Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81407
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พสิษฐ์ อัศววัฒนาพร | - |
dc.contributor.author | ณิชาภัทร เล็กคง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-12-16T03:34:37Z | - |
dc.date.available | 2022-12-16T03:34:37Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81407 | - |
dc.description | เอกัตศึกษา น.ม. (การเงิน/ภาษีอากร)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 | en_US |
dc.description.abstract | เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายในการแปลงกระบวนการจากการฟื้นฟูกิจการเป็นกระบวนการล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ ประเทศสิงคโปร์ และแนวทางร่างกฎหมายล้มละลายของคณะกรรมาธิการว่าด้วยกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ (UNCITRAL) เพื่อนำปัญหามาวิเคราะห์เปรียบเทียบ ประกอบการนำเสนอการกำหนดมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมสำหรับการแปลงกระบวนการฟื้นฟูกิจการเป็นกระบวนการล้มละลายให้เสร็จสิ้นไปในคราวเดียวกัน เอกัตศึกษาพบว่า การแปลงกระบวนการฟื้นฟูกิจการเป็นกระบวนการล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ยังไม่ครอบคลุมกรณีที่ผู้ทำแผนไม่ส่งแผนฟื้นฟูกิจการภายในกำหนดเวลา ที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่มีมติยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการ และแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลเห็นชอบเนื่องมาจากกรณีมีการฉ้อฉล ทำให้หากลูกหนี้ยังมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน ไม่สามารถชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ได้ ไม่มีเจ้าหนี้รายใดพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือในปัญหาสถานะทางการเงินของลูกหนี้แล้ว และกิจการของลูกหนี้ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ บรรดาเจ้าหนี้ต่างฟ้องลูกหนี้เพื่อบังคับชำระหนี้เอาจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นคดีแพ่งหรือฟ้องคดีล้มละลาย ทำให้กระบวนการล้มละลายเกิดความล่าช้า ไม่ทันต่อสถานะทางการเงินของลูกหนี้ และมูลค่าทรัพย์สินของลูกหนี้ลดลง อีกทั้ง เจ้าหนี้จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการฟ้องคดี ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อลูกหนี้ เจ้าหนี้ และภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ การที่กฎหมายบัญญัติให้ในการลงมติเพื่อยอมรับแผนของที่ประชุมเจ้าหนี้อย่างน้อยหนึ่งกลุ่มเมื่อนับรวมจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้ที่ยอมรับแผนในที่ประชุมเจ้าหนี้ทุกกลุ่มแล้วมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของเจ้าหนี้ในที่ประชุมเจ้าหนี้และได้ลงคะแนนในมตินั้น ทำให้การกำหนดจำนวนหนี้ไว้เพียงร้อยละห้าสิบ ส่งผลให้เจ้าหนี้รายเล็กและรายย่อยมีข้อต่อรองที่น้อยลง เอกัตศึกษานี้เสนอให้ศาลสามารถมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด เพื่อแปลงกระบวนการฟื้นฟูกิจการเป็นกระบวนการล้มละลายในกรณีที่การฟื้นฟูกิจการไม่อาจดำเนินการต่อไปได้จนสำเร็จ | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.195 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การฟื้นฟูบริษัท | en_US |
dc.subject | ล้มละลาย | en_US |
dc.title | มาตรการทางกฎหมายในการแปลงกระบวนการฟื้นฟูกิจการเป็นกระบวนการล้มละลาย | en_US |
dc.type | Independent Study | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | กฎหมายการเงินและภาษีอากร | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject.keyword | กฎหมายล้มละลาย | en_US |
dc.subject.keyword | กระบวนการฟื้นฟูกิจการ | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.IS.2021.195 | - |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6380152834.pdf | 1.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.