobulins, hydrolytic enzymes, hormones, and growth factors, thus, it plays a key role in piglet thermoregulation, the acquisition of passive immunity and intestinal development. Colostrum provides the newborn pig with highly metabolisable energy and its high content of fat and lactose is efficiently used by the newborn pig to cope with cold stress by increasing its metabolic rate and maintaining its homeothermic balance during the first day after birth. Accordingly, rectal piglet temperature at 24 h of age is positively correlated with colostrum intake and is negatively correlated with the time interval between birth and first suckling. The primary protein component of colostrum consists of immunoglobulins, including IgG, IgM, and IgA isotypes. Immunoglobulin G is the most common bioactive compound in colostrum and is at its highest concentration in the first few hours postpartum and decreases rapidly within 24 h. As has been previously mentioned, piglets need to receive passive immunity from IgGs in colostrum to reduce susceptibility to infection in the immediate postnatal period and also after weaning. The absorption of IgG by newborn piglets occurs before gut closure, which occurs at approximately 24 h of age. The IgG plasma concentration in piglets at 24 h of age is positively correlated with colostrum intake. Administration of 15 mL of colostrum after farrowing to small piglets increased their IgG plasma concentration at 4 days of age. Porcine colostrum also contains different types of milk-borne growth factors, e.g., the insulin-like growth factors IGF-I and IGF-II, epidermal growth factor, insulin and transforming growth factor-beta. Milk-borne growth factors via colostrum feeding play a regulatory role in the stimulation of gastrointestinal tissue growth, and the maturation of its function. Colostrum feeding also enhances intestinal macromolecule absorption, the onset of gut closure, and enhances the repair of damaged mucosa. All these process are required for the adaptive changes of the gastrointestinal tract during the postnatal period.en_US
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2561en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสุกรen_US
dc.subjectสุกร -- การเลี้ยงen_US
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลผลิตน้ำนมเหลืองในแม่สุกร (ปีที่ 2)en_US
dc.title.alternativeFactors influencing colostrum yield in sowsen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vet_Padet Tum_2562.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)10.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.