Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81416
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล-
dc.contributor.authorภูรินทร์ ศรีหร่าย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-12-19T07:41:28Z-
dc.date.available2022-12-19T07:41:28Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81416-
dc.descriptionเอกัตศึกษา น.ม. (การเงิน/ภาษีอากร)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564en_US
dc.description.abstractตามที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 มาเป็นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งแต่เดิมจัดเก็บได้น้อย นอกจากนี้ยังมีปัญหาการตีความคำว่าสิ่งปลูกสร้าง และปัญหาในการคิดคำนวณค่ารายปี แต่ปรากฏว่าเมื่อมีการประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 กลับทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บภาษีลดลงไปเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับสิ่งปลูกสร้างบางประเภท ตัวอย่างเช่น กิจการโรงไฟฟ้า โดยมีการลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับกิจการโรงไฟฟ้าในอัตราร้อยละ 50 ประกอบกับเกิดสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลได้ประกาศลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับทรัพย์สินทุกประเภทอัตราร้อยละ 90 จากภาษีที่คำนวณได้ ส่งผลให้กิจการโรงไฟฟ้าเสียภาษีน้อยลงกว่าเดิม การลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทำให้รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลดลง และเมื่อพิจารณาจากรายได้ประมาณการ พบว่ารายได้จากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลดลงจากภาษีโรงเรือนและที่ดิน ทั้งที่การจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอาจมีปัญหาในการบังคับใช้ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ เมื่อผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาวิธีการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของประเทศสิงคโปร์แล้วพบว่า การจัดเก็บภาษีจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของประเทศสิงคโปร์เป็นการจัดเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า โดยมีการวางแนวทางการตีความสิ่งปลูกสร้างที่ชัดเจนถูกต้องตามแนวคิดและทฤษฎีภาษีทรัพย์สิน นอกจากนี้ยังมีวิธีการประเมินภาษีที่ยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ตามประเภทของสิ่งปลูกสร้าง และมีการลดภาษีเฉพาะที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้สำหรับการศึกษาและสาธารณประโยชน์เท่านั้น มิได้ลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของธุรกิจประเภทต่างๆ แต่อย่างใด ผู้ศึกษาจึงเห็นสมควรนำแนวทางการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของประเทศสิงคโปร์มาปรับปรุงการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของประเทศไทย ให้เป็นภาษีอากรที่ดี ซึ่งจะอำนวยรายได้และเป็นธรรมต่อไปen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.200-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษีโรงเรือนและที่ดินen_US
dc.subjectการจัดเก็บภาษีen_US
dc.titleปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากกิจการโรงไฟฟ้าen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายการเงินและภาษีอากรen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subject.keywordภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างen_US
dc.subject.keywordการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2021.200-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380179834.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.