Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81550
Title: การลดของเสียจากข้อบกพร่องสีแตกและสีบางในกระบวนการพ่นสีฝุ่นบนกรอบกระจกของหลังคารถกระบะอเนกประสงค์
Other Titles: Defective reduction from cracking paint and thin paint in powder coated painting process on window frame of canopy
Authors: พิชญา วาดสูงเนิน
Advisors: นภัสสวงศ์ โอสถศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดสัดส่วนของเสียที่เกิดจากข้อบกพร่องประเภทสีแตกและสีบางในกระบวนการพ่นสีฝุ่นบนกรอบกระจกของหลังคารถกระบะอเนกประสงค์ งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์แนวคิดซิกซ์ ซิกมา (Six-Sigma) หรือวิธีการ DMAIC ในการปรับปรุงโดยเริ่มจากการศึกษาสภาพปัญหาในปัจจุบัน วิเคราะห์ความแม่นและความเที่ยงของระบบการตรวจสอบข้อบกพร่อง จากนั้นได้วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาโดยการระดมความคิด จัดทำแผนผังสาเหตุและผล เมทริกซ์สาเหตุและผล เพื่อกำหนดปัจจัยนำเข้าหลัก และนำปัจจัยที่คาดว่ามีผลต่อการเกิดข้อบกพร่องประเภทสีแตกและสีบาง 5 ปัจจัยไปออกแบบการทดลองเพื่อหาสมการความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนของเสียและปัจจัยที่มีนัยสำคัญ จากนั้นใช้เทคนิคการหาค่าที่เหมาะสม เพื่อหาระดับของแต่ละปัจจัยที่เหมาะสมที่จะช่วยลดสัดส่วนของเสียรวม หลังจากนั้นได้จัดทำแผนควบคุม และเอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงาน ผลลัพธ์ที่ได้หลังการปรับปรุงกระบวนการ พบว่า สามารถลดสัดส่วนของเสียจาก 8 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 1.13 เปอร์เซ็นต์ และสามารถลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากของเสียได้ 6,877,484 บาทต่อปี
Other Abstract: This research aims to reduce the defective rate from cracking paint and thin paint defects in Powder Coated Painting process of window frame of canopy. This research applied the Six Sigma approach or DMAIC for improvement. Firstly, the problem was defined. Secondly, the accuracy and the precision of the inspection system were appraised. After that, the potential causes for cracking and thin paint defects were analyzed by brain storming and using the cause and effect diagram and the cause and effect matrix to identify key process input variables. Then, the five factors were experimented to find the regression equation showing the relationship between the defective rate and the significant factors. Next, the optimal values of significant factors were found and implemented. The improvement led to the reduction of defective rate from 8 percent to 1.13 percent and the reduction of the rework cost of 6,877,484 baht per year.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81550
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.897
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.897
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6370198621.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.