Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81427
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล | - |
dc.contributor.author | นรุตม์ชัย วัฒนศัพท์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-12-21T03:37:39Z | - |
dc.date.available | 2022-12-21T03:37:39Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81427 | - |
dc.description | เอกัตศึกษา น.ม. (การเงิน/ภาษีอากร)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 | en_US |
dc.description.abstract | เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาการปราฏตัวของยานพาหนะประเภทสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและล้อเดียวไฟฟ้า ซึ่งสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและล้อเดียวไฟฟ้าเป็นยานพาหนะที่มีลักษณะการทำงานคล้ายคลึงกับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า แต่มีความแตกต่างกันที่ลักษณะทางกายภาพ โดยสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและล้อเดียวไฟฟ้าเป็นยานพาหนะที่มีจุดเด่น คือ เป็นยานพาหนะที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับยานพาหนะทั่วไป ใช้งานได้ในระยะสั้นถึงกลาง ใช้งานได้สะดวก สามารถพกพาได้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงทำให้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและล้อเดียวไฟฟ้าเป็นพาหนะที่เหมาะกับสังคมคนในเมืองที่ต้องใช้ยานพาหนะในการเดินทางไปทำงานหรือไปยังสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งในต่างประเทศก็มีการใช้เป็นพาหนะในการรับ – ส่งอาหารแทนการใช้รถจักรยานยนต์ด้วยเช่นกัน ซึ่งแต่เดิมในต่างประเทศ การใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและล้อเดียวไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย โดยเหตุผลหลักที่ในต่างประเทศซึ่งรวมถึง ประเทศไทยไม่สามารถนำสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและล้อเดียวไฟฟ้ามาใช้งานได้ เพราะเรื่องของความปลอดภัยในขับขี่บนท้องถนน แต่ในหลายประเทศมองว่าสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและล้อเดียวไฟฟ้าเป็นยานพาหนะอย่างหนึ่งเหมือนยานพาหนะประเภทอื่น ๆ และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ในหลายประเทศมีส่งเสริมให้มีการใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและล้อเดียวไฟฟ้า โดยมีการออกกฎเกณฑ์และกฎหมายเพื่อมาควบคุมยานพาหนะประเภทสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและล้อเดียวไฟฟ้า ในส่วนของประเทศไทยมีประชาชนบางกลุ่มที่ใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและล้อเดียวไฟฟ้าในการขับขี่บนถนนสาธารณะ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีกฎเกณฑ์ กฎหมาย และการจัดเก็บภาษี เข้ามาควบคุมในส่วนนี้อย่างชัดเจน ด้วยเหตุผลนี้ สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและล้อเดียวไฟฟ้า จึงเป็นยานพาหนะที่รัฐต้องเข้ามาควบคุมการใช้งานและจัดเก็บภาษีบางประเภท นอกจากนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและล้อเดียวไฟฟ้าซึ่งเป็นยานพาหนะที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐในปัจจุบัน รัฐจึงควรมีมาตรการหรือนโยบายสนับสนุน ทั้งที่เป็นมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นกับยานพาหนะดังกล่าวด้วย | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.194 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ภาษีสรรพสามิต -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | en_US |
dc.subject | จักรยานยนต์ไฟฟ้า | en_US |
dc.title | แนวทางการจัดเก็บภาษีสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและล้อเดียวไฟฟ้า | en_US |
dc.type | Independent Study | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | กฎหมายการเงินและภาษีอากร | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject.keyword | การจัดเก็บภาษีสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า | en_US |
dc.subject.keyword | ปัญหาการจดทะเบียนสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.IS.2021.194 | - |
Appears in Collections: | Law - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6380163734.pdf | 2.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.