Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81419
Title: | ปัญหาการจัดเก็บภาษี กรณีธุรกิจขุดเหมืองคริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) : ศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ |
Authors: | ชลาพันธ์ เจนงามกุล |
Advisors: | ภูมิศิริ ดำรงวุฒิ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Subjects: | สินทรัพย์ดิจิทัล คริปโทเคอร์เรนซี -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในปัจจุบัน การขุดคริปโทเคอร์เรนซีได้รับความนิยมซึ่งมีธุรกิจจำนวนมากได้แสวงหาโอกาสในการทำธุรกิจขุดเหมืองคริปโทเคอร์เรนซี กล่าวคือ การขุดเป็นการแข่งขันแก้สมการทางคณิตศาสตร์เพื่อให้ได้คริปโทเคอร์เรนซี อนึ่ง เมื่อมีธุรกรรมใหม่เกิดขึ้นในระบบบล็อกเชน ธุรกรรมชุดใหม่ต้องอาศัยการยืนยันธุรกรรม โดยเครื่องขุดคริปโทเคอร์เรนซีซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดจะต้องแข่งขันแก้สมการทางคณิตศาสตร์ให้สำเร็จ หากเครื่องคอมพิวเตอร์แก้สมการทางคณิตศาสตร์ได้ก่อนก็จะมีสิทธิบันทึกธุรกรรมใหม่เข้าไปในเครือข่าย และจะได้รางวัลเป็นคริปโทเคอร์เรนซี แต่อย่างไรก็ตามยังมีความไม่ครอบคลุมเพียงพอบางประการของการเสียภาษีจากธุรกิจการขุดเหมืองคริปโทเคอร์เรนซี เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและ แนวทางการจัดเก็บภาษีกรณีธุรกิจขุดเหมืองคริปโทเคอร์เรนซี โดยเทียบเคียงกับแนวทางการจัดเก็บภาษีของกฎหมายต่างประเทศ จากการศึกษาพบว่าการขุดคริปโทเคอร์เรนซีมีหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น การขุดแบบเดี่ยว การขุดแบบกลุ่ม และการขุดแบบคลาวด์ ซึ่งในต่างประเทศ มีแนวทางการจัดเก็บภาษีจากการขุดคริปโทเคอร์เรนซี เช่น เมื่อขุดคริปโทเคอร์เรนซีแล้วได้รับคริปโทเคอร์เรนซีนั้นถือเป็นรายได้อื่นที่ไม่ใช่รายได้จากทุน สามารถหักค่าใช้จ่ายโดยตรงได้ เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการขุดคริปโทเคอร์เรนซี และเมื่อขุดคริปโทเคอร์เรนซีแล้วได้รับคริปโทเคอร์เรนซี ถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี ต้องคำนวณคริปโทเคอร์เรนซีจากมูลค่าตลาดของคริปโทเคอร์เรนซี ณ เวลาที่ได้รับ เป็นต้น ซึ่งการจัดเก็บภาษีสำหรับการขุดคริปโทเคอร์เรนซี หากพิจารณามุมมองในเชิงนโยบายของรัฐ มี 2 แนวทาง คือ แนวทางที่หนึ่ง คือ การตีความให้คริปโทเคอร์เรนซีที่ได้รับมาจากการขุด รับรู้เป็นเงินได้ขึ้นทันทีเมื่อได้รับ และแนวทางที่สอง คือ กิจกรรมที่ต้องเสียภาษีครั้งแรกเมื่อจำหน่ายคริปโทเคอร์เรนซีออก ผู้เขียนจึงเห็นว่า กฎหมายไทยควรมีการกำหนดวิธีการต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดเก็บภาษีการขุดคริปโทเคอร์เรนซีให้เหมาะสม ได้แก่ การเพิ่มนิยามความหมายของการขุดคริปโทเคอร์เรนซี การกำหนดเงินได้จากการขุดคริปโทเคอร์เรนซีเป็นเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ได้เหรียญคริปโทเคอร์เรนซีจากการขุด การยอมให้ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ เพื่อความเป็นธรรมแก่ประชาชนและเกิดประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีของรัฐในฐานะผู้จัดเก็บภาษี และสอดคล้องกับหลักสากลของภาษีอากรที่ดี |
Description: | เอกัตศึกษา น.ม. (การเงิน/ภาษีอากร)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กฎหมายการเงินและภาษีอากร |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81419 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.207 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2021.207 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6380144834.pdf | 3.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.