Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81669
Title: | การสรรหาและคัดเลือกคนพิการเป็นข้าราชการพลเรือน : กรณีศึกษาตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล |
Other Titles: | Recruitment and selection of persons with disabilities for the civil servant positions: a case of human resource officer |
Authors: | ภควัต ศรีไทย |
Advisors: | ปกรณ์ ศิริประกอบ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Subjects: | คนพิการ คนพิการ -- การจ้างงาน คนพิการ -- การจ้างงาน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ People with disabilities People with disabilities -- Employment People with disabilities -- Employment -- Law and legislation |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่องการสรรหาและคัดเลือกคนพิการเป็นข้าราชการพลเรือน : กรณีศึกษาตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1) ศึกษารูปแบบ วิธีการ กระบวนการ และปัญหาอุปสรรคในการสรรหาและคัดเลือกคนพิการเข้ารับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนผ่านการศึกษาตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล และ 2) เสนอแนะแนวทางเชิงนโยบายในการพัฒนาหรือปรับปรุงกระบวนการสรรหาและคัดเลือกข้าราชการพลเรือนที่เป็นคนพิการ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยทางเอกสารและโดยสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง 5 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 22 คน ประกอบด้วย 1) ผู้แทนศูนย์สรรหาและเลือกสรร สำนักงาน ก.พ. 2) ผู้แทนกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 3) นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านคนพิการ 4) ผู้แทนส่วนราชการที่จ้างงานคนพิการในตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล 5) คนพิการที่เข้าสอบในตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคล จากการวิจัยค้นพบว่าแนวทางการสรรหาและคัดเลือกคนพิการ เข้าบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือน มี 2 แนวทางคือ การสรรหาและเลือกสรร และการนำรายชื่อ โดยมีลักษณะส่วนใหญ่สอดคล้องกับแนวคิดการจ้างงานที่กำหนดให้เฉพาะราย (Customized Employment : CE) ซึ่งมีลักษณะสำคัญได้แก่ 1) การเปิดโอกาสให้ส่วนราชการสามารถดำเนินการจ้างงานคนพิการได้ทุกประเภทตำแหน่งตามความเหมาะสมของตำแหน่งงาน ลักษณะงานที่ไม่เป็นอุปสรรคสำหรับคนพิการ 2) เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันเองเฉพาะคนพิการ 3) เปิดโอกาสให้ส่วนราชการสามารถแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญด้านคนพิการร่วมเป็นคณะกรรมการสรรหาและคัดเลือก 4) เปิดโอกาสให้ส่วนราชการสามารถกำหนดวิธีทดสอบคนพิการได้ตามความเหมาะสม 5) กำหนดให้ส่วนราชการพิจารณาจัดทำอารยสถาปัตย์ และจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้คนพิการสามารถปฏิบัติงานได้ นอกจากนี้พบว่าการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานภาครัฐนั้นจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ประกอบไปด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยที่ 1 การบังคับใช้ ปัจจัยที่ 2 ส่วนราชการ และปัจจัยที่ 3 ตัวของคนพิการเอง ข้อเสนอเชิงนโยบายของงานวิจัยชิ้นนี้ ได้แก่ 1) ควรจัดสรรงบประมาณสนับสนุนหรือมีมาตรการลงโทษหากไม่ปฏิบัติตาม 2) จัดทำฐานข้อมูลที่เชื่อมโยง 3) ออกแบบลักษณะงานที่เหมาะสมกับคนพิการและ 4) จัดทำคู่มือหรือแนวทางอธิบายลักษณะงานที่เหมาะกับคนพิการ ตลอดจนแก้ไขหลักเกณฑ์แนวทางในการจ้างงานคนพิการของสำนักงาน ก.พ. ให้มีเหมาะสมยิ่งขึ้น |
Other Abstract: | The Research on Recruitment and Selection of Persons with Disabilities for the Civil Servant Positions : A Case of Human Resource Officer has 2 objectives 1) to study patterns, methods, process and obstacles in recruiting and selecting persons with disabilities and appoint them as civil servants through a study of human resource officer, practitioner level and 2) to propose policy suggestion in developing or revising recruitment process for persons with disabilities. The qualitative method has been applied by utilizing a combination of desk review and interviews with the key informants with 5 target groups for a total of 22 persons. The research has found that the way of recruitment and selection process to be a civil servant could be divided into 2 ways which are recruitment and selection and Select the candidate pool. In general, the process is in conformity with customized employment (CE) comprising important features 1) to provide an opportunity for government sectors in hiring persons with disabilities in every position to be compatible with the nature of the positions also not being a hurdle to them 2) to provide an opportunity for competition among persons with disabilities themselves 3) to provide an opportunity for government sectors in appointing expertise on persons with disabilities to be a committee for recruitment and selection 4) to provide an opportunity for government sectors to specify a testing method for persons with disabilities as appropriate 5) to impose government sectors to make available the universal design and to put in place facilities so that persons with disabilities are able to perform their functions. In addition, the study has found that there are 3 factors conducive to a success in the employment of people with disabilities 1) law enforcement i.e. 2) organizational factors and 3) conformity of persons with disabilities. Policy proposals entail, 1) sufficient budget allocation or punishment for incompliance 2) synchronized database 3) suitable work criteria for persons with disabilities 4) manuals or guidelines enumerate types of works appropriate to persons with disabilities and revise the Office of the Civil Service Commission’s guideline for the employment of persons. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
Degree Name: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | รัฐประศาสนศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81669 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.737 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2022.737 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6180619424.pdf | 3.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.