Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81402
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสนธิศาสตร์ เจตน์วราพงศ์-
dc.contributor.authorชุติณัชชา อินทรานุกูล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-12-15T06:38:43Z-
dc.date.available2022-12-15T06:38:43Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81402-
dc.descriptionเอกัตศึกษา น.ม. (การเงิน/ภาษีอากร)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563en_US
dc.description.abstractรายงานเอกัตศึกษาเล่นนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหาแนวทางในแก้ปัญหาความขัดหรือแย้งของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 7(1) ประกอบมาตรา 8 กับพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562, พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตพ.ศ. 2560, พระราชบัญญัติกรมศุลกากร พ.ศ.2560 และพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ.2558 ในคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรโดยเทียบเคียงกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 โดยวิธีการศึกษาวิจัยทางเอกสารในการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์จากบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติ คำพิพากษาของศาลหนังสือกฎหมาย ตลอดจนเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าว จากการศึกษาพบว่า ขั้นตอนในการดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับประเมินภาษีอากรและการคัดค้านหรืออุทธรณ์การประเมินภาษีอากร เป็นกระบวนการพิจารณาทางปกครองทั้งสิ้น และกฎหมายภาษีอากรที่ได้มีการปรับปรุง แก้ไขฉบับใหม่มีการให้สิทธิผู้อุทธรณ์สามารถฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรได้ ถึงแม้ว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังไม่มีคำวินิจฉัยก็ตาม ซึ่งคล้ายคลึงกับเงื่อนไขในการฟ้องคดีทางปกครอง แต่ในปัจจุบันสิทธิตามกฎหมายภาษีอากรดังกล่าวยังไม่สามารถกระทำได้อย่างเต็มที่เนื่องจากเงื่อนขในการฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรต้องมีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน ด้วยเหตุนี้ จึงควรปรับปรุง แก้ไข เงื่อนไขในการฟ้องคดีตามมาตรา 7(1) ประกอบมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ให้คล้ายคลึงกับหลักเกณฑ์ของกฎหมายปกครอง เพื่อทำให้สิทธิในการฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรสามารถกระทำได้ตามอย่างถูกต้อง และยังเป็นการทำให้การฟ้องคดีมีมาตรฐานในรูปแบบเดียวกัน อันเป็นการประกันมาตรฐานวิธีการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐให้กับประชาชนอีกทางหนึ่งด้วยen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.183-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการอุทธรณ์ภาษีอากรen_US
dc.subjectการขัดกันแห่งกฎหมายen_US
dc.titleปัญหาการเสนอคดีต่อศาลภาษีอากร ในกรณีเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการ ตามกฎหมายภาษีอากรยังไม่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายการเงินและภาษีอากรen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subject.keywordกฎหมายภาษีen_US
dc.subject.keywordศาลภาษีอากรen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2020.183-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280025734.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.