Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81705
Title: การจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้แนวทาง OLPE ของ SHAPE ร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างทักษะฮอกกี้ของนักเรียนมัธยมศึกษา
Other Titles: physical education learning management using shape’s OLPE and peer-to-peer learning concept to hockey skills of secondary school students
Authors: ฉฏาธร จันทร์ประดิษฐ์
Advisors: รุ่งระวี สมะวรรธนะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้แนวทาง OLPE ของ SHAPE ร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างทักษะฮอกกี้ของนักเรียนมัธยมศึกษา การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง 15 คน เป็นกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้แนวทาง OLPE ของ SHAPE ร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน และ กลุ่มควบคุม จำนวน 15 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้แนวทาง OLPE ของ SHAPE ร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน จำนวน 8 แผน แบบวัดผลการเรียนรู้ด้านทักษะปฏิบัติที่ถูกต้องในกีฬาฮอกกี้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า “ที”           ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติทักษะที่ถูกต้องในกีฬาฮอกกี้ หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติทักษะที่ถูกต้องในกีฬาฮอกกี้ ของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: This research aimed to study Physical education learning management using SHAPE’S OLPE and PEER-TO-PEER learning concept to Hockey skills of secondary school students. This study is quasi-experemental research.  There were 60 purposive sampling of the Tenth grade students, divided into 15 students for the experimental group who were assigned to study under the Physical education learning management using SHAPE’S OLPE and PEER-TO-PEER learning concept and 15 students of the control group were assigned to study with the conventional teaching method. The research instruments were composed of eight Physical education lesson plans using SHAPE’S OLPE and PEER-TO-PEER learning concept The data were analyzed by mean, standard deviation and t-test. The research findings were as follows: 1) The mean scores of the right skills performance in hockey of the experimental group students after learning were significantly higher than before learning at .05 level. 2) The mean scores of the right skills performance in hockey of the experimental group students after learning were significantly higher than the control group at .05 level
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขศึกษาและพลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81705
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.982
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.982
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380032327.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.